ซื้อแฟรนไชส์ยังไงก็เจ๊ง ถ้าไม่รู้สิ่งนี้
ใกล้จะสิ้นปี 2567 เชื่อว่ามีหลายคนกำลังมองหาธุรกิจที่จะเริ่มต้นทำในช่วงต้นปี 2568 เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่ม หนึ่งในธุรกิจที่หลายๆ คน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ นั่นก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์
ข้อดีของธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจที่ผ่านการลองผิดลองถูกจนหลายๆ คนทำสำเร็จมาแล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องเริ่มต้นธุรกิจจากศูนย์ เพียงแต่ต้องมีการศึกษาข้อมูลธุรกิจให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์
แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า จะหาธุรกิจแฟรนไชส์แบบไหนที่จะเหมาะสมกับเรา ซื้อมาแล้วคืนทุนได้ บริหารกิจการแล้วประสบความสำเร็จ และสร้างรายได้ให้กับเราได้อย่างมั่นคง ThaiSMEsCenter จะมาแชร์เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ปี 2568 เพื่อจะได้ไม่ถูกหลอก และเจ็บตัว
1. เงินลงทุน
การทำธุรกิจใดๆ ให้พิจารณาจากเงินในกระเป๋าของตัวเองก่อน ว่ามีเงินลงทุนเพียงพอหรือไม่ จะซื้อแฟรนไชส์ราคาเท่าไหร่ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละกลุ่มจะใช้เงินลงทุนแตกต่างกัน มีให้เลือกตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักล้าน ตามขนาดโมเดลของร้าน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในร้าน ชื่อเสียงของแบรนด์ ยิ่งมีชื่อเสียงมาก ยิ่งใช้เงินลงทุนสูง เช่น
- กลุ่มแฟรนไชส์ลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไป
- กลุ่มแฟรนไชส์ลงทุน 1-5 ล้านบาท
- กลุ่มแฟรนไชส์ลงทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท
- กลุ่มแฟรนไชส์ลงทุน 1-5 แสนบาท
- กลุ่มแฟรนไชส์ลงทุน 5 แสนบาทลงมา
นอกจากเงินลงทุนเหล่านี้แล้ว ที่ส่วนใหญ่จะเป็นเงินลงทุนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว คุณยังต้องเตรียมเงินค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อซื้อสิทธิ์นำเครื่องหมายการค้าของเขามาใช้ดำเนินธุรกิจ และยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือน Royalty Fee และ Marketing Fee 3-5% ของยอดขายในแต่ละเดือนด้วย
ไม่พอแค่นี้นะ คุณยังต้องเผื่อเงินทุนหมุนเวียนหรือเงินสดสำรองเอาไว้ไม่น้อยกว่า 4-6 เดือน หลังจากเปิดร้านไว้ด้วย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเช่า ค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบ ที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละเดือน อย่าเอาเงินก้อนสุดท้ายไปลงทุนเด็ดขาด
2. แบรนด์
อีกเรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อแฟรนไขส์ ก็คือ ชื่อเสียงและจุดเด่นของแบรนด์ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ เพราะปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์แยกออกเป็นหลายกลุ่มที่น่าสนใจลงทุน
อาทิ แฟรนไชส์อาหาร-เบเกอรี่ 215 แบรนด์, แฟรนไชส์เครื่องดื่ม-ไอศกรีม 167 แบรนด์, แฟรนไชส์บริการ-งานพิมพ์ 75 แบรนด์, แฟรนไชส์การศึกษา 105 แบรนด์, แฟรนไชส์ด้านสุขภาพและการแพทย์ 24 แบรนด์, แฟรนไชส์อสังหาฯ-ค้าปลีก 48 แบรนด์ และแฟรนไชส์โอกาสธุรกิจพวกตู้หยอดเหรียญต่างๆ มีกว่า 21 แบรนด์
คุณต้องเลือกแบรนด์ที่มีการตลาดชัดเจน ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในวงกว้าง หรืออาจจะหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ดูว่าลูกค้าพูดถึงแบรนด์ที่จะซื้ออย่างไรบ้าง พูดในทางลบหรือบวก มีภาพพจน์เสียหายหรือไม่ ถ้าส่วนใหญ่มองว่าแบรนด์นี้ดีมีมาตรฐาน เปิดสาขาที่ไหน พื้นที่ไหน ลูกค้ารู้จัก นั่นคือจุดเด่นของแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีโอกาสเติบโตมากกว่าแบรนด์อื่นๆ
3. ระบบ Support
แฟรนไชส์ที่ดีต้องมีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม จัดทำคู่มือการทำงาน การทำตลาด การพัฒนาผลิตใหม่ๆ การส่งเสริมการขาย เดลิเวอรี่ เทคโนโลยีต่างๆ การจัดส่งวัตถุดิบ การตรวจสอบมาตรฐานสาขา ซึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ จะมีทีมงานออกไปตรวจสอบมาตรฐานของร้านสาขาให้รักษามาตรฐานไม่ควรต่ำกว่า 80%
ระบบ Support ของแบรนด์แฟรนไชส์ที่ดีต้องมีความพร้อมและครบวงจร ทำงานอย่างเป็นระบบทั้งหน้าบ้าน – หลังบ้าน มีการจัดสรรทุกอย่างที่พร้อมให้คุณดำเนินธุรกิจได้ทันที ไม่ใช่ฝึกอบรมเป็นเดือนแล้วยังไม่ได้วัสดุและอุปกรณ์ทำธุรกิจเลย ดังนั้น ให้พิจารณาเลือกแฟรนไชส์ที่มีความพร้อมที่จะสนับสนุนและดูแลคุณ ทั้งก่อนเปิดร้านและหลังเปิดร้านขาย
4. โครงสร้างต้นทุนของธุรกิจ
ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะถ้าคุณรู้โครงสร้างต้นทุนของธุรกิจและสินค้าในการขาย จะทำให้คุณรู้ว่าซื้อแฟรนไชส์มาแล้วจะสามารถคืนทุนได้เมื่อไหร่ ควรขายได้วันละเท่าไหร่ กำไรเฉลี่ยต่อวันเท่าไหร่ และต้องใช้เงินหมุนเวียนในการออกค่าใช้จ่ายวันละเท่าไหร่ ซึ่งเรื่องคืนทุนนั้น ถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานจะมีระยะเวลาไม่เกินครึ่งหนึ่งของสัญญา
แฟรนไชส์ร้านกาแฟจะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 25-30%, แฟรนไชส์ร้านอาหารมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 30-35%, แฟรนไชส์ร้านค้าปลีกซื้อมาขายไปจต้นทุนสินค้าที่ 60-70% เมื่อคุณรู้ต้นทุนวัตถุดิบในร้านแล้ว ต่อไปต้องถามแฟรนไชส์ซอร์ว่า เปิดร้าน 1 สาขา ใช้พนักงานกี่คน ค่าจ้างเท่าไหร่ ค่าเช่าพื้นที่เท่าไหร่ แต่ละวันมีจุดคุ้มทุนเท่าไหร่ ต้องขายได้วันเท่าไหร่ถึงจะมีกำไร
ยกตัวอย่าง 7-Eleven เปิดร้าน 1 สาขา ใช้พนักงาน 12 คน รวมผู้จัดการร้านเป็น 13 คน หมุนเวียนสลับกะกันไป ค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-15,000 บาท ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ยอดขายแต่ละสาขาเฉลี่ย 7-8 หมื่นบาทต่อวันต่อสาขา เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้านแล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือ Partner Store จะเหลือเงินราวๆ 100,000 บาท ยังไม่หักเงินเดือนตัวเอง
เพราะฉะนั้น ถ้าคุณไม่รู้โครงสร้างต้นทุนของธุรกิจที่แท้จริง แฟรนไชส์ซอร์ไม่ได้บอกคุณเลย คุณก็ไม่ควรที่จะเอาชีวิตไปเสี่ยงโดยเด็ดขาด เพราะการซื้อแฟรนไชส์เป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจ
5. ทีมงานแฟรนไชส์ซอร์
เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อแฟรนไชส์ ไม่ใช่ว่าแฟนไชส์แบรนด์นี้มีแค่เจ้าของที่เป็นสามีภรรยากัน ไม่มีทีมงานหรือลูกน้องคอยช่วยเหลือ และสนับสนุนแฟรนไชส์ซีเลย ธุรกิจแฟรนไชส์มีทีมแค่ 2 คน ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ควรมีทีมงานการตลาด (ช่วยกระตุ้นยอดขาย สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก) ทีม Area Coach (คอยช่วยเหลือสนับสนุนวิธีการทำธุรกิจ) ทีม R&D (คอยคิดและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ) ทีม Business Support (คอยแก้ไขเวลาที่อุปกรณ์ต่างๆ ชำรุดเสียหาย),ทีมงานวิเคราะห์และสำรวจทำเล และอื่นๆ ดังนั้น ทีมงานแฟรนไชส์ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน
6. ประเภทแฟรนไชส์
แฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยตอนนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือ Product Franchise เป็นแฟรนไชส์ที่เห็นกันมากที่สุด รูปแบบธุรกิจเป็นแนวสร้างอาชีพ ขายอุปกรณ์ ขายวัตถุดิบ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์บางอย่างจะต้องซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์ รูปแบบร้านจะเป็นแบบคีออส รถเข็น ซุ้ม เช่น ร้านชา 25 บาท ชานมไข่มุก ลูกชิ้นทอด ปาท่องโก๋ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
แฟรนไชส์แบบ Product Franchise จะมีระบบ Support จากแฟรนไชส์ซอร์ค่อนข้างน้อยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการตรวจสอบมาตรฐานร้านสาขา แค่จัดส่งวัตถุดิบให้ หลังจากนั้นผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องลงมือทำเอง หากจะจ้างลูกน้องก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ก็น้อยลง หลักๆ แล้วคนซื้อแฟรนไชส์ต้องทำเอง ข้อดีของ Product Franchise ใช้เงินลงทุนต่ำหลักพันไปจนถึงหลักแสน
ประเภทที่ 2 คือ Business Format Franchise รูปแบบการดำเนินธุรกิจจะเหมือนกันทั่วโลก เรียกอีกอย่างว่าแฟรนไชส์ขายระบบ ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า การบริการจัดการ การบริการ ระบบหน้าร้าน-หลังร้าน และอื่นๆ แฟรนไชส์ประเภทนี้จะใช้เงินลงทุนสูงระดับ 500,000 บาทขึ้นไป ทุกสาขาจะมีมาตรฐานเหมือนกันหมด เช่น 7-Eleven, เชสเตอร์, คาเฟ่อเมซอน, แดรี่ควีน เป็นต้น ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ต้องดูว่าแฟรนไชส์ประเภทไหนเหมาะกับตัวเอง โดยเฉพาะเงินในกระเป๋า
7. ความชอบ
อาจจะยกให้เป็นองค์ประกอบแรกๆ เลยก็ว่าได้ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์หรือลงทุนทำอะไรสักอย่าง ควรถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่าชอบสิ่งที่จะทำจริงหรือไม่ ถ้าไม่ชอบจะทำให้คุณรู้สึกเบื่อหน่ายเร็ว อย่าซื้อแฟรนไชส์ตามกระแส เช่น ช่วงนี้ร้านไอกรีมและชาผลไม้กำลังมาแรง ก็เลยรีบไปซื้อแฟรนไชส์มาทำ ทั้งที่ตัวคุณเองไม่ชอบ
แต่หากคุณไม่ได้ชอบธุรกิจนั้นๆ เป็นทุนเดิม เมื่อธุรกิจมีปัญหาคุณจะไม่อยากแก้ไข ไม่อยากทำต่อ และคุณจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น บางคนไม่ชอบงานบริการ หรืองานขาย บางคนไม่ชอบทำงานกับคนจำนวนมาก ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าคุณเหมาะสมกับธุรกิจแบบไหน เพื่อที่จะไม่เกิดความเบื่อเอาง่ายๆ อีกทั้งบางธุรกิจเป็นธุรกิจแฟชั่นมีอายุสั้น มาเร็วไปเร็ว พอหมดกระแสลูกค้าอาจจะหายทั้งหมด ต้องเลือกให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์
8. ทำเลที่ตั้ง
การซื้อแฟรนไชส์ โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีหน้าร้าน เรื่องของทำเลที่ตั้งถือเป็นหัวใจสำคัญ เป็นตัวกำหนดกลุ่มลูกค้า ยอดขาย รายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งทำเลเป็นตัวตัดสินเลยว่าธุรกิจจะรอดหรือไม่รอด
ถ้าเลือกทำเลนอกห้างราคาค่าเช่าจะถูก กฎระเบียบต่างๆ ไม่ค่อยยุบยิบเหมือนในห้าง ข้อดีที่ในช่วงโควิดก็สามารถเปิดขายได้ ส่วนทำเลในห้างเรื่องของค่าเช่าไม่ต้องถูกถึงหลักพันจนถึงหลักหลายหมื่นบาท ร้านอาหารใหญ่ๆ ค่าเช่าตกเป็นแสนต่อเดือน ขั้นตอนเปิดร้านก็ยุ่งยาก ยกตัวอย่างร้านร้านไซส์เล็ก คีออส (Kiosk) (30 ตร.ม. ลงมา)
ขั้นตอนการเปิดร้านเล็กๆ ไม่แตกต่างจากร้านขนาดใหญ่มากนัก แต่จะใช้เวลาน้อยลง กฎระเบียบต่างๆ ในการก่อสร้างก็ไม่ต่างกัน แต่งานระบบร้านจะไม่ซับเหมือนร้านขนาดใหญ่ ผู้รับเหมาสามารถทำจากข้างนอกแล้วนำไปตั้งในห้างได้ เริ่มจาก…
- เขียนแบบงานระบบร้าน หรือ M&E
- ส่งแบบก่อสร้างให้ห้างอนุมัติ (7-10 วัน)
- รับมอบพื้นที่จากห้าง
- วางแผน Timeline สร้างร้าน
- เข้าตกแต่งร้าน
Set Up ร้าน (22.00 น. – 05.00 น.)
- คืนที่ 1 เดินงานระบบ + วางเงินค้ำประกันการตกแต่งร้าน
- คืนที่ 2 ปูพื้นลามิเนต หรือ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์
- คืนที่ 3 ติดตั้งระบบไฟฟ้า ประปา
- คืนที่ 4 ยกคีออส (Kiosk) มาตั้ง
- คืนที่ 5 ห้างตรวจงานระบบร้าน + ส่งแบบ As Built รับเงินค่าประกันก่อสร้างคืน
อยากสรุปสั้นๆ คุณควรเลือกทำเลเปิดร้านที่มีกลุ่มลูกค้าของธุรกิจแฟรนไชส์เป็นหลัก มองเรื่องความสะดวกสบาย และค่าเช่า
9. ครอบครัวเห็นด้วยหรือไม่
เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ให้ความสำคัญกับครอบครัวหรือญาติพี่น้องเห็นด้วยในการซื้อแฟรนไชส์หรือไม่ ถ้าครอบครัวไม่เห็นด้วย เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ก็ไม่อยากขายให้ เพราะถ้าซื้อไปแล้วกลัวจะมีปัญหาตามมาภายหลัง
ดังนั้น ก่อนที่คุณจะซื้อแฟรนไชส์อาจจะต้องปรึกษากับคนในครอบครัวเสียก่อน จะต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่การเจรจาร่วมลงทุน การเซ็นสัญญา และข้อตกลงร่วมกันต่างๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือครอบครัวต้องเห็นด้วยก่อน เพราะหลายๆ คนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ใช้เงินพ่อแม่ แต่แม่ไม่ชอบธุรกิจนี้ กรณีนี้สำคัญคุณต้องลองปรึกษาที่บ้านก่อนเป็นอันดับแรก
10. มีเวลาและทุ่มเททำงาน
จริงอยู่ว่าแฟรนไชส์ซอร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของแฟรนไชส์ซี แต่แฟรนไชส์ซีเองก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความสำเร็จของธุรกิจของตนเองเช่นกัน ดังนั้น แฟรนไชส์ซีควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ต้องเลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเอง เลือกแฟรนไชส์ที่มีระบบรองรับที่ดี และสำคัญที่สุด คือ แฟรนไชส์ซีต้องให้เวลากับธุรกิจและทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ เจ้าของแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ ไม่ได้ต้องการแฟรนไชส์ซีที่รวย แต่เขาต้องการคนที่ตั้งใจและจริงจังกับการทำงาน
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ควรระมัดระวังและจำไว้ให้ดีในการซื้อแฟรนไชส์ คือ แม้ว่าแฟรนไชส์จะเป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจ แต่ธุรกิจแฟรนไชส์เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่ในสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย จะส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
ถ้าเศรษฐกิจดีจะส่งผลให้การซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสสำเร็จ ประชาชนมีกำลังซื้อ คุณต้องดูในเรื่องการเติบโตของตลาดสินค้าและบริการนั้นๆ ถ้าตลาดสินค้าซบเซา ไม่ได้รับความนิยมจากลูกค้าหากซื้อแฟรนไชส์มาเปิดอาจมีความเสี่ยงได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)