จริงมั๊ย? แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ทำเงินน้อย อายุสั้น
ในไทยตอนนี้มีแฟรนไชส์อยู่ 2 รูปแบบที่คนนิยมทำกัน คือ Product Franchise และ Business Format Franchise ทั้ง 2 รูปแบบต่างกันตรงที่ใช้เงินลงทุนต่ำกับสูง และระบบหลังบ้าน-หน้าบ้านที่ Product Franchise ไม่ค่อยมี
Product Franchise จะใช้เงินลงทุนต่ำ หลักหมื่น หลักแสนต้นๆ เน้นขายสินค้า ไม่ได้เน้นขายระบบ ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์สตรีทฟู้ด ชานมไข่มุก รถเข็น เคาน์เตอร์ ซุ้มขายของ แฟรนไชส์กลุ่มนี้จะได้กำไรครึ่งต่อครึ่งของต้นทุนวัตถุดิบ เพราะต้องซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์ กำไรอาจตกอยู่ที่ 50-60% หรืออาจจะไม่ถึง ขึ้นอยู่กับบริหารจัดการของแฟรนไชส์ซีด้วย
ถ้าถามว่า แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ทำเงินน้อย อายุสั้น จริงหรือไม่?
ขึ้นอยู่กับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ว่ามีชื่อเสียง และได้รับความนิยมในตลาดแค่ไหน ถ้าเป็นแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม เปิดในทำเลที่ดีมากๆ คนสัญจรผ่านไปมาตลอดทั้งวัน เชื่อว่าน่าจะทำยอดขายได้ดี จะอยู่รอดได้ ขายมากได้กำไรมาก ขายน้อยได้กำไรน้อย แต่ถ้าเปิดทำเลคนเงียบๆ นานๆ กว่าจะมีคนผ่าน ยิ่งแบรนด์ไม่ดัง สินค้าไม่ตอบโจทย์ ก็อยู่รอดยาก
แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ จะไม่มีค่า Royalty Fee ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บเป็นรายเดือนจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยคิดจากยอดขาย โดยทั่วไปมักจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ 3-5% จากยอดขายแต่ละเดือน
ค่า Royalty Fee ถือเป็นรายได้ของเจ้าของแฟรนไชส์ โดยทั่วไปจะนำไปสนับสนุนแบรนด์และแฟรนไชส์ซี เจ้าของแฟรนไชส์ที่ไม่เก็บค่า Royalty Fee ต้องการให้คนซื้อแฟรนไชส์รู้สึกว่าต้นทุนต่ำลง และดึงดูดให้คนมาซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น
แต่ข้อเสีย คือ ต้องไม่ลืมว่าเมื่อเจ้าของแฟรนไชส์ไม่มีรายได้ในส่วนนี้ ก็ไม่มีเงินไปบริหารการตลาดของแบรนด์ ภาระความเสี่ยงทั้งหมดก็จะตกอยู่ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ลงทุนต่ำที่จ่ายค่าแฟรนไชส์แรกเข้าครั้งเดียวแล้วจบ
ซึ่งหลังจากนั้นจะไม่ค่อยมีการซัพพอร์ตจากเจ้าของแบรนด์เท่าไหร่ จัดส่งเพียงแต่วัตถุดิบเท่านั้น เพราะถือว่าขายขาดไปแล้ว เรียกได้ว่าขายตามมีตามเกิด ผู้ซื้อแฟรนไชส์คนไหนถ้าบริหารจัดการไม่ดี หรือสินค้าไม่ถูกใจลูกค้า อยู่รอดยาก
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะอยู่รอดและเติบโต ต้องมีใน 4 ด้าน คือ สินค้าบริการที่มีคุณภาพ ระบบงานที่ดีมีประสิทธิภาพ ทีมงานที่มีความสามารถ และผลกำไรที่มั่นคง โดยก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ ต้องต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องหลักๆ คือ
- ควรหาความรู้ความเข้าใจเรื่องของแฟรนไชส์ก่อนเป็นอันดับแรก
- ให้พิจารณาดูว่าตนเองชอบธุรกิจอะไร มีลักษณะอย่างไร
- หาข้อมูลแฟรนไชส์ในธุรกิจที่ตนชอบ และทำการวิเคราะห์ ข้อดี ข้อเสียต่างๆ
สุดท้าย ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ให้ดี เป็นธุรกิจกระแส หรือธุรกิจที่คนต้องกินต้องใช้ อย่าลืมว่าแฟรนไชส์ไม่ใช่ธุรกิจที่การันตีอย่างแน่นอนว่าจะประสบผลสำเร็จ มีผลกำไร หรือไม่เจ๊ง การซื้อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าเลือกแฟรนไชส์แบบไหน มีความตั้งใจ ความทุ่มเทจริงจังหรือไม่ นั่นเอง เพราะคนซื้อแฟรนไชส์ใหญ่ๆ 7-Eleven ไปไม่รอดหรือเจ๊งไปมากก็มีถมเถ หรือ คนซื้อแฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดอยู่ได้ เลี้ยงครอบครัวก็มีมาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)