“ค้นหาจุดแข็ง StrengthsFinder” เพื่อความสำเร็จในชีวิต

มนุษย์ทุกคนมีจุดเด่น คำว่าจุดเด่นบางทีมันก็คือ “จุดแข็ง” คำว่าจุดแข็งคือสิ่งที่เรามี เราทำได้ดีที่สุด ดังนั้นจุดแข็งของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนโดดเด่นเรื่องทักษะด้านกีฬา ดนตรี มีความสามารถร้อง เล่น เต้น แต่บางคนไม่ได้มีความสามารถเหล่านี้แต่เขาก็มีจุดแข็ง

เช่น เป็นคนละเอียดรอบคอบ เป็นคนมีหัวการค้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จุดแข็งของแต่ละคนจึงมาในหลายรูปแบบ แต่ปัญหาคือคนส่วนใหญ่ “ไม่รู้จุดแข็งตัวเอง” ผลเสียคือเลือกเดินผิดทาง แทนที่จะเดินในทางที่ตัวเองถนัดกลับไปเดินตามเส้นทางที่คนอื่นเขาทำ

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเสียโอกาสที่จะพาชีวิตตัวเองไปสู่ความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้เราจึงได้รวมเทคนิคการค้นหาจุดแข็งตัวเอง ให้ลองศึกษาชีวิตจะได้เดินไปตามเส้นทางที่ควรจะเป็นได้

จุดแข็ง (Strengths)

ค้นหาจุดแข็ง

ภาพจาก freepik

จุดแข็งของตัวเราคือการมองจากปัจจัยภายใน หรือ ตัวเรานั่นเอง การวิเคราะห์และประเมินตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้เรารู้ตัวเองว่าเรามีจุดแข็งอะไร เราอาจจะต้องลองตั้งคำถามให้กับตัวเองดังต่อไปนี้ หรือไปถามคนในครอบครัว คนใกล้ชิด หรือ เพื่อน ว่าเรามีจุดแข็งอะไร แล้วมาเปรียบเทียบกับที่ตัวเราเองคิด จะได้ข้อมูลที่ไม่อคติจนเกินไป และพฤติกรรมเป็นอะไรที่ได้เปรียบ มีจุดเด่น ไม่ใช่สิ่งที่ใครก็มี เช่น มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง , ความคิดรอบคอบ , ใจกล้า , ชอบเรียนรู้ , มีความรับผิดชอบ , มีความสามารถเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น

จุดอ่อน (Weakness)

27

ภาพจาก freepik

การวิเคราะห์จุดอ่อน เรามองเห็นไหมว่าเราอ่อนหรือขาดเรื่องอะไร ทำยังไงถึงรู้ว่าเราขาดหรืออ่อนเรื่องอะไรนั้น วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเข้าไปอ่านในการประกาศรับสมัครงานขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ หรือ ถามเพื่อนๆ หัวหน้างาน หรือ ถ้าเรายังเป็นนักศึกษาอยู่ลองไปถาม ครู อาจารย์ ว่าเราขาดคุณสมบัติของไหน หรือ ความสามารถไม่พอ เช่น ไม่กล้าแสดงออก , เป็นคนคิดช้า , มีโลกส่วนตัวสูง , ทำงานกับคนอื่นไม่ได้ , เอาแต่ใจตัวเอง , หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

แบบทดสอบค้นหา “จุดแข็ง” ของ Clifton StrengthsFinder

มีแบบทดสอบ Clifton StrengthsFinder จะช่วยค้นหาจุดแข็งของผู้ทำแบบประเมิน ซึ่งแบบทดสอบนี้ถูกพัฒนามาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1949 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ทำแบบประเมินไปมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกแล้ว ส่งผลให้แบบทดสอบนี้มีความแม่นยำสูงและน่าเชื่อถือมาก โดยรูปแบบของจุดแข็งหรือพรสวรรค์ในแบบทดสอบนี้มีมากกว่า 34 แบบ

เหตุผลที่เราควรทำแบบทดสอบเพื่อหาจุดแข็ง คือเพื่อให้เรารู้ว่าเราเก่งด้านใด และจะได้ไม่ต้องไปเสียเวลากับการแก้ปัญหาจุดอ่อน เพราะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ สู้เอาเวลามาต่อเติมจุดแข็งตัวเองให้โดดเด่นขึ้นไปชีวิตจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่า

เช่น บางคนมีจุดแข็งที่ชอบแก้ไขปัญหาต่างๆ อาชีพที่เหมาะสมก็คืองานใดๆ ที่มีปัญหาให้แก้ตลอดเวลา เช่น อาชีพให้คำปรึกษา, แพทย์ อาชีพเหล่านี้จะเจอปัญหาใหม่ๆและมีให้แก้อยู่ทุกๆวัน ซึ่งถ้าเลือกไปทำอาชีพที่ไม่ค่อยได้แก้ปัญหาก็เท่ากับเสียจุดแข็งที่มีไปโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อเป็นจุดแข็งที่เรามีเราย่อมจะทำมันออกมาได้ดีเสมอ

3 เทคนิคการค้นหา “จุดแข็งพนักงาน” เพื่อพัฒนาธุรกิจ

เรื่องการค้นหา “จุดแข็ง” พนักงานในระดับองค์กร บริษัทก็มีความสำคัญ โดยมีวิธีน่าสนใจดังนี้

26

ภาพจาก freepik

1. ลิสต์คุณสมบัติพนักงานที่จำเป็นต้องมีในแต่ละตำแหน่ง

เพื่อเป็นการกำหนดกรอบในเบื้องต้น เช่น ในตำแหน่งนี้ต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านคิดแคมเปญทางการตลาด การวิเคราะห์คู่แข่ง ทักษะการนำเสนอโครงการ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะการเจรจาต่อรอง และการประสานงานกับฝ่าย
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

2. ให้พนักงานแต่ละคนสำรวจตนเอง

เมื่อพนักงานได้สำรวจจุดเด่นของตัวเองและลิสต์จุดแข็งของตนเองออกมาโดยอาจให้ไกด์ไลน์เป็นคำถาม เช่น อะไรคือสิ่งที่เขาคิดว่าตนเองทำแล้วประสบความสำเร็จที่สุดในชีวิต คุณสมบัติอะไรที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จในเรื่องนั้น และเขาจะนำประสบการณ์นั้นมาพัฒนาการทำงานของเขาได้อย่างไร เมื่อพนักงานสามารถตอบคำถามข้างต้นได้ ก็จะลิสต์จุดแข็งของตนออกมาได้ง่ายขึ้น

3. นำลิสต์คุณสมบัติที่เราต้องการกับ ลิสต์จุดแข็งของพนักงานมาวิเคราะห์

เมื่อได้ลิสต์คุณสมบัติตำแหน่งที่เราเขียน กับลิตสต์จุดแข็งของพนักงานแต่ละคน จึงค่อยนำมาเทียบกันเพื่อวิเคราะห์ว่า พนักงาน แต่ละคนควรได้รับการส่งเสริมจุดแข็งในด้านไหน และจุดแข็งเขาอยู่ในระดับใด ควรได้รับการพัฒนาอย่างไร โดยให้เขาได้แสดงความคิดเห็นว่า เขาต้องการให้บริษัทสนับสนุนเขาในเรื่องดังกล่าวอย่างไร เช่น ให้เขาได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม รวมทั้งฝึกฝนอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้เขาพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพ และมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ตามเป้าหมายและการวัดผลที่กำหนดชัดเจน

25

ภาพจาก freepik

หลายองค์กรมองข้าม “จุดแข็งพนักงาน” และพยายามสร้างองค์กรในรูปแบบของตัวเอง และกำหนดกรอบพนักงานให้เป็นไปตามที่เจ้านายต้องการ ข้อดีของการทำงานแบบนี้คือเอกภาพที่ชัดเจน แต่ข้อเสียคือพนักงานจะทำงานด้วยความรู้สึกเรื่อยๆ ทำไปวันๆ ทำให้จบๆ ไป พนักงานไม่อยากคิด ไม่อยากให้ความร่วมมือกับองค์กร เพราะมองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญและไม่ใช่หน้าที่ สุดท้ายองค์กรจะเติบโตได้ช้า ด้วยเหตุผลว่าองค์กรนั้น ๆไม่รู้จักการดึงศักยภาพของพนักงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล

https://bit.ly/2PSDXPl , https://bit.ly/38Dtnm3 , https://bit.ly/30IuZGB , https://bit.ly/3lhCbTE , https://bit.ly/30ICw8q

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3c8gXVp

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด