คู่มือแฟรนไชส์ จำเป็นแค่ไหน?

คู่มือแฟรนไชส์ หรือ คู่มือปฏิบัติงาน (Operation Manual) เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะคู่มือปฏิบัติงาน เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของระบบงานทั้งหมด ซึ่งเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของธุรกิจ

ที่แฟรนไชส์ซีใช้ปฏิบัติตามที่สำคัญ คู่มือปฏิบัติงานระบบแฟรนไชส์ จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีในการเปิดธุรกิจใหม่ สร้างระบบการทำงานประจำวัน และทำให้ธุรกิจเติบโตได้ หากถามว่าคู่มือแฟรนไชส์ จำเป็นแค่ไหน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบกันครับ

1. ช่วยแปลแนวคิดธุรกิจให้เข้าใจง่ายขึ้น

คู่มือแฟรนไชส์

คู่มือแฟรนไชส์ จะแสดงแนวคิดของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ให้เข้าใจง่าย เป็นรูปธรรม และถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย อาจจะมีการบันทึกเรื่องราว ความเป็นมา ตั้งแต่เริ่มธุรกิจ แนวทางสู่ความสำเร็จ วิธีการรับมือกับปัญหา หรือเทคนิคการพัฒนาบริการ ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้นำไปประยุกต์กับแนวทางของตนเอง และประสบความสำเร็จเฉกเช่นเดียวกับเจ้าของแฟรนไชส์ได้เร็วยิ่งขึ้น

2. ช่วยสร้างมาตรฐานของสินค้าและบริการ

คู่มือแฟรนไชส์

ลักษณะพื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ การเผยแพร่เอกลักษณ์ของธุรกิจของตนเองให้เข้าถึงคนจำนวนมากให้มากที่สุด ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเข้ามาเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ได้อย่างดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องระมัดระวังคือการรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการของตนเองให้มั่นคงและยั่งยืน เพราะคุณภาพและมาตรฐานถือเป็นไพ่ใบสำคัญสำหรับธุรกิจบริการ

กระบวนการของการถ่ายทอดหรือส่งต่อองค์ความรู้ของธุรกิจจึงควรที่จะสั้นที่สุด เพราะหากกระบวนการในการถ่ายทอดยาว ก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดเพี้ยนได้ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยสร้างมาตรฐานของสินค้าและบริการได้อย่างดีที่สุดก็คือคู่มือการทำงานที่สร้างขึ้นโดยเจ้าของแฟรนไชส์ ส่งตรงถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์เพื่อสร้างความเข้าใจให้สามารถนำไปใช้ต่อกับร้านของตนเองได้เหมือนกับต้นฉบับให้ได้มากที่สุด และลดโอกาสในการเกิดความผิดเพี้ยนของการสื่อสารได้มากที่สุด

3. ช่วยย่นระยะเวลาในการขยายแฟรนไชส์

คู่มือแฟรนไชส์

เมื่อผู้ซื้อแฟรนไชส์คือสื่อกลางที่สำคัญที่จะช่วยเผยแพร่ธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้าถึงคนหมู่มากได้เร็วที่สุด นั่นหมายความว่าเจ้าของธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับสื่อกลางนี้ให้มากที่สุดเช่นกัน การทำความเข้าใจกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ถึงแนวคิดของธุรกิจ วิสัยทัศน์องค์กร มาตรฐาน รวมไปถึงหลักปฏิบัติที่จำเป็นต่อการดูแลกิจการจึงเป็นสิ่งสำคัญ และหน้าที่หลักของเจ้าของธุรกิจ คือ การดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้สามารถบริหารจัดการกิจการด้วยตัวเองให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการเผยแพร่ธุรกิจสู่ลูกค้าให้เร็วที่สุด

4. ช่วยสร้างมาตรฐานระบบการอบรม

คู่มือแฟรนไชส์

หากว่าเจ้าของธุรกิจได้ทำ คู่มือ การทำงานเอาไว้ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว การสร้างสื่อการสอนเพื่อการอบรมก็ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องเสียเวลาในการทำสื่อใหม่ หรือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างวิทยากรมาอบรมอีก เรียกได้ว่าคู่มือการทำงานที่สร้างไว้สำหรับบริหารจัดการการปฏิบัติการ ก็กลายเป็นมาตรฐานในการส่งผ่านความรู้อย่างเป็นระบบได้เช่นเดียวกัน

5. ช่วยส่งเสริมระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์

คู่มือแฟรนไชส์

ภาพจาก freepik

ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์รู้ถึงวิธีการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่มีตัวช่วย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเท่านั้น ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องนำศึกษาและปฏิบัติตามทุกอย่าง ทุกขั้น ระบบความสำเร็จทำมาแบบไหน ก็ต้องทำแบบนั้น นอกจากนี้คู่มือยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ได้ทำการปรับปรุง แก้ไข ระบบภายในให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

คู่มือแฟรนไชส์ ที่ดี

20

ภาพจาก freepik

  1. วิธีการเขียนและนำเสนอง่ายที่สุด อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
  2. เขียนมาจากต้นแบบที่ดี
  3. ได้รับการทดลองใช้มาแล้ว ได้ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว จนกระทั่งนำพาธุรกิจประสบความสำเร็จ
  4. ผ่านการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
  5. แยกหมวดหมู่ของเรื่องได้ดี เพื่อง่ายต่อการค้นหา
  6. มีการ Up-date ข้อมูลเสมอ โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่
  7. มีการเปรียบเทียบวิธีการทำงานที่ถูก และผิด พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน
  8. มีแบบฟอร์ม สำหรับควบคุมการทำงาน
  9. ได้นำไปอบรมจริง และนำไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์
  10. ได้ปฏิบัติ ตรวจสอบ และประเมินผลสำเร็จ

ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จ มีการขยายสาขา และเติบโตอย่างมั่นคง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี คู่มือ แฟรนไชส์ที่ดี เพราะเป็นโปรแกรมการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์ ที่จะถูกถ่ายทอดการทำงานให้กับแฟรนไชส์ไชส์ซี ถ้าแฟรนไชส์ไชส์ซีอ่านแล้ว ไม่เข้าใจ ใช้ภาษาอ่านยาก จนไม่สามารถปฏิบัติตามคู่มือได้ อาจส่งผลเสียต่อระบบแฟรนไชส์ได้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3tOhotv

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช