จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับมือใหม่!
เจ้าของธุรกิจหลายรายที่อยากทำแฟรนไชส์มักมีความเข้าใจว่า เมื่อทำการจดทะเบียนธุรกิจและชื่อทางการค้าแล้ว จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายโดยไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอีก
ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งที่แยกแยะสินค้าหรือบริการของเราให้แตกต่างและโดดเด่น คนอื่นลอกเลียนแบบไม่ได้
ที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เมื่อเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ได้ให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ใดแล้ว สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องถูกนำไปใช้ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย
นอกจากเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือบริการแล้ว ก่อนจะขายหรือให้สิทธิแฟรนไชส์แก่คนอื่น ต้องทำสัญญากำหนดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ควบคู่ไปพร้อมกันกับการดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์เดียวกันเสมอ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการด้วย โดยจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
ภาพจาก pixabay.com/
สำหรับรูปแบบและขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการ รวมถึงการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลและรายละเอียดมานำเสนอให้ทราบครับ
ปัจจุบันกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้บริการจดและต่ออายุเครื่องหมายการค้าให้มีความรวดเร็วมากขึ้น (Fast Track) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เร็วยิ่งขึ้น
การยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าเร่งด่วนผู้ยื่นคำขอจะทราบผลการพิจารณาครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นสั่งประกาศโฆษณา แก้ไข หรือปฏิเสธคำขอ ภายใน 6 เดือน จากเดิม 12 เดือน เพียงเข้า 2 หลักเกณฑ์ คือ 1.ระบุรายการสินค้าไม่เกิน 10 รายการ ตามบัญชีรายการสินค้าจาก https://tmsearch.ipthailand.go.th 2.คำขอไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลัง โดยสามารถยื่นคำขอได้ทุกช่องทาง อาทิ ระบบ e-Filing, กรมทรัพย์สินทางปัญญา, สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือไปรษณีย์
การต่ออายุเครื่องหมายการค้าแบบเร่งด่วน ผู้ยื่นสามารถรอรับหนังสือสำคัญได้ภายใน 60 นาที จากเดิม 60 วัน เพียงเข้า 2 หลักเกณฑ์ คือ 1.รายการสินค้าที่ขอต่ออายุไม่เกิน 30 รายการ 2.ข้อมูลรายการจดทะเบียนคงเดิม โดยแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ว่าต้องการรับบริการต่ออายุแบบเร่งด่วน ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนค่าธรรมเนียมเท่าเดิม
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการ
ภาพจาก pixabay.com/
เจ้าของแฟรนไชส์ที่ต้องการยื่นขอจดทะเบียนการค้าและเครื่องหมายบริการ จะมีหน้าที่หลักๆ ด้วยกัน คือ การจัดเตรียมเอกสารประกอบขอยื่นจดทะเบียน การสืบค้นและตรวจสอบเครื่องหมายการค้า การยื่นคำขออุทธรณ์ (60วัน) และนำคดีสู่ศาล (90วัน) หากมีผู้คัดค้านหลังประกาศโฆษณาจากนายทะเบียน สุดท้าย คือ การชำระค่าธรรมเนียมรับจดทะเบียน ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่
1.ขั้นตอนพิจารณาขอจดทะเบียน
เป็นขั้นตอนที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยต้องทำเตรียมเอกสารเพื่อนำเอกสารดังกล่าวส่งให้ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบตามแบบที่กฎหมายกำหนด โดยตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นเพื่อขอจดดังกล่าวนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ (เช่น ขาดลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าไปเหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้าของคนอื่น เป็นต้น)
2.ขั้นตอนการประกาศโฆษณา
เป็นขั้นตอนที่ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะออกประกาศโฆษณา เผื่อมีผู้ที่ต้องการคัดค้าน กล่าวคือ นายทะเบียนอาจจะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปเหมือน หรือ คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของคนอื่นที่จดไปก่อนแล้ว
3.ขั้นตอนการออกหนังสือสำคัญ
เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่ได้ประกาศโฆษณาแล้ว ไม่มีคนคัดค้าน เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ก็จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนและต่ออายุเครื่องหมายการค้าและบริการ
ภาพจาก pixabay.com/
1.คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม
- สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท
- สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 9,000 บาท
2.การขอตรวจดูทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม หรือสารบบเครื่องหมายดังกล่าว ชั่วโมงละ 200 บาท (เศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง)
3.การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม
- สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 600 บาท
- สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 5,400 บาท
4.คำขอต่ออายุการจดทะเบียน
- สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 2,000 บาท
- สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 18,000 บาท
ธุรกิจแฟรนไชส์เมื่อได้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการอย่างถูกต้อง จะได้รับการคุ้มครองถึง 10 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุทุกๆ 10 ปี โดยการยื่นคำรองต่ออายุภายใน 90 วันก่อนวันหมดอายุ
การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ
ภาพจาก pixabay.com/
เจ้าของแฟรนไชส์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ ก่อนจะให้สิทธิและอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ใช้เครื่องหมายการค้าของตนในการทำธุรกิจ ต้องทำการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการต่อนายทะเบียน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์กฎกระทรวง (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า มาตรา 68 กฎกระทรวง ข้อ 45)
กรณีเจ้าของแฟรนไชส์ที่จะขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตฯ ตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่.กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ต้องทำสัญญาแฟรนไชส์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยการนำสัญญาแฟรนไชส์หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการที่ได้ทำขึ้นไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา หากไม่จดทะเบียนในทางกฎหมายถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาตามกฎหมาย
สัญญาอนุญาตฯ ไม่ต้องจดทะเบียน (แฟรนไชส์สร้างอาชีพ ขายผลิตภัณฑ์)
ภาพจาก pixabay.com/
- เครื่องหมายการค้าหรือบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพราะไม่มีทะเบียนจดได้
- ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำสินค้าและวัตถุดิบจากเจ้าของแฟรนไชส์ไปผลิตและจำหน่ายโดยตรง
- เจ้าของแฟรนไชส์ควบคุมธุรกิจโดยตรง ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่มีสิทธิดำเนินงานด้วยตนเอง ผลตอบแทนส่งคืนให้เจ้าของแฟรนไชส์ เพราะมีลักษณะเป็นสำนักงานสาขาของเจ้าของแฟรนไชส์
สัญญาอนุญาตฯ ต้องจดทะเบียน (Business Format Franchise แฟรนไชส์ขายระบบ)
- ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีสิทธิผลิตสินค้าหรือนำสินค้าจากที่อื่น ที่มีคุณภาพเท่าเทียม หรือมีคุณภาพตรงตามที่เจ้าของแฟรนไชส์ให้การรับรองมาดำเนินธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์
- ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง อยู่ภายใต้การให้คำแนะนำ หรือมาตรฐานการทำงานที่เจ้าของแฟรนไชส์เป็นผู้กำหนดขึ้น ภายใต้เครื่องหมายการค้าและบริการของเจ้าของแฟรนไชส์
ค่าธรรมเนียม
- คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ 1,000 บาท
- การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ สัญญาละ 2,000 บาท
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีเจ้าของธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่ของการทำสัญญาแฟรนไชส์นั้น ไม่ได้นำมาจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในอนาคตอาจเกิดปัญหาพิพาทขึ้นตามมาอย่างแน่นอน
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wbIjlj
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)