จริงมั้ย? ร้านกาแฟสด คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
ปัจจุบันการเปิดร้านกาแฟนับว่าเป็นธุรกิจในฝันของใครหลายคน เป็นธุรกิจยอดนิยมอันดับต้นๆ ที่หลายๆ คนใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจ ด้วยเงินลงทุนตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาท ทั้งการเปิดร้านสร้างแบรนด์เองและซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ดัง หากใครมีทักษะในการชงกาแฟได้รสชาติอร่อย ร้านกาแฟมีการตกแต่งได้บรรยากาศดี และตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ คนสัญจรผ่าน ก็การันได้เลยว่าสามารถสร้างรายได้ต่อเดือนหลักหมื่นหลักแสนได้ไม่ยากเช่นกัน
แต่รู้หรือไม่ว่า คนที่ทำธุรกิจร้านกาแฟหลายๆ คน ไม่ประสบความสำเร็จ ปิดกิจการไปเป็นจำนวนมาก แม้แต่คนที่กำลังเปิดร้านกาแฟอยู่ในตอนนี้ก็บ่นเป็นเสียงเดียวกัน ไม่อยากทำต่อ อยากเซ้งกิจการ ปิดกิจการ เพราะรายได้ไม่เป็นดังที่วาดฝันไว้ตั้งแต่แรก อีกทั้งมีร้านกาแฟเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน จึงเป็นที่มาของกระแสที่ว่า จริงหรือไม่? การเปิดร้านกาแฟสด คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีคำตอบมานำเสนอให้ทราบ
คนในอยากออก
ธุรกิจร้านกาแฟถือเป็นธุรกิจขายฝันของใครหลายคน เพราะในช่วงแรกๆ เห็นคนอื่นเปิดร้านกาแฟกันเยอะแยะ ก็เลยอยากเปิดกับเขาบ้าง แต่พอทำไปได้สักพัก กลับไม่เป็นเหมือนที่วาดฝันเอาไว้ เจอปัญหาต่างๆ มากมายในแต่ละวัน จนอยากจะปิดกิจการไปทำธุรกิจอื่น โดยสาเหตุที่ทำให้คนที่ทำธุรกิจร้านกาแฟไปรอดมาจากหลายปัจจัย ดังนี้
1.ไม่มีความรู้
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคนที่เปิดร้านกาแฟไม่มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ และธุรกิจร้านกาแฟ โดยเฉพาะคนที่ไม่ชอบดื่มกาแฟแต่อยากเปิดร้านกาแฟ คนกลุ่มนี้มักจะไปไม่รอด
2.ต้นทุนสูง
คนเปิดร้านกาแฟแต่ไม่รู้ต้นทุนของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนต่อแก้ว ค่าเช่า ค่าจ้างพนักงาน ค่าวัตถุดิบ และอื่นๆ มักจะไปไม่รอดต้องปิดกิจการไปในไม่ช้าก็เร็ว
3.ทำเลเปิดร้านไม่ดี
ที่จอดรถไม่สะดวก บรรยากาศร้านไม่ได้ ไม่รู้จักช่องทางการขาย ขายได้เฉพาะหน้าร้านอย่างเดียว พอถึงหน้าฝนทำให้ลูกค้าเข้าใช้บริการร้านน้อย ร้านขาดรายได้ แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้าน
4.คู่แข่งรายล้อม
ธุรกิจร้านกาแฟ เป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมสูงมากในยุคนี้ ทำให้ธุรกิจร้านกาแฟเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การจะเป็นหนึ่งในผู้อยู่รอด หรือประสบความสำเร็จนั้นจึงต้องแลกมาด้วยการลงทุนลงแรงที่หนักหน่วง
5.เศรษฐกิจไม่ดี
แม้ว่าคนรักการดื่มกาแฟจะดูมีความหรูหรา แต่ทุกคนยืนอยู่บนความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้กำลังซื้อกาแฟที่มีราคาค่อนข้างสูงลดลง ทำให้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องเลือกสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตมากกว่าเครื่องดื่มกาแฟ
คนนอกอยากเข้า
รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันนี้หลายๆ คนที่อยากเปิดร้านกาแฟเพราะตามกระแสเห็นคนทำก็อยากทำบ้าง บางคนเลือกเปิดเพราะใจรัก แต่บางคนก็เปิดเพราะไม่รู้ว่าตนเองอยากทำอะไร แต่ไม่ว่าคุณจะเปิดร้านกาแฟด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ถ้าหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดซ้ำๆ กับร้านกาแฟหน้าใหม่ได้ ธุรกิจร้านกาแฟของคุณก็จะยั่งยืน แต่สำหรับเหตุผลที่หลายๆ คนอยากเปิดร้านกาแฟ มาจากหลายปัจจัย ดังนี้
1.คนนิยมดื่มกาแฟ
ธุรกิจร้านกาแฟยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากความนิยมบริโภคของคนไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมาพบว่าอัตราการบริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 300 แก้วต่อคนต่อปี และมีการคาการณ์ว่ามูลค่าตลาดกาแฟในประเทศไทยจะโตจะเติบโตได้ต่อไป
2.รายได้ดี
ยิ่งใครที่มีสถานที่สำหรับเปิดร้านกาแฟ ไม่ต้องเช่าที่ ทำเลอยู่ในย่านคนสัญจรผ่านไปมา บรรยากาศดี การเปิดร้านกาแฟจึงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ เพราะกำไรดี นั่งสบายๆ รอลูกค้าอย่างเดียว
3.เปิดร้านได้ง่าย
ในปัจจุบันการทำธุรกิจร้านกาแฟสามารถเริ่มต้นได้ 2 รูปแบบ คือ เปิดร้านสร้างแบรนด์เอง และซื้อแฟรนไชส์แบรนด์กาแฟดังๆ ซื้อมาแล้วเปิดร้านขายได้ทันที มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ด้วย
4.ความชื่นชอบ
คนที่อยากเปิดร้านกาแฟส่วนหนึ่งมาจากความชื่นชอบเป็นการส่วนตัว ชอบดื่มกาแฟ ชอบบรรยากาศ อยากมีร้านสวยๆ อยากชงขายเพราะกินกาแฟอยู่แล้ว อยากเปิดให้แฟน อะไรประมาณนี้
นั่นคือ เหตุผลที่ว่า ทำไม? ร้านกาแฟสด คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังจะตัดสินใจว่าจะเปิดร้านกาแฟในอนาคตอันใกล้หรือไม่
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
Franchise Tips
- #คนในอยากออก
- ไม่มีความรู้
- ต้นทุนสูง
- ทำเลไม่ดี
- คู่แข่งเยอะ
- เศรษฐกิจไม่ดี
- #คนนอกอยากเข้า
- คนดื่มกาแฟเยอะ
- รายได้ดี
- เปิดร้านง่าย
- ชื่นชอบ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3KDoURX
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)