ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์ กับ ซื้อแบรนด์เดียว แบบไหนดีกว่า

มีหลายคนเลือกลงทุนแฟรนไชส์มากกว่า 1 แบรนด์ เพราะต้องการกระจายความเสี่ยง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย สามารถเปิดได้หลากหลายทำเล แถมเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็มีอีกหลายคนเลือกลงทุนแบรนด์เดียว อยากบริหารจัดการง่าย ถ้าถามว่าระหว่าง ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์ กับ ซื้อแฟรนไชส์แบรนด์เดียว แบบไหนจะดีกว่ากัน ลองเปรียบเทียบกัน

ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์

ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์

ข้อดี

  1. ลดความเสี่ยง หากแบรนด์หนึ่งมีปัญหา เช่น ร้านถูกปิด โดนน้ำท่วม ยอดขายลดลง และอื่นๆ คุณก็ยังมีรายได้จากอีกแบรนด์หนึ่งได้ แต่ร้านอาจจะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างกัน จะได้ไม่กระทบเหมือนกัน
  2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย แฟรนไชส์แต่ละแบรนด์จะมีสินค้าและบริการต่างกัน ทำให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย คนหนึ่งชอบอาหาร อีกคนชอบกาแฟ หรือไอศกรีม เป็นต้น
  3. มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เปิดร้านแฟรนไชส์หลายแบรนด์ มีโอกาสสร้างรายได้มากกว่าแบรนด์เดียว เช่น เปิดร้านคาเฟ่ อเมซอน กับ 7-Eleven ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์ในแต่ละสาขาจะมีรายได้ประมาณราวๆ 1 แสนบาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้านแล้ว อีกทั้ง 2 แบรนด์ยังมีฐานกลุ่มลูกค้าแตกต่างกันด้วย ไม่แย่งลูกค้ากันอย่างแน่นอน
  4. เปิดร้านได้หลากหลายทำเล แฟรนไชส์หลายแบรนด์จะมีรูปแบบร้านต่างกัน ทำให้สามารถเปิดร้านได้หลากหลายทำเล บางพื้นที่แบรนด์หนึ่งเปิดไม่ได้ แต่อีกแบรนด์สามารถเปิดได้ ยกตัวอย่างกรณีมีทำเลหนึ่งเปิดร้าน MIXUE ไม่ได้ แต่เปิด Ai-Cha ได้

ข้อเสีย

  1. เหนื่อย เปิดร้านหลายแบรนด์ ย่อมเหนื่อยมากกว่าแบรนด์เดียว เพราะระบบการทำงานที่ไม่เหมือนกัน จำนวนพนักงานที่ต้องใช้ในร้านก็อาจไม่เท่ากันต้องหาเพิ่ม อีกทั้งนโยบายของแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์ที่ไม่เหมือนกัน ย่อมเหนื่อยมากขึ้นไปอีก
  2. การบริหารจัดการยาก เปิดร้านแบรนด์เดียวก็ว่ายากแล้ว ถ้ามีถึง 2 แบรนด์ ระบบการทำงานไม่เหมือนกัน ยิ่งต้องบริหารจัดการยากมากขึ้น ต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้น ต้องหาทำเลเปิดร้านที่ต่างกัน
  3. มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การซื้อแฟรนไชส์ 2-3 แบรนด์ ย่อมมีงบลงทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ยกตัวอย่าง ลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven 1 แห่งใช้เงินราวๆ 3.9 ล้านบาท ถ้าเปิดร้านคาเฟ่ อเมซอนอีก 1 แห่ง ใช้เงิน 3.5 ล้านบาท รวมๆ แล้วเปิดร้าน 2 แบรนด์ใช้เงินลงทุน 7.4 ล้านบาท ใช้พนักงานในแต่ละร้านราวๆ 6-7 คน

ซื้อแฟรนไชส์แบรนด์เดียว

ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์

ข้อดี

  1. บริหารจัดการง่าย เปิดร้านแบรนด์เดียวจะบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น เพราะระบบหน้าบ้าน หลังบ้าน จะใช้แบบเดียวกัน รูปแบบการทำงานเหมือนกัน แม้จะเปิดกี่สาขาก็ตาม
  2. มีโอกาสเป็นผู้เชี่ยวชาญ การบริหารจัดการร้านภายใต้แบรนด์เดียวสามารถพัฒนาความรู้ เพิ่มทักษะเฉพาะทางได้อย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ การขาย ทำอาหาร ไม่ต้องมัวแต่พะว้าพะวังกับอีกแบรนด์
  3. ลดค่าใช้จ่าย การซื้อแฟรนไชส์แบรนด์เดียวจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าหลายแบรนด์ อีกทั้งยังมีโอกาสได้ส่วนลดต่างๆ จากแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งงบลงทุนเปิดสาขา 2 ส่วนลดค่าธรรมเนียม ค่าต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าจัดส่งวัตถุดิบ เป็นต้น
  4. สร้างลูกค้าประจำ การให้บริการที่ดีในร้านเดียวสามารถสร้างความภักดีจากลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้มากขึ้น

ข้อเสีย

  1. มีความเสี่ยงสูง ถ้าแฟรนไชส์แบรนด์ที่เลือกลงทุนเกิดปัญหาขึ้น มีโอกาสที่เครือข่ายธุรกิจไปไม่รอดสูง เหมือนดารุมะซูชิ
  2. เสียโอกาสสร้างรายได้น้อย สมมติว่าคุณเปิดร้านในทำเลใกล้ๆ กับคู่แข่งธุรกิจเดียวกัน ทำให้ลูกค้ามีสิทธิ์เข้าร้านไหนก็ได้ จะเข้าร้านคุณหรือคู่แข่งก็ได้ แต่ถ้าคุณเปิดร้านต่างแบรนด์ ต่างธุรกิจ ก็จะมีโอกาสได้ลูกค้าทั้งสองแบรนด์ เช่น เปิดร้านขายลูกชิ้นไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิด กับ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว เมื่อสินค้าและบริการต่างกัน ก็มีโอกาสจะได้ลูกค้าทั้ง 2 ร้าน

สรุปก็คือ การเลือกลงทุนแฟรนไชส์แบรนด์เดียว 2 แบรนด์ หรือ 3 แบรนด์ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและเป้าหมายส่วนตัว ทักษะความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ ความเสี่ยงที่พร้อมจะรับ ถ้าคุณมีความสามารถในการบริหารหลายแบรนด์ อยากกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้เพิ่ม การเลือกซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์อาจเป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้าไม่อยากยุ่งยาก อยากมีความเชี่ยวชาญ บริหารจัดการร้านง่าย การซื้อแบรนด์เดียวก็น่าจะเหมาะสมกว่า!

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช