จากไวรัลสู่วายวอด? ตลาดไอติมล้น เจ้าไหนอยู่ เจ้าไหนไป
หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ถ้าถามคนไทยหลายๆ คนว่า มีร้านไหนที่ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยบ้าง เชื่อว่าเกือบทุกคนน่าจะรู้จักแค่ Daily Queen, KFC, McDonald’s, Burger King เท่านั้น พอมาถึงช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นมา ต้องยอมรับว่าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยเป็นกระแสมาอย่างต่อเนื่อง จากการเข้ามาบุกตลาดของแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีน อินโดฯ
เริ่มจาก Mixue, Ai-Cha ตามมาด้วย Wedrink และ Bing Chun ชูกลยุทธ์ราคาถูก ขายไอศกรีมโคน 15 บาท สามารถสร้างสีสันให้กับตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยได้อย่างมาก ทำเอาหลายๆ แบรนด์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยหวั่นใจอยู่ไม่น้อย ด้วยมูลค่าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยสูงถึง 25,000 ล้านบาท
แต่รู้หรือไม่ว่า? ปัจจุบันไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟที่ว่าเป็นกระแสเมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน เริ่มที่จะซาลงไปบ้างแล้ว ตลาดไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน สังเกตได้ว่าคนสนใจซื้อแฟรนไชส์น้อยลง เมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ ที่แฟรนไชส์จีนเข้ามาเปิดตลาดในไทย
สาเหตุที่ทำให้ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยไม่เป็นกระแสเหมือนเดิม หรืออาจมองได้ว่าไอศกรีมจีนไม่ปังอีกแล้ว อาจเป็นเพราะ “แบรนด์ไทย” หรือ “ผู้ประกอบการไทย” สามารถทำไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟได้ไม่ต่างจากจีน
ก่อนอื่นมาดูกันว่า แต่ละแบรนด์ในไทยมีไทม์ไลน์ขาย “ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ” ตั้งแต่ตอนไหน ใครทำก่อน ใครทำหลัง ใครมีโอกาสในตลาดและยืนระยะได้นานกว่ากันในตลาดซอฟต์เสิร์ฟเมืองไทย
KFC

แฟรนไชส์ไก่ทอดอเมริกา เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2527 เข้ามาก่อนแดรี่ควีนถึง 12 ปี สาขาแรกเปิดที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว เป็นการนำเข้ามาของเครือเซ็นทรัล และเป็นเจ้าแรกที่ได้สิทธิ์แฟรนไชซี KFC ในไทย ปัจจุบันมีราวๆ 1,100 สาขา ขายไอศกรีมโคนละ 12 บาท
McDonald’s

แฟรนไชส์เบอร์เกอร์อเมริกา เข้ามาเปิดตลาดในไทยช่วงปี 2528 หลัง KFC แค่ปีเดียว สาขาแรกเปิดที่ห้างโซโก้ หรือเกษรอัมรินทร์ในปัจจุบัน ผู้นำเข้าคือ นายเดช บุลสุข สมัยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่อเมริกา ปัจจุบันอยู่ภายใต้บริษัท แมคไทย จำกัด มีจำนวน 250 สาขาทั่วประเทศ ขายไอศกรีมโคนละ 15 บาท
Dairy Queen

แดรี่ควีน ถือเป็นเจ้าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทย เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2539 โดยกลุ่มไมเนอร์ฯ สาขาแรกเปิดที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ชูเอกลักษณ์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและบลิซซาร์ดแสนอร่อยไม่เหมือนใคร ราคาเริ่มต้น 12 บาท/โคน
รู้หรือไม่ว่าตั้งแต่ Dairy Queen เปิดให้บริการวันแรก ได้เสียงตอบรับจากลูกค้าชาวไทยมากมาย จนสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ทำเลร้านส่วนใหญ่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า เป็นแบรนด์ไอศกรีมที่จับกลุ่มลูกค้าตลาดบน
ต่อมาในปี 2011 (2554) ทางสหรัฐฯ ได้ต่อสัญญามาสเตอร์แฟรนไชส์แดรี่ควีนในไทยให้กับเครือไมเนอร์ฯ อีกครั้ง และได้เปิดขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนทั่วไป ภายใต้การบริหารของบริษัท ไมเนอร์ ดีคิว จำกัด
ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 534 แห่งทั่วประเทศ ถือว่ามีสาขามากเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย รองจากจีนที่มีสาขากว่า 1,500 สาขา กลายเป็นเจ้าตลาดอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในเมืองไทย ครองส่วนแบ่งมากกว่า 30-40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้แดรี่ควีนยังคงมีภาษีดีกว่าแบรนด์ๆ อื่นๆ แต่ในตอนนั้นกระแสไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยยังไม่ดัง เพราะไอศกรีมจากจีนยังไม่เข้ามาในไทย
Burger King

แฟรนไชส์เบอร์เกอร์อเมริกา เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2543 หลัง McDonald’s ถึง 15 ปี เป็นการนำเข้ามาของเครือไมเนอร์ฯ เหมือนกับแดรี่ควีน ปัจจุบันมี 125 สาขาใน 3 ประเทศ ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟราคา 12 บาท/โคน
Sweet Creations

ต่อมาในช่วงปี 2555 บริษัท Sweet Creations ได้ก่อตั้งโรงงานผลิต ซอฟครีมสไตล์ญี่ปุ่นเจ้าแรกในประเทศไทยขึ้นมา หลังจากได้เห็นกระแสไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในประเทสญี่ปุ่นมาแรง ได้พัฒนาสูตรจนถึงปัจจุบัน Sweet Creations ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิต แต่ยังเป็นผู้สร้างกระแสซอฟเสิร์ฟในประเทศไทยให้ดังขึ้นมา ด้วยการเป็น Supplier & Partner ของแบรนด์ดังต่างๆ มากมาย
IKEA

เข้ามาเปิดให้บริการครั้งแรกในไทยช่วงปี 2554 ที่ศูนย์การค้าเมกาบางนา ภายใต้บริษัท อิคาโน่ รีเทล ถือเป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย เริ่มเปิดตัวไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟสไตล์ญี่ปุ่นช่วงปี 2562 ราคาโคนละ 29 บาท ตอนนั้นมีสาขาเดียวที่บางนาเท่านั้น ปัจจุบันเปิดขายไอศกรีมหลายสาขา หลายรสชาติราคาตั้งแต่ 8 บาทไปจนถึง 60 กว่าบาท
มาถึงตอนนี้ แม้ว่าหลายๆ แบรนด์ในไทย ไม่ว่าจะเป็น McDonald’s, Dairy Queen, Burger King, IKEA จะมีเมนูไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟบริการลูกค้าแล้ว แต่ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยก็ยังไม่คึกคักมากนัก คนที่กินประจำก็กินเหมือนเดิม
Mixue
พอมาถึง มี่เสวี่ย (Mixue) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน ราคาเริ่มต้น 15-50 บาท เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อกลางปี 2565 ภายใต้การบริหารบริษัท มี่เสวี่ย (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสาขาแรกที่รามคำแหง 53 ได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษาเป็นอย่างมาก สร้างกระแสบนโลกออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก
เชื่อหรือไม่ว่า ในแต่ละวันมีคนโทรเข้ามาสอบถามไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์เกี่ยวกับการลงทุนแฟรนไชส์ Mixue มากถึง 10-15 ราย จนในช่วงต้นปี 2567 แบรนด์ไอศกรีมและชาจากจีนต้องยุติการขายแฟรนไชส์ไว้ชั่วคราว ในตอนนั้น Mixue มี 200 สาขา
Mos Burger

แฟรนไชส์เบอร์เกอร์ชื่อดังจากญี่ปุ่น เข้ามาเปิดในไทยตั้งแต่ปี 2550 แต่ยังไม่มีเมนูไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ สาขาแรกเปิดอยู่ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ปัจจุบันมีราวๆ 26 สาขา ภายใต้การบริหารบริษัท มอส เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีผู้ถือหุ้นรายสำคัญ คือ คุณพิธาน องค์โฆษิต CEO บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE ที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย จากนั้น Mos Burger เริ่มมีเมนูไอศกรีมช่วงต้นปี 2566 ราคาเริ่มต้น 20 บาท/โคน มาทีหลัง Mixue ที่เปิดตัวช่วงกลางปี 2565
Ai-CHA
ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 จนมาถึงกลางปี 2566 ถือเป็นช่วงที่ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยเป็นกระแสดังอย่างมาก หลายๆ แบรนด์ในไทยเริ่มหนาวๆ ร้อนๆ กันบ้างแล้ว เมื่อ Ai-CHA แฟรนไชส์ร้านไอศกรีมและชาจากอินโดนีเซีย เข้ามาเปิดตลาดในไทยช่วงกลางปี 2566 เป็นคู่แข่งสำคัญของ MIXUE ขายสินค้าราคาเท่ากันทุกอย่าง หน้าตาสินค้าแต่ละเมนูเหมือนก็อปกันมา
เปิดร้านโซนเดียวกัน โดยร้านแรกอยู่แถวรามคำแหง มีเอกลักษณ์เป็นมาสคอตนกเพนกวินอยู่ท่ามกลางโทนสีแดงของทางร้าน ผลิตภัณฑ์หลักของ Ai- CHA เป็นไอศกรีมโคนและเครื่องดื่มอย่างชาที่เริ่มต้นเพียง 15-50 บาท ปัจจุบันมี 130 สาขาในไทย
อินทนิล

เมื่อตลาดไอศกรีมซอฟต์ในไทยเป็นกระแสและมีผู้เล่นมากขึ้น ทางฟากฝั่งแฟรนไชส์ร้านกาแฟอย่าง “อินทนิล” ในเครือบางจาก ก็อยากเป็นหนึ่งในผู้เล่นในตลาดด้วย เปิดขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟช่วงต้นปี 2567 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการร้านในแต่ละสาขา มี 4 รสชาติ คือ โยเกิร์ต โกโก้ ชาไทย และ ชาเขียว ราคา 29 บาท/ถ้วย ตั้งเป้าจะมีไอศกรีมทุกสาขากว่า 1,050 แห่งทั่วประเทศ ปัจจุบันเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟสดอันดับ 3 ของไทยรองจาก คาเฟ่ อเมซอน และกาแฟพันธุ์ไทย
WEDRINK
ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยเริ่มร้อนระอุและมีผู้เล่นในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไอศกรีมจีนและอินโดฯ ไม่มีแค่ Mixue กับ Ai-Cha ที่เข้ามาบุกตลาดในไทยเท่านั้น ยังมี WEDRINK แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีน อยู่ภายใต้บริษัท ซินเจิ้ง เมนเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด
เปิดสาขาแรกรามคำแหง 53 วันที่ 16 ม.ค. 67 ใช้กลยุทธ์ซื้อ 1 แถม 1 ชูเมนูหลากหลาย โดยเฉพาะไอศกรีมโคนมัทฉะ ไอศกรีมดั้งเดิม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชานม สมูทตี้ และน้ำผลไม้ถังนานาชนิด ราคาเริ่มต้น 15-60 บาท ปัจจุบันมี 150 สาขาในไทย
Bing Chun
ไม่เพียงแค่นี้ พอถึงกลางปี 2567 “ปิงฉุน” (Bing Chun) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีน ขายสินค้าแบบเดียวกันกับ Mixue, Ai-Cha, Wedrink ราคาไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเริ่มต้น 15 บาท/โคน เข้ามาเปิดตลาดในไทย สาขาแรกอยู่ที่ “แฟชั่นไอส์แลนด์” เป็นอีกหนึ่งไอศกรีมและชาจากจีนที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในไทย ปัจจุบันมีสาขา 14 แห่งทั่วประเทศ
มาถึงตรงนี้ จะเล่าให้ฟัง นอกจาก Mixue แบรนด์ไอศกรีมจีนที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยแบรนด์แรก จะต้องแข่งกับแบรนด์ต่างๆ ในไทยแล้ว ยังต้องแข่งกับแบรนด์จีนด้วยกันอย่าง Bing Chun แบรนด์ไอศกรีมจีนที่เข้ามาสุดท้ายในไทย เพราะ Bing Chun เปิดหน้าท้าชน Mixue แบบไม่กลัวรุ่นพี่เลย เปิดร้านติดกันแบบคู่แฝดที่สาขา “ยูเนี่ยน มอลล์” ให้ลูกค้าตัดสินใจว่าจะเลือกใคร
กลยุทธ์ของ Bing Chun ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับ CJ ที่กล้าเปิดร้านใกล้ๆ หรือติดกับ 7-Eleven ให้ลูกค้าเลือกเอาว่าจะเข้าร้านไหน ใครทำได้ดีกว่าจะเป็นผู้ชนะและได้ใจลูกค้า ซึ่ง Bing Chun ก็น่าจะคิดแบบเดียวกับ CJ
ร้านสะดวกซื้อ CJ
มาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะคิดว่า ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยไม่น่าจะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดอีกแล้ว ใครคิดแบบนี้ถือว่าผิด เพราะเมื่อช่วงเดือน ก.ค. 2567 บริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส จำกัด ได้เปิดตัวไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ “เถียน เถียน” ขายในร้านสะดวกซื้อซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต, ซีเจ มอร์ และซีเจ เอ็กซ์ ปัจจุบันให้บริการลูกค้าไปแล้วกว่า 73 สาขา ราคาไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟโคนละ 15 บาทเท่ากับไอศกรีมจีน ไม่พอยังมีเมนูเครื่องดื่มชานมไข่มุก ชาผลไม้ เหมือนกับ Mixue, Ai-Cha, Wedrink, Bing Chun อีกต่างหาก เรียกได้ว่าแบรนด์ไทยเปิดหน้าท้าชนกับแฟรนไชส์ไอสกรีมจีนแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน
Tops daily และ Makro – เมจิ

แบรนด์ไทยยังไม่กลัวแฟรนไชส์ไอศกรีมจีน เมื่อช่วงกลางปี 2567 จนถึงปลายปี ได้เห็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ Tops daily ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟกับเขาด้วย ราคาเริ่มต้น 12 บาท/โคน มีบริการเกือบทุกสาขาแล้วในตอนนี้ ตามมาด้วยช่วงปลายปี “Makro – นมเมจิ” เปิดตัวไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ราคาถูกสุด 8 บาท/โคน ตอนนี้มีขายตามแม็คโครและโลตัส
จะเห็นได้ว่าแต่ละแบรนด์ในไทยที่ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟข้างต้น ไม่ได้ใช้ไอศกรีมเป็นสินค้าชูโรงของร้าน แต่ใช้เป็นสินค้าทางเลือกให้กับลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการที่ร้าน เห็นว่าหลายๆ แบรนด์ในไทยขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟถูกกว่าแบรนด์จีนด้วยซ้ำ ที่สำคัญรสชาติและคุณภาพดีกว่าไอศกรีมจีน ที่สำคัญลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ยกตัวอย่างร้านสะดวกซื้อ CJ ปั้นแบรนด์ “เถียน เถียน” ทำสินค้าเหมือน Mixue อีกต่างหาก ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและชาผลไม้ ราคาเริ่มต้น 15 บาทเหมือนกัน ปัจจุบันมีบริการแล้ว 73 สาขา จาก 1,300 สาขา ถ้า CJ เปิดให้บริการครบทั้งหมด ก็จะมีสาขามากกว่า Mixue ที่มีเพียงราวๆ 250 สาขาเท่านั้น อีกทั้ง CJ ไม่ต้องลงทุนสร้างสาขาใหม่
เพียงแค่นำเครื่องทำไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ที่มีราคาตั้งแต่ 40,000 – 90,000 บาทไปติดตั้งในแต่ละสาขาของ CJ ก็ขายได้ทันที เพราะ CJ ไม่ต้องจ้างและอบรมพนักงานใหม่ ใช้พนักงานในร้านเดิมที่ชำนาญในการชงเครื่องดื่มก็เพียงพอแล้ว

ไม่มีแค่ CJ ยังมีแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ Tops daily ที่มีราวๆ 700 สาขาทั่วประเทศ ถ้ามีไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟขายทุกสาขา ก็ได้เปรียบแฟรนไชส์ไอศกรีมจากจีน เพราะลูกค้าเข้าถึงง่าย แต่ละสาขาอยู่ตามแหล่งชุมชนที่พักอาศัยทั่วประเทศ
แม้แต่แบรนด์ไอศกรีมเจ้าตลาดนำทยอย่า “แดรี่ควีน” ก็ไม่กลัวไอศกรีมจากจีน เพราะจับกลุ่มลูกค้าระดับบน เน้นขายไอศกรีมที่มีคุณภาพ เน้นพัฒนาเมนูท้องถิ่นที่ไอศกรีมจีนไม่มี เช่น ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟน้ำเต้า เป็นต้น
ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ในอนาคตตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและเครื่องดื่มในไทย จะกลายเป็นตลาดที่แข่งขันกันแบบ “สงครามราคา” หรือเรียกว่า Red Ocean หรือไม่ เหมือนกับตลาดขนส่งพัสดุในช่วงที่ผ่านมา กรณี Flash Express กับ Kerry Express สู้รบด้วยราคากันดุเดือด ยอมแม้กระทั่งตัวเองขาดทุน สุดท้ายเจ็บตัวทั้งสองฝ่าย
สมรภูมิตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทย ถ้าดูกันไปยาวๆ จะเห็นว่าแบรนด์ที่น่าเป็นห่วงและมีความท้าทายมากมายรออยู่ข้างหน้า น่าจะเป็นแบรนด์ไอศกรีมจากจีน นอกจากแข่งกับแบรนด์จีนด้วยกัน ยังแข่งกับแบรนด์ในไทยที่ทำได้ไม่ต่าง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)