จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขาเดิม

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมร้าน 7-Eleven ต้องเปิดสาขาใกล้ๆ กัน และจริงหรือไม่ บริษัทซีพีออลล์ เห็นทำเลไหนดี มักเปิด 7-Eleven แข่งกับสาขาแฟรนไชส์เดิม บทความนี้จะไขข้อข้องใจ มาลองหาคำตอบพร้อมๆ กันครับ

รูปแบบขยายสาขา 7-Eleven

เปิดเองแข่งสาขาเดิม

7-Eleven ทั่วประเทศ ในปี 2566 มีจำนวน 14,545 สาขา แบ่งเป็น

  • ร้าน CPALL จำนวน 7,336 สาขา (คิดเป็น 50%) เพิ่มขึ้น 497 สาขา
  • ร้าน Store Business Partner (SBP) จำนวน 6,335 สาขา (คิดเป็น 44%) เพิ่มขึ้น 191 สาขา
  • ร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต (Sub-Area License) 874 สาขา (คิดเป็น 6%) เพิ่มขึ้น 19 สาขา มีอยู่ 4 กลุ่มท้องถิ่น ได้แก่
    1. กลุ่มตันตราภัณฑ์ (บริษัท ชอยสฺ มินิ สโตร์ จำกัด) ผู้ประกอบการค้าปลีกริมปิง ซุปเปอร์มาร์เก็ต บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน
    2. กลุ่มงานทวี (บริษัท งานหนึ่ง จำกัด) ผู้ประกอบการโรงแรมรอยัลภูเก็ตซี้ตี้ ป้มน้ำมัน สวนยางพารา เหมืองแร่ ค้าส่ง บริหารพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง พังงา กะบี่ ตรัง
    3. กลุ่มยิ่งยง (บริษัท ยิ่งยง มินิมาร์ท จำกัด) ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ายิ่งยงอุบลฯ บริหารพื้นที่ 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุบลฯ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ
    4. กลุ่มศรีสมัย (บริษัท ยะลาเซเว่น จำกัด) ผู้ประกอบการร้านศรีสมัยค้าส่ง บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส

เหตุผล 7-Eleven เปิดสาขาแข่งแฟรนไชส์

เปิดเองแข่งสาขาเดิม

หลายคนอาจเคยเห็น หรือเป็นคนที่เคยเปิดร้าน 7-Eleven มาก่อน อาจจะเจอมากับตัวเอง คือ เปิดร้านไปแล้วสักพักยอดขายดี คนใช้บริการแน่นร้าน ทำยอดขายได้ถึงเป้า พอมาวันหนึ่งมีร้าน 7-Eleven อีกสาขามาเปิดใกล้ๆ หรือละแวกเดียวกัน

กรณีการเปิดร้าน 7-Eleven เพิ่มในทำเลใกล้กับร้าน 7-Eleven เดิมอยู่ก่อนแล้ว ทางซีพีออลล์จะพิจารณาศักยภาพทำเล ความหนาแน่นประชากร ความสามารถในการรองรับบริการลูกค้าของร้านเดิม ถ้าร้าน 7-Eleven เดิมบริการลูกค้าไม่ทัน ทางซีพีออลล์จะเปิดร้านเพิ่ม เพื่อให้บริการลูกค้าได้ทั่วถึง รวดเร็ว คลอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้าในละแวกนั้นๆ

เปิดเองแข่งสาขาเดิม

โดยซีพีออลล์จะให้สิทธิ์แก่แฟรนไชส์ซี หรือ Store partner เจ้าเดิม ที่มีความต้องการขยายสาขาในทำเลนั้นๆ เป็นลำดับแรก ถ้ามีความพร้อม Store partner เจ้าเดิม ก็สามารถใช้สิทธิบริหารร้านใหม่ได้เลย

แต่ถ้ายังไม่พร้อม ทางซีพีออลล์จะเปิดร้านรอไว้ เพื่อรอให้ Store partner มาโอนไปในอนาคตเมื่อมีความพร้อม ถ้า Store partner เจ้าเดิม ไม่ต้องการเปิดร้านเพิ่ม ทางซีพีออลลล์ก็จะไปเปิดร้าน 7-Eleven เอง

เปิดเองแข่งสาขาเดิม

โดยจะจ่ายเงินทดแทนให้เท่ากับรายได้ก่อนที่อีกร้านจะมาเปิดไปจนกว่ายอดขายจะสูงเท่าเดิมหรือมากกว่า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่หลายๆ คนเห็นร้าน 7-Eleven อยู่ใกล้หรือติดกันในหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่จะเป็น Store partner เจ้าเดียวกัน บางรายเปิด 4-5 สาขา ทำกันทั้งครอบครัว

ส่วนกรณีทางซีพีออลล์เข้าไปบริหารร้าน 7-Eleven ของ Store partner บางราย อาจเป็นเพราะแฟรนไชส์ซีเจ้าเดิมอาจมีปัญหาส่วนตัว เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาเรื่องอายุขัย ปัญหาภายในร้าน ลูกหลานไม่ต้องการทำธุรกิจต่อ ฯลฯ จึงขอคืนสิทธิร้านแฟรนไชส์ให้ซีพีออลล์ และบางสาขาไม่สามารถทำมาตรฐานได้ตามที่กำหนด

นอกจากนี้ บางทำเลที่ดีจริงๆ ยอดขายสูง ปริมาณลูกค้าใช้บริการแต่ละวันจำนวนมาก ทางซีพีออลล์จะไม่ขายแฟรนไชส์ จะทำการเปิดร้านเอง หรือบางทำเลมีพื้นที่ขนาดใหญ่ กว้างขวาง ทางซีพีออลล์จะเปิดร้าน 7-Eleven เอง เพราะใช้เงินลงทุนสูง ทำพื้นที่เป็นลานกว้างสำหรับจอดรถ ปล่อยเช่าร้านค้า และติดตั้งตู้ชาร์จรถยนต์ EV ในอนาคต

7-Eleven ไม่ใช่เจ้าเดียวเปิดแข่งทำเลทอง

เปิดเองแข่งสาขาเดิม

นอกจาก 7-Eleven เปิดแข่งในทำเลเดียวกันแล้ว ยังมีศูนย์การค้าชื่อดังอย่าง “สยามพิวรรธน์” ยึดพื้นที่ทำเลทองย่านสยาม โดยการเปิด 3 ศูนย์การค้าติดกัน คือ สยามเซ็นเตอร์, สยามดิสคัฟเวอรี่ และ สยามพารากอน แม้ว่าทั้ง 3 ศูนย์การค้าจะแย่งลูกค้ากันเอง แต่ถ้าไม่ก่อสร้างในทำเลเดียวกัน ก็จะมีคู่แข่งมาเปิดก่อน แย่งลูกค้าไปโดยไม่ได้อะไรเลย

ได้เห็นเหตุผลแล้วว่า ทำไม 7-Eleven เปิดเองแข่งสาขาเดิม ร้าน Store partner เจ้าเดิม ก็เพราะต้องการยึดครองพื้นที่ก่อนที่คู่แข่งจะมาเปิดร้านแชร์ส่วนแบ่งยอดขายไป เรียกได้ว่าไม่ยอมให้คนอื่นได้เงินแม้แต่บาทเดียว

อ้างอิงข้อมูล https://citly.me/3YB5V

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช