ซื้อแฟรนไชส์อย่างไร ให้รวยเหมือนเป็นแฟรนไชส์ซอร์

หลายคนอาจมองว่าการซื้อแฟรนไชส์ หรือการเป็นแฟรนไชส์ซี ไม่สามารถทำให้ร่ำรวยเหมือนกับการทำธุรกิจเอง เพราะในแต่ละเดือนต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องแบ่งให้กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นค่า Royalty Fee, Marketing Fee และอื่นๆ เรียกได้ว่ามีรายได้มากก็จ่ายมาก

แต่รู้หรือไม่ว่าการเป็นแฟรนไชส์ซีในยุคนี้สามารถร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีแนวทางมานำเสนอให้ทราบครับ

1.เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม

ซื้อแฟรนไชส์อย่างไร

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมอาจจะเป็นแบรนด์แฟรนไชส์เกิดใหม่หรือเป็นแบรนด์เก่าแก่ในตลาด สินค้าและบริการได้รับความนิยมและตอบโจทย์ผู้บริโภค สินค้าและบริการมีการซื้อซ้ำ หรือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ผู้คนต้องกินต้องใช้ ไม่เป็นธุรกิจกระแสในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ธุรกิจอยู่ในกลุ่มที่มีการแข่งขันกันน้อยในตลาด หรือถ้ามีการแข่งขันหรือผู้เล่นในตลาดหลายๆ แบรนด์ ควรเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ที่เป็นผู้นำของตลาดประเภทนั้น

2.ซื้อแฟรนไชส์ Business Format Franchise

ซื้อแฟรนไชส์อย่างไร

Business Format Franchise เป็นรูปแบบธุรกิจที่แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดระบบของการดำเนินธุรกิจให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่างๆ รวมทั้งแผนการตลาด โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี จะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์

โดยแฟรนไชส์ซอร์จะมีการถ่ายทอดระบบ และวิธีการดำเนินธุรกิจที่สำเร็จมาแล้ว เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งการซื้อแฟรนไชส์แบบนี้จะง่ายต่อการบริหารงาน สามารถเปิดหลายสาขาได้

3.เลือกลงทุน multi-unit franchise

ซื้อแฟรนไชส์อย่างไร

มีหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ในประเทศไทย ที่ให้สิทธิผู้ซื้อแฟรนไชส์เปิดร้านได้หลายสาขาหรือเป็นผู้ดุแลบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละโซนพื้นที่ อย่างกรณี 7-Eleven มีการให้สิทธิผู้ซื้อแฟรนไชส์ขยายสาขาได้หลายสาขาในโซนต่างจังหวัด อาจจะดุแล 5-6 จังหวัด หรือดูแลในส่วนของแต่ละภาคไปเลย รูปแบบนี้จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์รวยเร็ว โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจจะใช้แนวทางการนำเงินที่ได้กำไรจากการเปิดร้านสาขาแรก ไปซื้อและขยายแฟรนไชส์สาขาที่ 2 หลังจากนั้นก็ทำเช่นเดิมนำกำไรจากร้านที่เปิดไปแล้ว มาลงทุนซ้ำๆ เพื่อขยายสาขาแฟรนไชส์ต่อไปเรื่อยๆ

4.ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์

22

หากคุณซื้อแฟรนไชส์หลายสาขาและประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์อื่นๆ ให้ความสนใจในตัวคุณ อยากได้คุณมาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารแบรนด์แฟรนไชส์ของพวกเขาในพื้นที่ของคุณ ซึ่งนั่นความว่า คุณสามารถสร้างความร่ำรวยด้วยการซื้อแฟรนไชส์แบรนด์อื่นๆ เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุน เช่น เดิมคุณบริหารแบรนด์ร้านแฟรนไชส์อาหารอยู่แล้ว หากต้องการกระจายพอร์ตการลงทุนก็สามารถไปซื้อแฟรนไชส์เครื่องดื่มเพิ่มกำไรได้

นั่นคือ 4 ซื้อแฟรนไชส์อย่างไร ให้รวยเหมือนเป็นแฟรนไชส์ซอร์

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม
  2. ซื้อแฟรนไชส์ Business Format Franchise
  3. เลือกลงทุน multi-unit franchise
  4. ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3E5BSq6


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช