ซื้อแฟรนไชส์หวังรวย! สุดท้ายเจ้าของแฟรนไชส์รวยคนเดียว #แฟรนไชส์ไม่การันตี

กรณีดราม่าที่ยังไม่จบ หลังจากที่ เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น หรือ รัชนก สุวรรณเกตุ ไลฟ์ชี้แจงว่าไม่ได้โกงเงินค่าตัว เก้า-เกริกพล เพชรรัตน์ พร้อมยันว่า 70 : 30 เปอร์เซ็นต์ที่เคยบอกเก้าไปนั้นเป็นข้อเสนอหากอีกฝ่ายยอมมาเป็นเด็กในสังกัด ไม่ใช่สัญญาใจ

ซึ่งหลายธุรกิจได้นำไปล้อเลียนต่างๆ นานา เพื่อให้เข้ากับสินค้าและบริการของตัวเอง เช่นในเพจของ 7-Eleven “สัญญาว่าจะแบ่งแสตมป์กัน 70 : 30 สุดท้าย…ก็แอบเอาไปแลกพรีเมี่ยมคนเดียว #สัญญาใจไม่มีจริง

ซื้อแฟรนไชส์หวังรวย

ภาพจาก facebook.com/7ElevenThailand

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอล้อเลียนในมุมของธุรกิจแฟรนไชส์กันบ้าง เพราะหลายๆ คนมองว่าการซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมากกว่าการทำธุรกิจเอง เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ได้ผ่านการลองผิดลองถูก เจ้าของแฟรนไชส์มีการวางระบบที่ประสบความสำเร็จ ไว้ถ่ายทอดให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ จึงทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปเริ่มต้นธุรกิจไม่ต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เพียงแค่ปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ก็สำเร็จแล้ว

แต่ในความเป็นจริง ไม่มีอะไรที่แน่นอน ทุกธุรกิจมีความเสี่ยง และไม่มีใครสัญญาหรือการันตีได้ว่า เมื่อซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดแล้ว จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวยทุกคน แม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะการันตีก่อนขายแฟรนไชส์ก็ตาม อย่าเชื่อใจอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะการนำเสนอขายของเจ้าของแฟรนไชส์ในเรื่องดังต่อไปนี้

จำนวนเงินรายได้ต่อเดือนแน่นอน

6

เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มักจะมองไปที่รายได้ต่อเดือน ซึ่งหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ก็ได้ระบุให้เห็นชัดว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วจะมีรายได้ต่อเดือนที่แน่นอน จึงทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ คนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ แต่พอไปทำจริงๆ แล้ว กลับไม่ได้เป็นไปตามที่เจ้าของแฟรนไชส์ระบุ เพราะในแต่ละเดือนจำนวนลูกค้าเข้าใช้บริการไม่เท่ากันอย่างแน่นอน และหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ก็จะได้รับความนิยมในช่วงเปิดสาขาตอนแรกเท่านั้น คือ ลูกค้าเริ่มเบื่อ

4

ถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจของแฟรนไชส์ซีหลายๆ ราย ที่ได้ซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจแล้ว เพราะก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ ได้รับการบอกเล่าหรือสัญญาจากเจ้าของแฟรนไชส์ว่า จะช่วยเหลือนั่นนู่น จะให้การสนับสนุนทุกๆ อย่าง แต่พอทำไปเรื่อยๆ ก็ไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าของแฟรนไชส์เลย ไม่มาดูแล ไม่ให้การสนับสนุนใดๆ ปล่อยให้ทำธุรกิจด้วยตัวเอง

การสนับสนุนของเจ้าของแฟรนไชส์

3

สุดท้ายแฟรนไชส์ซีเหล่านั้นก็ไปไม่รอด โดยเฉพาะเรื่องของการซื้อวัตถุดิบราคาถูก แต่จริงๆ พอทำไปเรื่อยๆ เมื่อสินค้าปรับราคาขึ้น ก็ทำให้เจ้าของแฟรนไชส์จำเป็นต้องปรับราคาวัตถุดิบขึ้นเช่นกัน เมื่อแฟรนไชส์ซีซื้อของจากแฟรนไชส์ซอร์แพง ก็ต้องขายแพง ทำให้ลูกค้าประจำที่เคยใช้บริการ หนีหายจากไป หรือไปใช้บริการร้านอื่นแทน

ได้เห็นกันแล้วว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่แน่นอน ไม่มีใครการันตี 100% ได้ว่า ในอนาคตอะไรจะเกิดขึ้น ใครจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของการทำธุรกิจ ยิ่งไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่า ธุรกิจนั้น ธุรกิจนี้ จะสำเร็จ มียอดขาย มีรายได้เท่านั้นเท่านี้ในวันข้างหน้า เพราะอย่าลืมว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงอีกมากในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ ดินฟ้าอากาศ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา

5

อย่างไรก็ดี ซื้อแฟรนไชส์หวังรวย การลงทุนแฟรนไชส์ก็ยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยตัวเอง ช่วยลดระยะเวลาในการสร้างธุรกิจ แต่ก่อนซื้อแฟรนไชส์ จำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลเรื่องของแฟรนไชส์ให้เข้าใจ เพื่อนำมาสร้างโอกาสให้กับการลงทุนแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ อย่างน้อยจะได้ไม่ตกหลุมพรางแฟรนไชส์


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3a1gJwq

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช