ชีวิตเด็กจนๆ ไม่มีเงินเรียน! สู่ธุรกิจ “เบนปัง บางกอก” สินค้าขายดีทั่วประเทศ
“ความสำเร็จไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง” ตอกย้ำคำพูดนี้กับด้วยธุรกิจ “ เบนปัง บางกอก ” ของคุณทรงวุฒิ เยือกเย็น (เบนซ์) ที่ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าจะสามารเป็นไอเดียและแรงบันดาลใจให้กับคนในยุคนี้ได้อย่างดี กับจุดเริ่มต้นที่บอกเลยว่าไม่มีคำว่ากลีบกุหลาบ
ตรงกันข้ามมีแต่หนามล้วนๆ ธุรกิจที่กว่าจะสำเร็จต้องล้มลุกคลุกคลาน ผ่านร้อนผ่านหนาว มานับไม่ถ้วน ใครที่กำลังท้อแท้ ใครที่หมดกำลังใจ ใครที่เคยทำธุรกิจแล้วเจ๊งไม่เป็นท่า ลองนำเรื่องนี้มาศึกษา เพื่อสร้างไฟในใจให้ลุกโชนอีกครั้ง
เด็กจนๆที่ต้องกู้เงินเรียน! ทำงานทุกอย่างเพื่อให้ได้เงิน
ภาพจาก https://bit.ly/3BXXgN5
คุณทรงวุฒิ เยือกเย็น เจ้าของแบรนด์ “เบนปัง บางกอก” ในจุดที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เป็นแบรนด์สินค้าที่คนรู้จักทั่วประเทศ แต่ก่อนจะมาถึงวันนี้ชีวิตในวัยเด็กต้องใช้คำว่ายากจน ถ้าอยากเรียนก็ต้องทำงานไปด้วยเพื่อให้มีเงินเรียน ดังนั้นอย่าแปลกใจถ้าคุณเบนซ์จะเคยทำมาแล้วหลากหลายอาชีพ แต่ทุกอาชีพก็คือประสบการณ์ที่ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จนกระทั่งเติบโตชีวิตก็ยังต้องดิ้นรนอยากเรียนในมหาวิทยาลัย เงินก็ไม่มี จึงตัดสินใจกู้เงินเรียนจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อให้ได้เรียนต่อในวิทยาลัยดุสิตธานี
แต่เงินทุนจาก กยศ. ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ในด้านค่าใช้จ่ายจิปาถะรวมถึงค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ก็ยังต้องหามาให้ได้ เรื่องการทำงานคู่กับการเรียนก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่ และต้องทำให้หนักยิ่งกว่าเดิม สิ่งที่เป็นเป้าหมายในใจคือ“ต้องทำอะไรก็ได้ เพื่อให้รวย” ในระหว่างทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยก็ทำให้มองหาทุกวิธีการที่จะนำมาพัฒาเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง และความตั้งใจหนึ่งคือ
“ชีวิตนี้ต้องมีธุรกิจของตัวเองให้ได้ ชีวิตนี้จะไม่ทำงานประจำ ถ้าเรียนจบต้องมีธุรกิจตัวเอง และต้องรวยให้ได้”
ล้มลุกคลุกคลาน! ขายของก็เจ๊ง! ก่อนสร้างธุรกิจ “เบนปัง บางกอก”
ภาพจาก https://bit.ly/3dsiRU0
ครั้งหนึ่งขณะเรียนปี 4 ที่วิทยาลัยดุสิตธานี ได้เรียนวิชาไฟแนนท์กับบัญชีและเรียนเรื่อง Future Value ที่ทำให้รู้ว่า มูลค่าของเงินในปัจจุบันกับเงินในอนาคตไม่เท่ากัน เงินมีการเสื่อมค่า คนจะรวยได้ เพราะมีการลงทุน เลยเป็นจุดเริ่มต้นให้มองเห็นภาพการสร้างธุรกิจ
แต่ชีวิตจริงกับในตำรานั้นแตกต่างกัน หลังเรียนจบคุณเบนซ์ตัดสินใจเริ่มธุรกิจด้วยการค้าขาย เรียกว่าขายแทบทุกอย่าง ตั้งแต่อสังหาฯ บ้าน รถ แต่ไม่ประสบความสำเร็จสักอย่าง เพราะไม่มีความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ ทำเพราะอยากรวยอย่างเดียว ลงทุนโดยขาดความรู้ความเข้าใจ ยังไม่นับรวมการไปขายของตามตลาดนัดที่ก็เจ๊งไม่เป็นท่า ประสบการณ์ที่ได้รับจากการขายเหล่านี้สอนให้รู้ว่า
“ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้อาศัยแค่สินค้า เพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและการตลาดด้วย”
เริ่มจากทำบราวนี่ขายออนไลน์! พัฒนาสู่ “เบนปัง บางกอก”
ภาพจาก https://bit.ly/3bN1ZXq
