จากเด็กวัด Go Inter สร้างเงิน 10 ล้านใน 1 เดือน!

พลังของโซเชี่ยลถ้าใช้ให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้หากินให้ถูกทาง สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นเศรษฐีได้ไม่ยาก ทุกวันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนอยากที่จะเป็น “เน็ต ไอดอล” 

เพราะดูจากตัวอย่างความสำเร็จของใครหลายคนที่ยิ่งมียอดไลค์ ยอดวิว ยอดแชร์ เยอะเท่าไหร่ ก็ใกล้เคียงกับคำว่า รายได้ที่จะตามเข้ามามากขึ้นเท่านั้น แต่ใช่ว่าการยึดอาชีพนี้จะทำได้ง่าย ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้

ตัวอย่างของคนที่สำเร็จคือกรอบปฏิบัติที่ให้เราศึกษาว่าเขาผ่านอะไรมาบ้าง เขามีแนวคิดและวิธีการอย่างไร หากตั้งใจจริง ลงมือทำจริง ไม่สำคัญว่าเราจะมาจากจุดไหน แม้แต่ จากเด็กวัด เราก็สามารถมีเงินล้านได้จากโลกออนไลน์นี้

รายได้เริ่มจาก 500 บาท สู่เงินล้าน

จากเด็กวัด

ภาพจาก https://bit.ly/3seQGeU

ฟลุ๊ค กะล่อน หรือ ชื่อจริง ธรรณพ แสงโอสถ ไม่ใช่คนที่เกิดมาแล้วรวยทันที อาชีพของพ่อเป็นทหารเงินเดือนก็ทั่วๆไป ชีวิตส่วนใหญ่จึงโตมาในค่ายทหาร ตอนอยู่ ม.3 เริ่มทำคลิปวีดีโอเล่นกับเพื่อน ตอนนั้นมีคนดูหลักหมื่น ความที่ฐานะทางบ้านไม่ใช่จะดีนัก งานอะไรที่ทำได้ฟลุ๊คก็บอกว่าทำหมดทุกอย่าง

ขอให้ได้เงินแบบไม่ทำให้ใครเดือดร้อน แม้แต่ไปรับจ้างนอนเฝ้าศพ ได้เงิน 400-600 บาท ก็เคยทำมาแล้ว ชีวิตของเด็กที่เติบโตจากวัดการทำงานหนักไม่ใช่เรื่องแปลก มีอาชีพที่เคยผ่านมือมานับไม่ถ้วนทั้ง เด็กเสิร์ฟ, ยกกล่อง, ยกกระเช้าส่งตามห้าง เป็นต้น

รายได้เริ่มแรกจากโลกออนไลน์คือการรีวิวสินค้าได้มา 500 บาท จุดเปลี่ยนเริ่มที่ตอน ม.4 ทำคลิป Cover เพลงลูกทุ่ง ปรากฏว่ามีคนแชร์คลิปนั้นไปกว่า 70,000 แชร์ และมีคนเข้ามาติดตาม 40,000 -50,000 คนในวันเดียว จากนั้นได้ตัดสินใจทำคลิปลงใน Youtube ซึ่งแม้จะเหมือนมาเริ่มจากศูนย์ใหม่เพราะฐานคนติดตามเราอยู่ใน Facebook แต่คอนเทนต์ที่ทำคือเน้นความเป็นธรรมชาติ เน้นความเป็นตัวเอง

บอกเล่าในสิ่งที่เราเป็น ทำให้เกิดกระแสที่คนพูดถึงและยอดการติดตามก็เพิ่มขึ้นมาก จากนั้นก็เริ่มมีงานรีวิวสินค้า งานโชว์ตัว จนสามารถสร้างรายได้ของเราแตะหลักสิบล้านใช้เวลาไม่นาน ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จได้เกินกว่าที่คาดคิดมาก

คีย์เวิร์ดสำคัญสำหรับคนที่อยากเป็น “เน็ต ไอดอล”

6

ภาพจาก https://bit.ly/3seQGeU

ฟลุ๊ค กะล่อน อาจเป็นตัวอย่างของคนสู้ชีวิตที่ประสบความสำเร็จแต่กว่าที่เขาจะก้าวมาถึงจุดนี้ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆ สิ่งที่ต้องเจอคือคำด่า คำดูถูก คำเหยียดหยาม ดังนั้นใครก็ตามที่อยากเป็นเน็ต ไอดอล ควรมีสิ่งเหล่านี้

1.จุดยืนของตัวเอง

5

ภาพจาก https://bit.ly/3seQGeU

คือการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ทำคอนเทนต์ในสิ่งที่เราเป็น ในสิ่งที่เราต้องการ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่เรื่องที่คนส่วนใหญ่สนใจ แต่หากเราชอบเราจะสามารถถ่ายทอดตัวตนของเราออกมาได้ดี

2.ตั้งใจทำอย่างจริงจัง

4

ภาพจาก https://bit.ly/3seQGeU

หลายคนที่ทำแล้วไม่สำเร็จเพราะใจร้อน และมุ่งหวังเรื่องรายได้มากเกินไป ต้องยอมรับว่ากว่าจะมีฐานคนติดตามหรือคนสนใจ หรือกลายมาเป็นแฟนคลับ ต้องใช้เวลามาก กว่าคนจะรู้จะเข้าใจและยอมติดตามในความเป็นตัวตนของเรา

3.ยอมรับทุกคำตำหนิมาปรับปรุง

3

ภาพจาก https://bit.ly/3seQGeU

พลังของโซเชี่ยลนั้นแรงมาก ถ้าชมก็คือดังไว แต่ถ้าเขาด่า คนก็จะด่าเรามากขึ้นเช่นกัน คนที่ทำคอนเทนต์ในโซเชี่ยลต้องยอมรับได้ทั้งคำชมและคำตำหนิ ไม่ควรโต้ตอบแต่ให้เอาคำตำหนิมาปรับปรุงตัวเองและทำหน้าที่ของตัวเองต่อไป

4.อย่าหลงระเริงกับรายได้

2

ภาพจาก https://bit.ly/3seQGeU

บางคนพอเริ่มมีงานมีเงินจากโซเชี่ยล เริ่มมีรายได้มากขึ้น วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปเริ่มกลายเป็นคนติดหรู ฟู่ฟ่า ใช้จ่ายเงินแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง ควรจะนึกไว้เสมอว่าเงินที่ได้เหล่านี้นั้นไม่แน่นอนถ้าได้มาเท่าไหร่ก็ใช้ไปหมดไม่มีการวางแผนอนาคตจะมีปัญหาตามมาได้

5.ต่อยอดการหารายได้ที่มั่นคงมากขึ้น

1

ภาพจาก https://bit.ly/3seQGeU

การเป็นเน็ตไอดอลทุกวันนี้มีคนใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น การรักษาฐานคนติดตาม คนที่สนใจไว้ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือการต่อยอดในการสร้างรายได้ที่มั่นคง เผื่อในวันข้างหน้าที่เราอาจไม่ได้กลายเป็นเน็ตไอดอลแล้ว

สิ่งที่ต้องยอมรับว่าสมัยนี้วิธีการหาเงินอาจจะไม่ยากเท่าสมัยก่อน แต่สำคัญคือวิธีการหาเงินที่ควรมีการวางแผน มีหลักการ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มรายได้ถือเป็นสิ่งที่ดีแต่เราก็ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามควรตั้งใจ ใส่ใจ และทุกงานที่เราทำควรมีคุณภาพ เพราะปัจจุบันทุกวงการมีการแข่งขันสูงมาก ถ้าเราไม่ปรับตัวตามกระแสสังคมยุคใหม่ ก็อาจถูกคลื่นลูกหลังกลืนหายไปได้ในสักวัน

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3tUIOl8 , https://bit.ly/3oeskkm

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3uDkep4

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด