จริงหรือ? เจ้าของแฟรนไชส์รวย คนซื้อแฟรนไชส์เจ๊ง

คนขายแฟรนไชส์ กับ คนซื้อแฟรนไชส์ ใครรวยกว่ากัน เป็นคำถามที่คนทั่วไปตอบได้อย่างไม่ลังเลเลยว่า เจ้าของแฟรนไชส์รวย ฝ่ายเดียว ส่วนคนซื้อแฟรนไชส์ไม่มีสิทธิ์รวย เจ๊งอย่างเดียว แถมโดนเอาเปรียบอีก ส่วนรายได้อาจมีระดับหนึ่ง แต่ถ้าเลือกแฟรนไชส์ดีๆ สินค้าขายง่าย ตั้งอยู่ในทำเลดี มีการช่วยเหลือและสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์ ก็อยู่ได้อย่างสบาย

เจ้าของแฟรนไชส์ขาย “ระบบ”

เจ้าของแฟรนไชส์รวย

ระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง ไม่ใช่การขายสินค้าหรือวัตถุดิบบางส่วนให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่เป็นการขายความสำเร็จ ขายระบบธุรกิจ หรือ Know-how ของธุรกิจ มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำตามระบบอย่างเคร่งครัด

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะประสบความสำเร็จ และดึงดูดให้มีคนซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด ธุรกิจจะต้องแสดงให้เห็นว่ามียอดขายและกำไรทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ สินค้าและบริการได้รับความนิยม ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค แบรนด์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักพอสมควร ที่สำคัญต้องมีระบบการดูแลและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างดี

เจ้าของแฟรนไชส์รวย

สำหรับรายได้ที่เจ้าของแฟรนไชส์จะได้รับมาจากหลายส่วน ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ Franchise Fee
  • ค่าสิทธิ์ Royalty Fee
  • ค่าการตลาด Marketing Fee
  • ค่าวัตถุดิบ
  • ค่าขนส่ง
  • ค่าอุปกรณ์+POS
  • ค่าฝึกอบรม
  • ค่าสำรวจและวิเคราะห์ทำเลเปิดร้าน

ถ้าถามว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะรวยหรือไม่นั้น หากเจ้าของแฟรนไชส์นั้นๆ มีการสร้างระบบและขายระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง มีระบบการดูแลและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างมั่นคง ไม่ใช่ขายสินค้าหรือวัตถุดิบอย่างเดียว ต้องมีระบบตรวจสอบมาตรฐานสาขาแฟรนไชส์ เพื่อให้ทุกสาขาแฟรนไชส์มีมาตรฐานเดียวกัน จะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์รวยอย่างแน่นอน ยิ่งถ้ามีหลายสาขาก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แต่ธุรกิจต้องได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

เจ้าของแฟรนไชส์รวย

แต่ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์หวังรวย จับเสือมือเปล่า หวังแค่ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) จากผู้ซื้อแฟรนไชส์อย่างเดียว คิดแค่ได้เงินเข้ามากจากการขยายหลายสาขา โดยที่ไม่มีระบบการดูแลและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่มีคู่มือให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน เจ้าของแฟรนไชส์ก็มีสิทธิเจ๊งได้เหมือนกัน เหมือนดารุมะซูชิ ย่างให้

นอกจากรายได้ที่เจ้าของแฟรนไชส์จะได้รับแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องจ่ายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าสร้างแบรนด์ ค่าการตลาด ค่าสำรวจและวิเคราะห์ทำเล ฝึกอบรม ค่าเดินทางทีมงาน ค่าจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน การตรวจสอบมาตรฐานสาขาแฟรนไชส์ และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ ในส่วนนี้ เจ้าของแฟรนไชส์สามารถเรียกเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์โดยคิดคำนวณมาเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) ในภายหลังได้

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตาม “ระบบ”

เจ้าของแฟรนไชส์รวย

ในส่วนของผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสรวยและเจ๊งเท่าๆ กัน แล้วแต่ว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แบบไหน แบรนด์ได้รับความนิยมหรือไม่ สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภคหรือเปล่า เจ้าของแฟรนไชส์ให้การสนับสนุนมากแค่ไหน ถ้าเลือกซื้อแฟรนไชส์ประเภท Product Franchise (แฟรนไชส์สร้างอาชีพ) ใช้เงินลงทุนต่ำ จ่ายค่าแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) ครั้งเดียวจบ เพียงแค่ซื้อวัตถุดิบบางส่วนจากเจ้าของแฟรนไชส์

ถ้าเป็นแบรนด์ดัง สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี คนพลุกพล่าน สัญจรผ่าน โอกาสที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะรวยก็มีแน่นอน เพราะขายได้จำนวนมาก ทำให้ได้กำไรดี แต่ถ้าซื้อแฟรนไชส์แบบตามกระแส สินค้าและบริการได้รับความนิยมในระยะเวลาสั้นๆ ธุรกิจมีคู่แข่งจำนวนมาก ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็มีโอกาสเจ๊งสูง

ส่วนผู้ซื้อแฟรนไชส์เลือกประเภท Business Format Franchise ใช้เงินลงทุนสูง มีคู่มือปฏิบัติงาน มีระบบการดูแลและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างดี ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสเจ๊งและรวยได้เหมือนกัน แล้วแต่ว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเลือกแบรนด์หรือธุรกิจอะไร มีชื่อเสียงมากน้อยแค่ไหน สินค้าและบริการได้รับความนิยมหรือไม่ คืนทุนได้เร็วหรือช้า ถ้าระยะสัญญาแฟรนไชส์ 5 ปี แต่คืนทุนจริงๆ ได้ 4 ปีกว่าๆ ก็ไม่คุ้ม มีสิทธิเจ๊งมากกว่ารวยได้เหมือนกัน

เจ้าของแฟรนไชส์รวย

เพราะ Business Format Franchise ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีค่าใช้จ่ายมากมายในช่วงเปิดร้านและดำเนินกิจการ อาทิ

#งบลงทุนเปิดร้าน

  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ Franchise Fee
  • ค่าก่อสร้าง ออกแบบ ตกแต่งร้าน
  • ค่าอุปกรณ์+POS
  • เงินค้ำประกัน
  • ค่าฝึกอบรม
  • รีโนเวทร้าน

#ค่าใช้จ่ายดำเนินกิจการ

  • ค่าสิทธิ์ Royalty Fee
  • ค่าการตลาด Marketing Fee
  • เงินเดือนพนักงาน
  • ค่าวัตถุดิบ
  • ค่าขนส่ง
  • ค่าเช่า
  • ค่าน้ำ+ไฟฟ้า
  • ค่าซ่อมแซม+บำรุงรักษาอุปกรณ์

ธุรกิจแฟรนไชส์ Business Format Franchise ส่วนใหญ่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หลักแสนบาทไปจนถึงหลักล้านบาทขึ้นไป ถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์เลือกแบรนด์แฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม มีชื่อเสียง สินค้าและตอบโจทย์ผู้บริโภค มีโอกาสรวยได้แน่นอน

จะเห็นได้ว่าระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ กับ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ใครรวยมากกว่ากัน ถ้าถามคนทั่วไปจะได้คำตอบเดียว คือ เจ้าของแฟรนไชส์ คนซื้อแฟรนไชส์ไม่มีโอกาสรวย แต่อาจจะไปได้ระดับหนึ่ง พอเลี้ยงชีพได้

แต่ถ้าเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ดี มีชื่อเสียง สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของตลาด ขายง่าย ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์ การซื้อแฟรนไชส์ก็ยังเป็นทางเลือกในการเริ่มต้นธุรกิจ เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการลองผิดลองถูก ในการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช