จริงหรือ? แฟรนไชส์ลงทุนเยอะ โอกาสรวยกว่า แฟรนไชส์ลงทุนน้อย
เชื่อว่าหลายคนคิดอยากจะเปิดร้านขายของกิน ของใช้ ในรูปแบบการซื้อแฟรนไชส์มา แต่ยังสงสัยอยู่ว่าจะมีโอกาสรวยได้มั๊ย เพราะเป็นธุรกิจที่ไปซื้อเขามา และถ้าซื้อแฟรนไชส์มาจริงๆ จะเลือกแบบไหนถึงมีโอกาสรวยมากกว่ากัน ระหว่าง แฟรนไชส์ลงทุนเยอะ กับ แฟรนไชส์ลงทุนน้อย มาวิเคราะห์พร้อมๆ กัน
แฟรนไชส์ลงทุนสูง
แฟรนไชส์ลงทุนสูงเป็นรูปแบบของการขาย “ระบบ” เป็น Business Format Franchise ขายความสำเร็จ หรือ Know-how ของธุรกิจ มีระบบสนับสนุนต่างๆ ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ พร้อมจัดทำคู่มือปฏิบัติงานให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำตามอย่างเคร่งครัด แฟรนไชส์ลงทุนสูงสวนใหญ่จะใช้เงินลงทุนหลักล้านบาทขึ้นไป ระยะเวลาคืนทุนส่วนใหญ่ 2-5 ปี แล้วแต่ยอดขายและรายได้
ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ลงทุนสูงที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงในไทย ได้แก่ เชสเตอร์ , คาเฟ่ อเมซอน, อินทนิล, กาแฟพันธุ์ไทย, 7-Eleven, Tops daily ฯลฯ โดยแฟรนไชส์เหล่านี้จะใช้เงินลงทุนออกแบบก่อสร้างร้านและวางระบบหลักล้านบาทขึ้น ไม่รวมค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)
มาดูค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์ รวมถึงรายได้และกำไรของแฟรนไชส์ลงทุนสูง จะขอยกตัวอย่างแฟรนไชส์ 7-Eleven ซึ่งมีรูปแบบการลงทุน 2 โมเดล คือ
รูปแบบที่ 1
- เงินลงทุน 4.8 แสนบาท
- เงินประกัน 1 ล้านบาท
- รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven ประมาณ 1.48 ล้านบาท อายุสัญญา 6 ปี
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน มีเงินเดือน 29,000 บาท ต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ตามงบ ย้ำว่าค่าใช้จ่ายนะครับไม่ใช่ยอดขาย ค่าใช้จ่ายก็มี ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หลัก
ถ้าบริหารแล้วได้ตามเป้างบค่าใช้จ่าย จะมีปันผลแบ่งยอดกำไรจากการขายให้ 20-30% ในส่วนที่มียอดขายเกินเป้า
รูปแบบที่ 2
- เงินลงทุน 1.73 ล้านบาท
- เงินประกัน 9 แสนบาท
- รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven 2.63 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)
รายได้ของ 7-Eleven แต่ละสาขาเป็นเท่าไหร่
- 7-Eleven มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 916 คน
- ยอดซื้อต่อบิล 84 บาท
- ยอดขายเฉลี่ย 76,582 บาทต่อสาขาต่อวัน
- หากคิดเป็นรายเดือนจะอยู่ที่ 2,297,460 บาท
- กำไรของธุรกิจค้าปลีกประมาณการคร่าวๆ อยู่ที่ 15%
เมื่อนำยอดขายมาหัก 15% ออกก็จะเหลือรายได้ 344,619 บาท/เดือน/สาขา (ยังไม่หักค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ)
ค่าใช้จ่ายในร้านมีอะไรบ้าง
- ค่าจ้างพนักงาน 6 คน 72,000 บาท/เดือน
- ค่าน้ำ+ค่าไฟ 50,000 บาท/เดือน
- สินค้าหมดอายุ+อุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด 20,000 บาท/เดือน
- รวมค่าใช้จ่ายในร้านเฉลี่ย 142,000 บาท/เดือน
- มาดูรายได้กัน 344,619 – 142,000 = 202,619 บาท
- นำมาหักส่วนแบ่งที่เราจะมีรายได้ 54% = 109,414 บาท/เดือน
- แต่อย่าลืมหักค่าแรงตัวเองด้วย ถ้าคิดค่าแรง 50,000 ก็จะเหลือกำไร 109,414 – 50,000 = 59,414 บาท/เดือน
ในส่วนของ ค่าเช่าตึก + ค่าเช่าที่ดิน ซึ่งบางสาขาเราจะเห็นเป็นลานจอดรถกว้างมาก ทางซีพีออลล์จะเป็นผู้รับชอบค่าใช้จ่ายในส่วนตรงนี้ทั้งหมด รวมถึงรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ขายของ ค่าติดตั้งตู้ ATM และอื่นๆ ก็จะเป็นของซีพีออลล์
แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ
แฟรนไชส์ลงทุนน้อยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ Product Franchise หรือคนไทยรู้จักกันดีในนาม “แฟรนไชส์สร้างอาชีพ” จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์+งบลงทุนครั้งเดียวจบ ได้รับอุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมเปิดร้านขายได้ทันที แต่ระหว่างการดำเนินธุรกิจจะต้องซื้อวัตถุดิบบางส่วนจากเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อคุณภาพมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา
ตัวอย่างแฟรนไชส์ลงทุนน้อย ได้แก่ ร้านชานมไข่มุกต่างๆ ที่เป็นเคาน์เตอร์, ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิด , ไก่ย่างห้าดาว , ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ฯลฯ โดยแฟรนไชส์เหล่านี้จะใช้เงินลงทุนตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนต้นๆ ระยะเวลาคืนทุนจะเร็วกว่าแฟรนไชส์ลงทุนสูง แต่เรื่องการซัพพอร์ตจากแฟรนไชส์ซอร์จะดีไม่เท่าแฟรนไชส์ลงทุนสูง
ยกตัวอย่าง การลงทุนแฟรนไส์ “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” โมเดล ร้านไฮคลาส โมเดิร์น
- อุปกรณ์ขายครบชุด 72 รายการ 99,165 บาท
- อุปกรณ์การขายพื้นฐาน 23 รายการ 71,272 บาท
ซื้อแฟรนไชส์ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว 1 สาขา จะคืนทุนได้เมื่อไหร่?
สมมติลงทุนโมเดล “ร้านไฮคลาส โมเดิร์น” อุปกรณ์ขายครบชุด 72 รายการ 99,165 บาท กรณีเปิดร้านขายเอง มีลูกจ้าง 2 คน
ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อวัน
- ค่าวัตถุดิบในแต่ละวัน เช่น ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง เครื่องปรุง เครื่องหมักหมูแดง ประมาณ 500 บาท
- ค่าบะหมี่ไข่ 8 กิโลประมาณ 600 บาท
- ค่าเนื้อหมู ประมาณ 800 บาท (โลละ 200 บาท)
- ค่ากระดูกหมู แผ่นเกี๊ยว ประมาณ 100 บาท
- อื่นๆ ประมาณ 100 บาท
- รวมต้นทุนคร่าวๆ 2,100 บาท + ค่าจ้างลูกน้อง 2 คน (300 บาท/คน) = 2,700 บาท
สมมติถ้าวันหนึ่งขายหมดจะมีรายได้ราวๆ 4,500-5,000 บาท แต่ต้องขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง ถ้าคำนวณเอารายได้ 4,500 บาท – ต้นทุน 2,700 บาท = 1,800 บาท
นั่นก็เท่ากับว่า เราจะมีกำไรต่อวัน เมื่อหักค่าใช้จ่ายประมาณ 1,800 บาท ถ้าหักค่าแรงของตัวเองไปด้วย 1,000 บาท ก็จะเหลือ 800 บาท หากคิดเป็นรายได้เดือนก็ตกประมาณ 24,000 บาท / สาขา ถ้าลงทุนแฟรนไชส์ 99,165 บาท จะคืนทุนได้ประมาณ 4-5 เดือน
สรุปก็คือ การซื้อแฟรนไชส์ลงทุนสูง กับ แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ใครจะรวยกว่ากันนั้น ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจ สินค้าและบริการ รวมถึงทำเลที่ตั้งในการเปิดร้าน ถ้าเปิด 7-Eleven ในย่านคนอาศัยน้อย รายได้ก็จะน้อยตามหรือเปิดร้านติดๆ กันก็มีรายได้น้อยลงเพราะแย่งลูกค้ากันเอง ส่วนชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ถ้าเปิดในทำเลดีๆ รสชาติอร่อยตามมาตรฐาน ก็มีโอกาสรวยได้เหมือนกัน
เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ แบรนด์ที่มีคนรู้จัก มีเครดิตไม่มีประวัติเสีย สะดวก อร่อย สะอาด สมราคา ทำเลดี ยังไงก็ขายได้ครับ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)