ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว การปรับตัวที่น่าจับตา!

ในแวดวงของแฟรนไชส์ถ้าถามหา โมเดลความสำเร็จ เราต้องขอยกตัวอย่าง “ชายสี่หมี่เกี๊ยว” ที่ถือว่าเป็นตัวอย่างใกล้เคียงตัวเรามากที่สุด บางคนอาจบอกว่าเราไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีโน้น ไม่มีนี่ ไม่มีนั่น ที่ล้วนแต่เป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

แต่ชายคนนี้เปลี่ยนสิ่งที่ไม่มีให้กลายเป็นมี นี่คือคนธรรมดาที่ก้าวสู่ความเป็นสุดยอดในแวดวงแฟรนไชส์และเชื่อว่าหลายคนก็รู้จักเขาเป็นอย่างดี คุณพันธ์รบ กำลา เจ้าของบริษัท ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว จำกัด

เรื่องราวน่าสนใจของชายสี่บะหมี่เกี๊ยวที่เริ่มตั้งแต่ปี 2537 แต่ที่จริงเรื่องนี้เริ่มต้นก่อนหน้านั้น ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com ขอย้อนเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ ว่าคุณพันธ์รบ ไม่ใช่ลูกเศรษฐีที่โตมาพร้อมเงินทองกองอยู่ตรงหน้า ตรงกันข้าม เขาคือลูกชาวนาในจังหวัดร้อยเอ็ด แถมยังเรียนจบแค่ ป.4 ก่อนที่จะมาเริ่มเรียน กศน. และจบ ม.6

ในตอนอายุ 41 นอกจากทำนามาแต่จำความได้ ก็ยังมีสารพัดอาชีพที่ทำ ทั้งรับจ้างเก็บฝ้าย เก็บพริก ลูกจ้างโรงกลึง รปภ. เป็นพ่อค้าขายไอติม จนกระทั่งมาเริ่มต้นอาชีพพ่อค้าขายบะหมี่เกี๊ยวช่วงปี 2535 – 2537 ในย่านลำลูกกา และเป็นจุดเริ่มของอาณาจักรชายสี่หมี่เกี๊ยวที่คนไทยรู้จักกันทั้งประเทศ

จากร้านแรก สู่ 200 สาขาและกลายเป็น 4,500 สาขา และยังจะขยายมากขึ้นเรื่อยๆ

ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว

ภาพจาก bit.ly/2SWTYm6

ตอนเปิดร้านบะหมี่เกี๊ยวครั้งแรกๆ ก็ขายดีตั้งแต่เริ่มมียอดขายเฉลี่ยวันละ 5,000 – 7,000 บาท ใช้เวลากว่า 2 ปีในการเปิดร้านเก็บเกี่ยวประสบการณ์และพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบกินเส้นบะหมี่มากกว่า แต่จะมีปัญหาที่คุณภาพของเส้นบะหมี่เกี๊ยวและแผ่นเกี๊ยว เป็นการจุดประกายให้จัดตั้งบริษัท ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว อย่างเป็นทางการในปี 2543 และเริ่มมีคนสนใจลงทุน จากร้านแรก มาเป็น 200 สาขา

36

และในปี 2541 ได้ออกรายการเกมแก้จน ก็ยิ่งเพิ่มความสนใจให้คนอยากลงทุนมากขึ้นและกลายเป็นการขยายสาขาเพิ่มขึ้น จนถึงตอนนี้มีมากกว่า 4,500 แห่ง และยังมั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มสาขาได้กว่า 8,000 -10,000 แห่งภายในเวลา 3-5 ปี และในตอนนี้ชายสี่หมี่เกี๊ยวก็ไม่ได้มีสินค้าแค่อย่างเดียวแต่มีการต่อยอดเป็นสินค้าอีกหลายอย่างซึ่งเป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด ได้แก่ พันปีบะหมี่เป็ดย่าง, ก๋วยเตี๋ยวไก่ ข้าวมันไก่ ,โจ๊ก ต้มเลือดหมูชายสี่, บะหมี่ฮาลาล (อาหารมุสลิม), ชายสี่ ชิ้นเนื้อ, ชายัง ชานมไข่มุก เป็นต้น

35

ภาพจาก bit.ly/3br4bxo

และการเพิ่มขึ้นของจำนวนสาขาที่กระจายออกไปยังทั่วประเทศนั้น จำเป็นที่จะต้องมีกำลังการผลิตเส้นบะหมี่ และระบบการกระจายสินค้าที่ดีเข้ามารองรับ ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว จึงมี โรงงานผลิตเส้นบะหมี่ พร้อมศูนย์กระจายสินค้า 7 ศูนย์ ในประเทศไทย ได้แก่ ศูยน์คลองหก (สำนักงานใหญ่), ศูนย์มหาสารคาม, ศูนย์พูนพิน (จ.สุราษฎร์ธานี), ศูนย์ลำปาง, ศูนย์พิษณุโลก, ศูนย์อุดรธานี, ศูนย์พนัสนิคม (จ.ชลบุรี ภาคตะวันออก) ซึ่งชายสี่ บะหมี่เกี๊ยวเอง สามารถผลิตเส้นบะหมี่ เพื่อส่งให้ลูกค้าแฟรนไชส์ได้มากกว่า 22 ตัน/วัน และ มีรถส่งสินค้าทั่วประเทศเป็นใยแมงมุม ปัจจุบันมีมากกว่า 100 สายส่ง เพื่อให้บริการลูกค้าแฟรนส์ไชส์ทุกวัน

5 แนวทางการปรับตัวที่คนลงทุนแฟรนไชส์ต้องสนใจ

1. การแตกไลน์จากรถเข็นสู่ภัตตาคารอาหาร

34

ภาพจาก bit.ly/3bn4kSM

ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว มีการแตกไลน์ธุรกิจอาหารไปในอีกหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบภัตตาคาร ภายใต้ชื่อ CHYSEE FACTORY ที่จะมีทั้งรูปแบบ STAND ALONE และ แบบอยู่ในศูนย์การค้า รวมถึงรูปแบบ FOODTRUCK Easy Meal และ Delivery เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

2. ปรับตัวสู่ยุค Cashless Society

33

ภาพจาก bit.ly/3co0c6k

สังคมได้เข้าสู่ Cashless Society (สังคมไร้เงินสด) มากขึ้น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จึงได้ร่วมมือกับ ธนาคารไทยพานิชย์ในการนำระบบ Payment Solution ของทางธนาคาร มาใช้ กับธุรกิจแฟรนไชส์ลดความเสี่ยง และอันตราย ในการถือเงินสดจำนวนมากในการขายสินค้าให้ลูกค้าแฟรนไชส์ และ ยังสามารถเพิ่มช่องทางการชำระเงินด้วย QR CODE แม่มณี ให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้านชายสี่บะหมี่เกี๊ยวอีกทางหนึ่งด้วย

3. ปรับตัวสู่ Modern Trade

32

ภาพจาก bit.ly/2WRWzig

วิสัยทัศน์ของ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว คือ เจ้าแห่งเส้น รถเข็นสากล ครัวของทุกบ้าน อาหารของทุกคน นอกจากแฟรนไชส์ต่างๆ สินค้าก็มุ่งสู่ Modern Trade มากขึ้น ซึ่งสินค้ากลุ่มเส้น ผงซุปต่างๆ มีจำหน่ายช่องทาง ตลาด Treditional Trade, Modern Trade เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้สินค้าคุณภาพ โดยปัจจุบันได้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพิ่มขึ้น เช่น สินค้า Frozen และ Chill เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่ชอบความสะดวก

4. เตรียมยกระดับจากธุรกิจครอบครัวสู่ตลาดหุ้น

31

ภาพจาก bit.ly/3dzKjd9

ชายสี่ หมี่เกี๊ยวเตรียมยกระดับสู่การเป็น “บริษัทมหาชน” โดยเตรียมตัวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อยกระดับจาก “ธุรกิจครอบครัว” ไปสู่การเป็น “องค์กรมืออาชีพ” ซึ่งผลดีของการเข้าสู่ตลาดหุ้นคือจะระดมทุนสำหรับขยายและพัฒนาธุรกิจได้มากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของแบรนด์ชายสี่ได้ เมื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แล้วคาดว่าจะมีรายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท

5. ปรับกลยุทธ์ลุยตลาดเพื่อนบ้าน

30

ภาพจาก bit.ly/2WpftOL

นอกจากการขยายสาขาในประเทศ ชายสี่ยังได้รุกตลาดเพื่อนบ้านโดยเมื่อปี 2552 ได้ขยายตลาดเข้าไปใน สปป. ลาว และมีสาขาถึงตอนนี้ในประเทศลาวกว่า 140 แห่งพร้อมทั้งมีแผนสร้างโรงงานผลิตที่นั่น รวมทั้งเตรียมเปิดที่กัมพูชาในปีนี้เช่นกัน โดยลงทุนซื้อที่ 6 ไร่ สำหรับสร้างเป็นโรงงานผลิต คาดว่าจะมี 100 – 300 สาขา และด้วยศักยภาพตลาด มองว่าจะสามารถขยายเป็น 500 สาขา ซึ่งเหตุผลที่ต้องตั้งโรงงานผลิตในประเทศที่เข้าไปทำตลาด

กว่าจะกลายเป็น ชายสี่หมี่เกี๊ยว ที่เติบโตติดลมบนได้ถึงขนาดนี้ ไม่ใช่ความสำเร็จที่สร้างกันได้ภายในวันเดียว แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถือว่าไกลเกินไป จากลูกชาวนา จากคนเปิดร้านหมี่เกี๊ยวแบบรถเข็น และเป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้มีมรดกตกทอด แต่ยังสร้างอาณาจักรของตัวเองให้เติบโต สำคัญคือวิสัยทัศน์และการบริหารจัดการที่ถูกต้อง รวมถึงต้องเอาใจใส่ในธุรกิจที่ทำ ตั้งใจและลงมือทำจริงๆ ทุกอาชีพทุกธุรกิจเราสามารถต่อยอดให้กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่โตได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล
https://bit.ly/2zYTYv8 , https://bit.ly/2W7R0gC , https://bit.ly/3fpM1iV , https://bit.ly/3ccyDg8 , https://bit.ly/2WBpDdE , https://bit.ly/2yD2Ki2

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/2yRGNfq

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด