จับตา! ตลาดกาแฟนอกบ้าน ปี 66 แข่งเดือด! ยักษ์ใหญ่เปิดศึกชิงตำแหน่งตลาด

ปัจจุบันตลาดกาแฟในประเทศไทยมีมูลค่ารวม 60,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟนอกบ้าน หรือร้านคาเฟ่ทั่วๆ ไปมูลค่า 27,000 ล้านบาท และ กาแฟในบ้าน มูลค่ารวม 33,000 ล้านบาท อาทิ กาแฟปรุงสำเร็จ กาแฟกระป๋อง กาแฟแคปซูล

ถือเป็นตลาดที่เติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงโควิดจากการทำงานที่บ้าน แต่เชื่อหรือไม่ว่าในปี 2566 ตลาดกาแฟนอกบ้านจะกลับมาเติบโตและได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากแบรนด์กาแฟชั้นนำเปิดเกมรุกชิงตำแหน่งและส่วนแบ่งตลาด

ความน่าสนใจของตลาดกาแฟนอกบ้านในประเทศไทยปี 2565 จะเป็นอย่างไร แบรนด์ไหนน่าจะมาแรง แบรนด์ไหนน่าจะเป็นผู้นำ ตลาดกาแฟนอกบ้าน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

กาแฟพันธุ์ไทย ชูแคมเปญ “เวลาเป็นไท” เบียดขึ้นเบอร์ 2

ตลาดกาแฟนอกบ้าน

นับว่าเป็นแบรนด์กาแฟที่กล้าลุกขึ้นมาสวนกระแสตลาดร้านกาแฟสดเมืองไทย เพราะหลายๆ แบรนด์ในตลาดร้านกาแฟสดต่างทยอยปรับขึ้นราคาเครื่องดื่มประมาณ 3-10 บาทเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2565 เหตุแบกรับต้นทุนไม่ไหว แต่ “กาแฟพันธุ์ไทย” ให้เหตุผลที่ชวนให้ติดตามต่อไปว่า “พันธุ์ไทยสนับสนุนให้ทุกคนได้มี “เวลาเป็นไท” บริษัทฯ จึงยังยืนหยัดไม่ขึ้นราคา เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงความอร่อยสดชื่นได้เหมือนเดิม ถือเป็นการส่งสัญญาณให้คู่แข่งได้รับรู้ว่าพร้อมแล้ว!!

ล่าสุดทำแคมเปญโปรโมชั่นและรุกขยายสาขาแฟรนไชส์อย่างจริงจัง หลังจากจากที่เกือบ 10 ปีที่เปิดตัวมา กาแฟพันธุ์ไทยไม่ค่อยได้ทำการสื่อสารและทำการตลาดมากนัก โดยปัจจุบันร้านกาแฟพันธุ์ไทยมีจำนวนมากกว่า 500 สาขาทั่วประเทศ มีสัดส่วนในสถานีบริการน้ำมัน 70% และนอกสถานีบริการน้ำมัน 30% ตั้งเป้าภายในปี 2566 ขยายสาขาครบ 1,500 สาขาทั่วประเทศ และปีต่อๆ ไปจะขยายสาขาเพิ่มอีกปีละ 1,000 สาขา

ตลาดกาแฟนอกบ้าน

การตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มมาจากการเปิดรับผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์รายใหม่ๆ ด้วยรูปแบบการลงทุนที่ง่าย คุ้มค่าแก่การลงทุน แม้ไม่มีประสบการณ์ก็เปิดร้านได้ โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบริหารจัดการร้าน, วัตถุดิบต่างๆ รวมถึงการควบคุมคุณภาพและรสชาติของเครื่องดื่มและอาหารภายในร้าน

อีกทั้งกาแฟพันธุ์ไทยได้รุกการตลาดสร้างแบรนด์อย่างจริงจัง ด้วยการ “บุ๋ม-บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์” อดีตนักการตลาดมือทองแห่ง บาร์บีคิว พลาซ่า มาเป็นที่ปรึกษาด้านแบรนด์ดิ้งให้กับกาแฟพันธุ์ไทย ควบคู่กับการ ขยายสาขานอกปั๊ม

โดยในครึ่งปีหลัง 2565 จะเริ่ม refresh แบรนด์ใหม่ โดยมีแนวคิดที่จะทำให้แบรนด์กาแฟพันธุ์ไทย เป็นแบรนด์กาแฟของ คนไทยพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ ได้ทุ่มงบกว่า 20 ล้านบาท ส่งแคมเปญเวลาเป็นไท ที่จะสื่อสารถึงกลุ่ม คนทำงาน พร้อมกับลบภาพการ กินกาแฟเพื่อทำงาน แต่สามารถกินเพื่อพักผ่อนก็ได้ ซึ่งนั่นก็จะทำให้กาแฟพันธุ์ไทยเบียดแซงแฟรนไชส์กาแฟอินทนิลของบางจากขึ้นมาเป็นแบรนด์อันดับ 2 ในกลุ่มธุรกิจตลาดร้านกาแฟนอกบ้านได้นั่นเอง

“คาเฟ่ อเมซอน” ตั้งเป้าขยายสู่ 1,000 สาขา ก้าวสู่แชมป์อาเซียน

ตลาดกาแฟนอกบ้าน

แฟรนไชส์ร้านกาแฟสดอันดับ 1 ของเมืองไทยยังคงเป็น “คาเฟ่ อเมซอน” จากค่าย OR โดยตั้งป้าขขยายสาขาต่างประเทศ สู่ 1,000 สาขาแชมป์อาเซียน โดยปัจจุบันขึ้นแท่นเบอร์ 6 ร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดในโลก และเป็นเบอร์ 1 ในอาเซียน

แฟรนไชส์กาแฟคาเฟ่ อเมซอน อยู่ภายใต้การดำเนินงานบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ถือเป็นแฟรนไชส์ที่มีผู้สนใจลงทุนมากที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวนสาขารวม 4,035 สาขา ใน 10 ประเทศ เฉพาะในต่างประเทศรวม 250 สาขา ตั้งเป้าขยาย 1,000 สาขา ใน 100 ประเทศภายในปี 2030 (2573) ล่าสุดเปิดเพิ่มอีก 1 สาขา ซึ่งถือเป็นร้านคาเฟ่ อเมซอนสาขาแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย

78

ในประเทศไทยคาเฟ่ อเมซอนเปิดร้านสาขาแรกในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. เมื่อช่วงปี 2545 เริ่มแรกขายได้เพียง 40 แก้วต่อวัน จนกระทั่งวันนี้ขายได้ถึง 1,000 แก้ว/วัน/สาขาในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันในกัมพูชามี คาเฟ่ อเมซอนกว่า 200 แห่ง ในเมียนมามี 9 สาขา ส่วนในลาวมี 81 สาขา และ ฟิลิปปินส์ 18 สาขา

ปัจจัยที่ทำให้คาเฟ่ อเมซอน ขยายสาขาได้รวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากยอดขายเฉลี่ยต่อร้านอยู่ที่ 250 แก้ว/วัน จึงทำให้ผู้ลงทุนแฟรนไชส์มองว่าคุ้มว่า โดยแต่ละเดือนมีผู้สนใจสมัครขอซื้อแฟรนไชส์กว่า 500 ราย

“อินทนิล” ตั้งเป้าขยาย 1,200 สาขาใน 5 ปี

1

อินทนิล” ก่อตั้งและดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชสตั้งแต่ปี 2549 เป็นแฟรนไชส์กาแฟสัญชาติไทยที่ประสบความสำเร็จทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมันบางจาก ตั้งเป้าหมายจะขยายสาขาร้านกาแฟอินทนิลเพิ่มเป็น 1,200 สาขาภายใน 5 ปี (2564-2568) ปัจจุบันมีมากกว่า 886 สาขาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องเปิดเพิ่มอีกเกือบ 500 สาขาภายในปี 2568

ตามแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2565 บางจากต้องการเปิดร้าน “อินทนิล” ให้ครบ 1,000 สาขา จากครึ่งปีแรกมี 886 สาขา จุดเด่นหนึ่งที่ทำให้ “อินทนิล” โดดเด่นในธุรกิจกาแฟ ไม่ใช่แค่ “กาแฟ” แต่มี “โกโก้” เป็นพระรองที่สาวกยกนิ้วให้ด้วย

ทั้งนี้ เมื่อช่วงต้นปี 2561 บางจากฯ ได้ลงนามสัญญา การมอบสิทธิมาสเตอร์แฟรนไชส์ (Master Franchise) ร้านกาแฟอินทนิลในประเทศกัมพูชาและลาว ระหว่าง บริษัท บางจาก รีเทล จำกัด และบริษัท อาร์ซีจี รีเทล (กัมพูชา) จำกัด โดยก่อนหน้านี้ บางจากฯ ตั้งเป้าหมายมีแผนขยายร้านกาแฟอินทนิลในทั้ง 2 ประเทศกว่า 100 สาขา

“สตาร์บัคส์” ขยายเพิ่ม 30 สาขาในปี 2565

7

ขณะที่ “เบอร์ 1” แห่งเจ้ากาแฟของโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” ภายใต้ชายคาของกลุ่มไทยเบฟฯ กิจการเครื่องดื่มครบวงจรของอาเซียนที่รายได้ระดับ 4 แสนล้านบาท ของ “เจ้าสัวเจริญ” แกร่งเกินด้าน เพราะหากเทียบจำนวนร้านที่มีทั่วประเทศกว่า 440 สาขา แต่การทำรายได้นั้นอยู่ในระดับ “สูง” เพราะกาแฟ 1 แก้ว ขายหลัก “เกินร้อย” แพงกว่าข้าวแกงต่อมื้อด้วยซ้ำ

ในปี 2565 เป็นปีที่ร้านกาแฟ “สตาร์บัคส์” เข้ามาเปิดดำเนินการในไทยครบ 24 ปี เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัล ชิดลม และสามารถสร้างฐานลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่น แต่ภายใต้สถานการณ์ที่ร้านกาแฟทั้งแบรนด์ใหญ่และร้านเล็กผุดขึ้นเต็มเมือง รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในทุกมิติของสังคม

8

สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ได้สร้างฐานลูกค้าที่เหนียวแน่นและมีความลอยัลตี้สูง ผ่านกลยุทธ์หลักของสตาร์บัคส์ คือ การขาย “ประสบการณ์ผ่านแก้วกาแฟ” อันเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งและเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้อย่างชัดเจน

สตาร์บัคส์ยังคงตั้งเป้าขยายสาขาอีก 30 สาขาในปี 2565 ตามแผนเดิมก่อนช่วงโควิด โดยเปิดไปแล้ว 15 สาขา และครึ่งปีหลังจะเปิดเพิ่มอีก 15 สาขา แต่อาจมีการปรับรูปแบบโดยเน้นเปิดแบบ drive-thru และสาขาในคอมมูนิตี้มอลล์เป็นหลัก

“True Coffee” ปรับโมเดล เร่งขยายสาขาเพิ่มเท่าตัวปี 2566

10

ภาพจาก facebook.com/TrueCoffeeTH/

ความน่าสนใจของ ทรูคอฟฟี่ คือ การรีแบรนด์ปรับโฉมร้านใหม่ เปลี่ยนสไตล์ และโทนสีจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นำร่องสาขาแรกที่ทรูคอฟฟี่ แฟลกชิพสโตร์ เซ็นเตอร์พอยท์ สยามสแควร์ โทนสีได้ปรับจาก Identity ร้านเดิมที่เป็นโทนแดง-ดำ เป็นสีเทา-เงิน-น้ำตาล Mood & Tone ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ มินิมัลเล็กๆ และสื่อถึงเทคโนโลยีหน่อยๆ พร้อมปรับโลโก้ใหม่ที่ดูมินิมัลขึ้น ยูนิฟอร์มของพนักงานก็เป็นโทนสีขาว-น้ำตาล มีความทันสมัยขึ้น

ปัจจุบัน ทรู คอฟฟี่ มี 130 สาขา ส่วนใหญ่เปิดบริการในทรูช็อป เดินหน้าขยายสาขาเพิ่ม 100 สาขา เป็น 200 สาขาในปี 2566 ใช้งบลงทุน 200 ล้านบาท ลงทุนสาขาละ 2 ล้านบาท ทั้งขยายเองและแฟรนไชส์ ส่วนทรูคอฟฟี่โกมี 70 สาขาเปิดในไฮเปอร์มาร์เก็ต จะเพิ่มเป็น 200 สาขา งบลงทุนเฉลี่ยสาขาไม่ถึง 1 ล้านบาท

นอกจากทรูคอฟฟี่ และ ทรู คอฟฟี่ โก ยังมีจังเกิล คาเฟ่ ที่ให้บริการในโลตัส และที่ขาดไม่ได้ คือ “ออล คาเฟ่” ที่บริการในร้านสะดวกซื้อ 7-11 กว่า 6,000-7,000 สาขา จากร้านสะดวกซื้อกว่า 13,400 สาขาทั่วประเทศ

ทั้งนี้ คาดว่าตลาดกาแฟนอกบ้านปี 2565 จะมีมูลค่า 28,000 ล้านบาท เติบโตราว 10% ต่อปี โดยผู้เล่น 4 อันดับแรกในปัจจุบันที่มีสาขามากสุด คือ คาเฟ่ อเมซอน, อินทนิล, ร้านกาแฟพันธุ์ไทย และสตาร์บัคส์ (รายได้มากสุด)


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล https://bit.ly/3CrCPa5  , https://bit.ly/3TcNvQH , https://bit.ly/3TgFXMY

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3DfLdLn

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช