จากเด็กเฝ้าร้านรองเท้า! กลายเป็นเศรษฐี 1,000 ล้าน
ถ้ามีใครสักคนบอกว่าจะรวยด้วย “รองเท้าแตะ” คนส่วนใหญ่ต้องคิดว่านี่มันเรื่องตลก ทำให้เป็นจริงไม่ได้ แต่ในความเป็นจริง “ทำได้” เพราะข้อมูลที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้คือไทยเป็นผู้ส่งออกรองเท้าแตะอันดับที่ 8 ของโลก มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 87 ล้านเหรียญสหรัฐ
แม้ในภาวะที่ต้องเจอวิกฤติโควิดแพร่ระบาดมูลค่าการตลาดอาจลงบ้างแต่ก็น้อยมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ และหนึ่งในแบรนด์ชื่อดังที่เรารู้จักกันดี คือ “แกมโบล” ที่ปัจจุบันคือ 1 ใน 3 ผู้นำที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงมาก แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้
www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่าย และยิ่งถ้ารู้ว่าเจ้าของกิจการนี้เริ่มต้นชีวิตแบบยากจนไม่ได้มีต้นทุนชีวิตที่ดีนัก ก่อนที่จะมาเป็นนักธุรกิจรวยระดับพันล้าน ครั้งหนึ่งยังเคยเป็นแค่เด็กเฝ้าร้านรองเท้าในสำเพ็งด้วย
จน! เรียนจบแค่ป.4! แต่ใจสู้! สู่ธุรกิจ 1,000 ล้าน
ภาพจาก https://bit.ly/3tJOkFo
ผู้ก่อตั้ง “แกมโบล” คือคุณสมพงษ์ กิจกำจาย เริ่มต้นชีวิตจากครอบครัวยากจน ด้วยความที่มีพี่น้องหลายคนขนาดซื้อข้าวมายังต้องแบ่งกันกิน สุดท้ายตัดสินใจเรียนแค่ ป.4 แล้วออกมาทำงาน เริ่มจากเป็นลูกจ้างร้านขายรองเท้าย่านสำเพ็ง
ในตอนนั้น รองเท้าที่ขายราคาเพียงคู่ละ 3 บาท จากเด็กเฝ้าร้านก็เริ่มต่อยอดการค้าขายด้วยการซื้อรองเท้าแล้วนำไปขายต่อ มีทั้งขายส่งและขายปลีก ในลักษณะ “รับมา-ขายไป” จนกระทั่งรู้สึกว่าการแข่งขันเริ่มสูงขึ้น ขายได้กำไรน้อยลง จึงคุยกันในครอบครัวว่าน่าจะหันมาทำแบรนด์รองเท้าเอง ประกอบกับความชำนาญในการทำธุรกิจรองเท้าที่สั่งสมมา จึงมองหาลู่ทางในการสร้างโรงงานผลิตรองเท้าขึ้นมาเป็นของตนเองในปีพ.ศ. 2532
เริ่มแรกใช้เงินทุนที่เก็บมาสร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักร 2 – 3 ตัว พร้อมที่ดินเล็กๆและเริ่มปั้นแบรนด์รองเท้าของตัวเองผลิตขาย ชื่อ “กิเลน” ในปี พ.ศ. 2512 ช้กลยุทธ์ทำน้อยๆ ซื้อวัตถุดิบด้วยเงินสด ไม่ทำอะไรเกินตัวพอผ่านไปได้ 5 ปี ก็เริ่มหาลู่ทางขยายกิจการ ลงทุนโรงงานเพิ่มจึงกู้เงินธนาคารมาลงทุน สั่งนำเข้าเครื่องจักรขนาดใหญ่จากอิตาลี เกาหลีเพิ่มขยายโรงงานจากพื้นที่ไม่ถึง 1 ไร่ ก็ขยายไปถึง 12 ไร่สั่งวัตถุดิบมาเก็บไว้จำนวนมาก แต่ด้วยความที่เก่งด้านการขาย แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านการผลิตทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าตามออเดอร์ลูกค้าได้ทัน
ภาพจาก bit.ly/3sUqDel
เมื่อรายได้ไม่เข้าเป้า ในขณะที่ขยายโรงงานที่ใหญ่เกินตัว มาพร้อมกับหนี้สินจำนวนมากเงินทุนเริ่มน้อยลง จนกิจการเกือบล้มละลาย สุดท้ายในกลุ่มพี่น้องต้องมาปรึกษาหาทางออกมีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่และเริ่มโฟกัสกับสิ่งที่ถนัดที่สุด ซึ่งก็คือการผลิตรองเท้าแตะ เมื่อธุรกิจฟื้นตัว ก็ได้เปลี่ยนชื่อแบรนด์ กิเลน มาเป็น กีโต้ ในปี พ.ศ. 2535 ส่วนแบรนด์ “แกมโบล” ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยคุณสุรชัย กิจกำจาย หนึ่งในพี่น้องตระกูลกิจกำจาย
ได้แยกตัวออกมาสร้างแบรนด์รองเท้าของตัวเอง คำว่า “แกมโบล” หมายถึง กระโดดโลดเต้น และการแยกแบรนด์ แกมโบล ออกมาอีกแบรนด์ ก็เพื่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ การตลาด และนวัตกรรม ถึงปัจจุบันนี้ “แกมโบล” และ “กีโต้” ประสบความสำเร็จสูงมาก รายได้รวมกันมากกว่าพันล้านบาท
1,500 ล้านบาทเป็นเป้าหมายรายได้ของ “แกมโบล” ในปี 2565
ภาพจาก https://bit.ly/3pQlG4h
ปัจจุบันแกมโบลโดยบริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัดมีกำลังการผลิตมากกว่า 60,000 คู่ต่อวัน ในปี 2562 มีสินทรัพย์รวม 1,050.30 ล้านบาท รายได้รวม 1,267.85 ล้านบาท และ กำไรสุทธิ 56.44 ล้านบาท และในปี 2564 ในปีที่ผ่านมาผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ โดยบริษัทมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตสวนกระแสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ภาพจาก bit.ly/3sUh7be
ซึ่งเป็นการเติบโตทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศโดยในปี 2565 นี้ตั้งเป้าที่จะขยายการส่งออกให้เพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ขณะเดียวกันในอนาคตบริษัทมีแผนที่จะไปตั้งโรงงานที่กัมพูชาและตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ประมาณ 1,500 ล้านบาท โดยการส่งออกคิดเป็น 30% ของรายได้ซึ่ง 80% ของการส่งออกทั้งหมดจะเป็นแถบอาเซียน ส่วนที่เหลือคือตะวันออกกลาง
เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของ “แกมโบล”
1.ใจสู้ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
ภาพจาก bit.ly/3sUh7be
ความจนไม่ใช่ปัญหาของการเริ่มธุรกิจในวัยเด็กคุณสมพงษ์เริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 15 พี่น้องทุกคช่วยกันทำงาน ช่วงแรกไม่มีเงินทุน อาศัยความขยันเริ่มจากรรับจ้างเฝ้าร้านต่อมาขยับมาขายปลีก-ส่งด้วยการใช้จักรยานขายตามตลาดนัดและส่งร้านค้าเพื่อสะสมเงินทุนเริ่มต้นธุรกิจ
2.ประสบการณ์คือสิ่งสำคัญ
ภาพจาก bit.ly/3sUh7be
การคร่ำหวอดอยู่ในวงการมานาน ทำให้มองเห็นลู่ทางและความต้องการของลูกค้า รวมถึงการฝึกฝนด้านการขายจนชำนาญก็เป็นประโยชน์อย่างมากในการเริ่มสร้างธุรกิจ
3.มีโอกาสต้องกล้าเสี่ยง
ภาพจาก www.facebook.com/GambolThailand
เมื่อมีเงินทุนระดับหนึ่งกล้าเสี่ยงที่จะสร้างธุรกิจตัวเองแม้จะไม่มีประสบการณ์ในการผลิต แต่เก่งงานขาย เคยแม้จะเสี่ยงล้มละลาย มีหนี้สินรวมกว่า 200 ล้านบาท แต่ด้วยการบริหารจัดการและการปรับโครงสร้างที่ดีทำให้ล้างหนี้ได้ภายใน 2 ปี
4.ทำในสิ่งที่ถนัดคือธุรกิจที่ดีที่สุด
ภาพจาก www.facebook.com/GambolThailand
คนที่อยากมีธุรกิจของตัวเองต้องหาสิ่งที่ตัวเองถนัดและลงมือทำจริงจัง เหมือนอย่างที่คุณสมพงษ์พบว่าตัวเองถนัดเรื่องการผลิตรองเท้าแตะและมีความรู้เรื่องนี้ จึงได้โฟกัสสินค้าตัวเดียวเป็นพิเศษ ไม่ต้องลงทุนในสินค้าอื่น ซึ่งทำได้ดีและมียอดขายมากขึ้น
5.สร้างแบรนด์ให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า
ภาพจาก www.facebook.com/GambolThailand
กลยุทธ์การตลาดที่แกมโบลใช้จะเน้นเรื่อง Emotional มากกว่า Functional เพราะผู้บริโภคในยุคนี้ เวลาซื้ออะไร จะซื้อด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผลคำนึงถึง ภาพลักษณ์, แบรนด์, ดีไซน์, พรีเซ็นเตอร์ ฯลฯ มากกว่าความคุ้มค่า หรือความทนทานจึงเป็นโจทย์สำคัญที่แกมโบลใช้สร้างแบรนด์ให้ดูทันสมัยในสายตาลูกค้า โดยเฉพาะวัยรุ่นสมัยใหม่
ภาพจาก www.facebook.com/GambolThailand
นับถึงตอนนี้แกมโบลได้กลายเป็นสินค้าที่อยู่ในความทรงจำของคนไทยทั่วประเทศ อันเป็นผลมาจากการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าจดจำ จากที่เคยมียอดขายไม่กี่ล้านบาทต่อเดือน ขยับมาเป็นหลายสิบล้านและหลักร้อยล้าน มีอัตราการเติบโตเป็นพันเปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เห็นการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นแบรนด์ไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในวงการธุรกิจรองเท้าระดับเอเชีย
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3AKFOJy , https://bit.ly/34cymLt , https://bit.ly/3Mm6khS , https://bit.ly/3sHoItq , https://bit.ly/3vB5d7M
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HYcn8W
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)