หลังจากเรียนรู้และสะสมประสบการณ์ชีวิตมานับไม่ถ้วนเริ่มจับทางที่ตัวเองถนัดได้ สินค้าแรกๆ คือทำบราวนี่เน้นขายออนไลน์เป็นหลัก มีการยิงAds บน Facebook กิจการก็เติบโตเร็วมาก พัฒนาจนถึงการมีตัวแทนจำหน่าย ธุรกิจโตวันโตคืน ก็ลงทุนกู้เงินธนาคารมาซื้อเตาเพิ่ม ทุกอย่างกำลังไปได้ดี แต่ก็มีปัญหาถูกร้องเรียนจากโรงงานที่ทำไปรบกวนชาวบ้านในเรื่องเสียงดัง และการสร้างไอร้อน สุดท้ายถูกสั่งปิดกิจการทั้งที่ทุกอย่างกำลังไปได้ดี
ถึงแม้จะเจอปัญหาใหญ่ “ท้อได้แต่ห้ามถอย” คุณเบนซ์มาเริ่มต้นใหม่ในการเซตโรงงานขึ้นมาอย่างถูกต้องตามระเบียบ โชคดีที่มีความรู้เรื่อง Food Safety จากที่เรียนมา ช่วยให้โรงงานเป็นรูปเป็นร่างง่ายขึ้น แต่กว่าจะเริ่มส่งออกขนมปังได้อีกครั้งต้องใช้เวลากว่า 3 ปี เนื่องจาการขอ GMP HACCP (ตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานอาหาร และการผลิตที่ปลอดภัย) และเมื่อเริ่มนับ 1 ได้อีกครั้งคราวนี้ธุรกิจก็เดินหน้าได้อย่างเต็มที่
ทุกวันนี้เบนปัง บางกอก สามารถสร้างยอดขายได้ปีละเกือบร้อยล้านบาทขนมปังกรอบ มีสินค้าให้เลือกกว่า 13 รสชาติ วางขายในร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ และยังขยายตลาดไปต่างประเทศทั้ง ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และอีกหลายประเทศทั่วโลก
ภาพจาก https://bit.ly/3dnLOjQ
3 คีย์เวิร์ดสู่ความสำเร็จของ “เบนปัง บางกอก”
หากจะถอดรหัสความสำเร็จให้เราได้ศึกษา มี 3 คีเวิร์ดที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตของเราทุกคนได้เริ่มจาก
1.ทำธุรกิจต้องมีประสบการณ์มากพอ
ภาพจาก https://bit.ly/3zOpEij
บางคนทำธุรกิจแล้วเจ๊งไม่เป็นท่าเพราะคิดว่าตัวเองเก่งตลาด รู้จักแต่สินค้า แต่ไม่เข้าใจวิธีการขาย ไม่เข้าถึงความต้องการของลูกค้า คิดแค่ว่าสินค้าเราดี ยังไงก็ขายได้ ในความจริงการทำธุรกิจแม้สินค้าดีแต่เราต้องเข้าใจความต้องการลูกค้าและรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร เพื่อให้ทุกการลงทุนไม่สูญเปล่า
2.ต้องสร้างหนี้ที่เกิดรายได้
ภาพจาก https://bit.ly/3vWzUnf
การทำธุรกิจสำหรับคนไม่มีเงินทุนจำเป็นต้องกู้เงินแต่ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนให้มั่นใจว่าการสร้างหนี้ในครั้งนี้จะสามารถก่อให้เกิดรายได้ ไม่เป็นหนี้โดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นเรื่องของแผนการตลาดเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง
3.เติบโตจากเล็กไปใหญ่
ภาพจาก https://bit.ly/3JK2le2
ถ้าใครที่อยากมีธุรกิจ อยากมีกิจการของตัวเอง แต่ไม่มีเงินทุน ไม่ได้เป็นทายาทกิจการใหญ่โต การสร้างธุรกิจของตัวเองต้องเริ่มจากศูนย์และค่อยๆ โตขึ้น ข้อดีคือจะทำให้เราเรียนรู้ได้ทุกกระบวนการ มองเห็นและเข้าใจกิจการของเราได้ชัดเจน ในวันหนึ่งที่สามารถขยายกิจการให้ใหญ่โตได้จะกลายเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งมาก
เหนือสิ่งอื่นใดการทำธุรกิจหรือกิจการใดๆ ควรมีการวางแผนสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน ในยามที่ทุกอย่างไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เราต้องมีทางออกเพื่อให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจได้น้อยที่สุด ยิ่งในยุคนี้การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นรวดเร็วธุรกิจหากจะเริ่มต้นได้ก็ควรเข้าใจความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2Uk8X9j , https://bit.ly/3dnlxSK , https://bit.ly/3AbeW6S , https://bit.ly/3mZkFVQ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QSXBoT
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)