“ชาจากดอกดาวเรือง” อาชีพสร้างรายได้ในยุค COVID
“ดาวเรือง” จัดเป็นไม้ดอกที่มีความผันผวนทางด้านราคาช่วงไหนความต้องการสูงราคาจะดีดขึ้นไปสูงถึงดอกละ 2.50-3 บาท แต่หากช่วงไหนผลผลิตล้นตลาด ราคาจะร่วงลงมา ในสถานการณ์แพร่ระบาด COVID ตอนนี้กิจการหลายแห่งหยุดชะงัก
งานเทศกาลต่างๆ จัดไม่ได้ แถมยังมีมาตรการล็อคดาวน์เกิดขึ้น ราคาดาวเรืองเลยร่วงหนัก ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ “การแปรรูปสินค้า” โดยดอกดาวเรืองสามารถนำมาทำ “ ชาดอกดาวเรือง ” ที่มีสรรพคุณน่าสนใจหลายอย่างและยังเป็นแนวทางการสร้างรายได้ที่ดีในยุค COVID แบบนี้ด้วย
สรรพคุณที่น่าสนใจที่ได้จาก “สารสกัด” ดอกดาวเรือง
ภาพจาก bit.ly/3rlSYYI
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ไม่ได้มีแค่ความสวยจากสีสัน ไม่ได้มีดีแค่ชื่อเป็นมงคล แต่ดอกดาวเรืองยังมีสารสกัดที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพได้เช่น
1.บำรุงสายตา โดยมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ซึ่งจัดว่าเป็นสารบำรุงสายตาจากพืชมีสีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาได้ ช่วยกรองแสงสีฟ้า และยังเป็นสารออกซิเดชั่น ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่จะทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตา
2.บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอย สารสกัดจากดอกดาวเรือง สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี เนื่องจากมีกรดฟีนอลิกที่สำคัญซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดริ้วรอยและทำให้ผิวพรรณดูอ่อนวัย
3.บรรเทาโรคผิวหนัง ในดอกดาวเรืองมีสารคาเลนดูลา (Calendula) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาปัญหาผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ แผลเป็น และผิวหนังแห้งแตก โดยการนำมาบรรเทาและดูแลปัญหาผิวหนังเหล่านี้ ควรใช้สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่อยู่ในรูปครีมยา น้ำมันหอมระเหย หรือโลชั่นบำรุงผิวพรรณ
4.ละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่อดอกดาวเรืองมีรสขม กลิ่นฉุนเล็กน้อย แต่ก็มีสรรพคุณทางยาช่วยกล่อมตับ ขับร้อนจากร่างกาย ละลายเสมหะ แก้ไอหวัดได้
5.ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดสซึ่งมีหน้าที่ย่อยสลายน้ำตาลในลำไส้ส่วนเล็กเพื่อให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ดีขึ้น ดังนั้น สารสกัดจากดอกดาวเรืองจึงมีฤทธิ์ลดการดูดซึมกลูโคสในร่างกาย มีคุณสมบัติช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดี
เทคนิคการปลูกดอกดาวเรืองเพื่อนำมาแปรรูป
ภาพจาก https://bit.ly/3wW5SxI
ลักษณะการปลูกไม่แตกต่างกันมากนักแต่ต้องเน้นที่ความพิถีพิถันและปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก โดยจำเป็นต้องปลูกในโรงเรือนเพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมีทุกชนิด เพราะว่าด้วยตัวของดอกดาวเรืองเอง เป็นพืชที่ค่อนข้างดูดซับสารพิษในดินเข้ามาไว้ในตัว อย่างเช่น ถ้าปลูกในดินที่ผ่านการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลงแล้วตกค้างในดิน ตัวดอกดาวเรืองมีคุณสมบัติในดูดซับสารเหล่านี้เข้ามาในต้น โดยจะดูดซับไว้ที่ส่วนรากมากที่สุด และอาจจะกระจายสู่ดอกได้ด้วย
ฉะนั้น การปลูกในโรงเรือนถือเป็นวิธีที่ช่วยหลีกเลี่ยงสารเคมีได้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนคือจะต้องปลูกในถุง และต้องเป็นดินที่ไม่ได้ผ่านการใช้สารเคมีใดๆ มาก่อน แต่การปลูกดาวเรืองเพื่อทำเครื่องดื่มชา มีข้อดีตรงที่ไม่จำเป็นต้องทำให้ดอกสวย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะต้องตัดเพื่อนำมาอบอยู่แล้ว มีแมลงกัดหรือนอนเจาะได้บ้าง
ใช้เทคนิค “การเปิดไฟ” ให้ดอกดาวเรืองมีสารสำคัญมากขึ้น
ภาพจาก https://bit.ly/3wW5SxI
มีการทดลองออกมาว่าการปลูกแบบเปิดไฟ ผลวิเคราะห์ออกมาว่ามีสารสำคัญในดอกสูงกว่าแบบอื่น โดยเทคนิคการใช้แสงไฟเพื่อรักษาสารสำคัญในดาวเรืองนั้น จะเริ่มเปิดไฟตั้งแต่ช่วงที่ดาวเรืองมีตาดอกแล้ว ก็คือหลังจากปลูกได้ 45 วันขึ้นไป โดยช่วงระยะเวลาการเปิดจะแบ่งเปิดเป็น 2 ช่วง คือ เปิดในช่วงเช้า ตี 4 ถึง 7 โมงเช้า และช่วงเย็น 5 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่ม เปิดไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
วิธีการทำ “ชาดอกดาวเรือง”
ภาพจาก https://bit.ly/3wW5SxI
1.เก็บดอกดาวเรืองที่บานเต็มที่นำมาตัดเอาเฉพาะกลีบดอก ไม่ให้ติดเกสรออกมา เนื่องจากตรงส่วนของเกสรจะมีกลิ่นฉุน และนอกจากนี้ ยังมีผลทดสอบออกมาว่าในกรณีผู้ที่แพ้ดอกดาวเรืองส่วนใหญ่จะแพ้เกสรดังกล่าว
2.นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี หรือจะใช้วิธีอบก็ได้ ในกรณีถ้าเป็นตู้อบลมร้อนทั่วไปควรจัดเรียงไม่ให้กลีบดอกทับกันหนาเกิน 3 เซนติเมตร และอบในอุณหภูมิ 45-50 องศาเซลเซียส
3.ใช้เวลาอบประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นนำมาบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เตรียมจำหน่าย โดยดอกดาวเรืองสดจำนวน 1 กิโลกรัม เมื่อนำมาอบเป็นชาแล้วจะได้ประมาณ 100 กรัม
ราคาในการจำหน่ายกิโลกรัมละ 250-300 บาท
ภาพจาก https://bit.ly/3wW5SxI
เราสามารถขายชาดอกดาวเรือง 10 กิโลกรัมในราคา 2,500-3,000 บาท ต่างจากการขายดอกสด 10 กิโลกรัม จะได้เงินประมาณ 300 บาท แต่รายได้ที่สูงขึ้นจากการแปรรูปเราก็ต้องมีต้นทุนที่สูงขึ้นเช่นกัน แต่เมื่อหักลบรายจ่ายแล้วก็ถือว่าเป็นกำไรที่ยังน่าพอใจและสามารถต่อยอดขายได้
โดยเฉพาะในยุค COVID ที่คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น และที่สำคัญชาจากดอกดาวเรือง สามารถเก็บไว้จำหน่ายได้นานเป็นปี ต่างจากลักษณะของดอกสด ถ้าผ่านไปสัก 3-5 วัน จะกลายเป็นขยะทันที ซึ่งหากมองในตลาดชาที่ทำจากดอกไม้ตอนนี้คู่แข่งยังน้อย รายได้จะมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการหาตลาดของเราเป็นสำคัญด้วย
ซึ่งการทำ ชาจากดอกดาวเรือง เป็นการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าสินค้า ซึ่งใครที่มีแปลงดอกดาวเรืองอยู่แล้วจะค่อนข้างได้เปรียบ ส่วนใครที่ไม่ได้ปลูกดอกดาวเรืองในขณะนี้ แต่อยากมีรายได้เพิ่ม ลองหันไปดูรอบๆ ตัวเองว่ามีสิ่งไหน มีอะไรที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้บ้าง ในตอนนี้เราต้องพยายามลดต้นทุนและหาสิ่งใกล้ตัวที่มี เพื่อมาเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง ดีกว่าเสี่ยงไปลงทุนใหญ่ๆ ในช่วงนี้
อ้างอิงจาก https://bit.ly/36KCSOQ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)