คุณเป็นเจ้าของธุรกิจแบบไหน เจ้านาย หรือ ผู้นำ
ขึ้นชื่อว่า “มนุษย์เงินเดือน” แล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ “ผู้นำ” ไม่ใช่ “เจ้านาย” อย่างไรก็ดีเจ้าของธุรกิจหลายคนนิยามความหมายของคำว่า “เจ้านาย” กับ “ผู้นำ” ไม่เหมือนกัน
แม้จะเป็นตำแหน่งสูงสุดในแต่ละองค์กรเหมือนกันแต่หากองค์กรไหนมี “ผู้นำ” ที่นั่นย่อมจะรีดศักยภาพพนักงานให้รู้สึกอยากทำงาน อยากทุ่มเทแรงกายแรงใจให้ ตรงกันข้ามถ้าไปเจอคนที่เป็นได้แค่ “เจ้านาย” การทำงานส่วนใหญ่จะออกแนวเกรงกลัว เกรงใจ ไม่อยากทำอะไรให้มากกว่าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย นั่นความถึงการพัฒนาและก้าวหน้าในระดับองค์กรก็จะไปไม่ถึงที่สุดด้วย
www.ThaiSMEsCenter.com ได้นำเอาข้อมูลน่าสนใจเรื่อง “เจ้านาย” หรือ “ผู้นำ” มาเป็นแนวคิดให้ผู้ประกอบการทุกคนได้เห็นถึงความแตกต่างและมาลองทบทวนดูว่าตัวเราเป็น “เจ้านาย” หรือว่าเราคือ “ผู้นำ”
นิยามของคำว่า “เจ้านาย” และ “ผู้นำ”
ภาพจาก pixabay.com
เจ้านาย (Boss) มักมีแนวคิดที่จะสร้างระบบเพื่อควบคุมทีม มั่นใจและเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ลูกทีมคือผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น มุ่งเป้าที่ผลลัพธ์ของงานและมีความเชื่อว่างานจะสำเร็จได้ต้องเกิดจากความสามารถของตัวเองเท่านั้น เจ้านายส่วนใหญ่จึงไม่สนใจความคิดของคนอื่นเพราะเชื่อว่าตัวเองเก่งที่สุด ดีที่สุด
ส่วนผู้นำ (Leader) จะมองที่การพัฒนาคนเป็นหลัก ชอบรับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้ลูกทีมแสดงฝีมือ ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูกทีมไม่น้อยไปกว่าผลลัพธ์ของงาน และมองว่าเป้าหมายจะสำเร็จได้ต้องเกิดจากการร่วมมือของทุกคนในทีม ที่สำคัญผู้นำจะมองทุกคนในองค์กรเป็นเหมือนครอบครัว ดูแลทุกสุขของทุกคนเหมือนญาติพี่น้อง บริษัทใดก็ตามที่มี “ผู้นำ” พนักงานจึงมีความสุขมากกว่า
ความแตกต่างระหว่าง “เจ้านาย” และ “ผู้นำ” ในเรื่องของการทำงาน
1.ผู้นำจะ “รับผิด” แต่ เจ้านายจะ “รับชอบ”
ภาพจาก pixabay.com
คนเป็นเจ้านายมุ่งเป้าที่ผลลัพธ์ ยึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่ และมองว่างานจะสำเร็จได้เกิดจากความสามารถของตัวเอง มักจะสนใจแค่ว่าลูกน้องทำงานดีแค่ไหน เมื่อเกิดปัญหาจะรีบหาคนผิดมารับผิดแทนตัวเอง ต่างจากผู้นำที่มองว่าความร่วมมือกันของทุกฝ่ายจะทำให้งานสำเร็จ คนเป็นผู้นำจะคอยสังเกตทุกข์สุขของลูกน้องและหากงานผิดพลาดจะหาวิธีแก้ไข แล้วค่อยให้คำแนะนำกับคนทำผิด รวมถึงผู้นำจะให้อิสระและเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้โชว์ฝีมือ โดยที่ตัวเองจะคอยให้คำปรึกษาและแนะนำเป็นหลัก
2.ลูกน้องจะกลัว “เจ้านาย” แต่จะ เกรงใจ “ผู้นำ”
ภาพจาก pixabay.com
เจ้านายส่วนใหญ่จะใช้พระเดช มากกว่าพระคุณ คนเป็นเจ้านายจะมองว่าตัวเองมีอำนาจ มีกฎระเบียบเป็นเครื่องมือ อะไรที่ตัวเองคิดว่าใช่ก็คือใช่ ทุกคนต้องทำตาม ดังนั้นลูกน้องเมื่อเจอ “เจ้านาย” จะทำงานเพราะความกลัว จนบางครั้งงานที่ได้ออกมาไม่ดีด้วยความกดดันที่เจ้านายมีให้ลูกน้อง ต่างจาก ผู้นำที่ลูกน้องทุกคนจะเกรงใจ และอยากทำให้งานออกมาดีสุด เพราะถือว่าผู้นำให้ความเป็นกันเองกับพนักงาน ดูแลพนักงานอย่างดี ดังนั้นพนักงานก็อยากตอบแทนสิ่งดีๆ ให้กับผู้นำบ้าง
3.เจ้านายคือ “ไฟ” ส่วนผู้นำคือ “น้ำแข็ง”
ภาพจาก pixabay.com
หากเกิดปัญหาในองค์กร คนที่เป็นเจ้านายจะเหมือนไฟที่พร้อมจะเผาไหม้ทำลายทุกสิ่งเพื่อให้ได้อย่างที่ใจต้องการโดยไม่สนใจว่าลูกน้องจะคิดอย่างไร เจ้านายจะไม่ถามหาเหตุผลแต่จะตัดสินใจเพราะอารมณ์ของตัวเองเป็นหลัก ต่างจาก “ผู้นำ” ที่จะมีเหตุผลและวิธีคิดที่อ่อนโยนกว่า จะบริหารลูกน้องด้วยความใจเย็น ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรก็จะฟังเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ก่อนจะตัดสินใจใดๆ ออกไป
4.เจ้านายชอบ “คนเอาใจ” แต่ผู้นำชอบ “คนทำงาน”
บุคลิกของคนเป็นเจ้านาย ต้องการวางอำนาจเพื่อให้ตัวเองดูยิ่งใหญ่ มีพลัง มีอำนาจ ซึ่งหากไปเจอลูกน้องที่เอาใจเก่ง พูดเก่ง แต่ทำงานไม่เป็น คนเป็นเจ้านายมักชอบใจเพราะการพูดยกย่องทั้งหลาย ต่างจาก “ผู้นำ” ที่ไม่สนใจคำพูดแต่สนใจที่การกระทำ ผู้นำ ตัดสินคนที่ผลงานมากกว่าการใช้วาจาสวยหรู ซึ่งเป็นแนวทางของการพัฒนาองค์กรที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต
5.เจ้านายตัดสินคนที่ “อารมณ์” แต่ผู้นำ ตัดสินคนที่ “ผลงาน”
ภาพจาก pixabay.com
เจ้านายก็คือมนุษย์คนหนึ่ง มีอารมณ์ รัก ชอบ เกลียด และคนเป็นเจ้านายหากไม่ถูกชะตากับใครก็จะปรามาสว่าคนนี้ไม่เก่ง คนนี้ไม่ดี และจะพยายามหาวิธีใดก็ได้ที่จะไม่เอาพนักงานคนนี้ไว้ ทั้งที่พนักงานคนนั้นเป็นคนเก่ง คนมีความสามารถเพียงแต่อาจไม่ถูกชะตาของคนที่เป็น “เจ้านาย” แตกต่างจาก “ผู้นำ” ที่จะไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวตัดสินใคร แต่จะให้แสดงฝีมือในการทำงาน และตัดสินคนที่ผลงานมากกว่าความพอใจของตัวเอง
6.เจ้านายคือ “กำแพง” ส่วนผู้นำคือ “ประตู”
นิสัยของเจ้านายจะปิดตัวเองไม่สนใจคนอื่น ตั้งตนว่าสูงกว่าคนอื่น ลูกน้องไม่มีวันเข้าถึง เจ้านายได้ง่ายๆ เจ้านายจะคิดเสมอว่าลูกน้องทุกคนต้องรู้ว่าเจ้านายต้องการอะไร แต่เจ้านายไม่จำเป็นต้องรู้ว่าลูกน้องต้องการอะไร ต่างจาก “ผู้นำ” ที่บางครั้งก็เป็นเหมือนเพื่อน เหมือนพ่อแม่ มีปัญหาสามารถปรึกษาได้ทุกเรื่อง ลูกน้องสามารถเข้าถึง ผู้นำได้ทุกเวลา และผู้นำส่วนใหญ่มักจะเต็มที่และเห็นคุณค่าของลูกน้องมาเป็นอันดับแรก
7.เจ้านายจะมองหา “ประโยชน์ส่วนตน” แต่ ผู้นำจะมองหา “ประโยชน์ส่วนรวม”
ภาพจาก pixabay.com
คนที่เป็นเจ้านายจะทำทุกอย่างเพื่อให้ธุรกิจตัวเองได้กำไร ให้ครอบครัวตัวเองมีความสุข โดยไม่สนใจว่าพนักงานจะเป็นอย่างไร จะอยู่อย่างไร ขอแค่ให้พนักงานเหล่านี้มาทำงานให้เราได้ก็พอ คนเป็นเจ้านายจะเชื่อเสมอว่าธุรกิจตัวเองยิ่งใหญ่ ต่อให้พนักงานคนนี้ไม่อยากทำ ก็ยังมีคนอีกมากที่อยากมาทำงานด้วย ต่างจาก “ผู้นำ” ที่มองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ให้ธุรกิจและครอบครัวตัวเองอยู่ได้ ให้ครอบครัวพนักงานอยู่ได้ คนเป็นผู้นำ มักจะเลี้ยงพนักงานเก่งๆ เอาไว้เพราะเชื่อว่าคนที่ทำงานกันมานานจะเข้าใจวิธีการทำงานได้ดีกว่าการจ้างพนักงานใหม่ และการมีพนักงานเก่าแก่ก็จะทำให้องค์กรแข็งแกร่งได้มากขึ้นด้วย
ทั้งนี้หากวิเคราะห์เจาะลึกลงไปจริงๆ เจ้าของธุรกิจหลายคนก็หลงคิดว่าตัวเองเป็น “ผู้นำ” และไม่มีใครยอมรับว่าตัวเอง เป็น “เจ้านาย” ทั้งที่ในความจริง หลายแห่งที่เจ้าของกิจการทำตัวแบบ “เจ้านาย” หลายครั้งที่เจ้าของธุรกิจพยายามสำรวจความคิดพนักงานแต่อาจจะด้วยความกลัวไม่มีงานทำลูกน้องก็มักจะบอกว่าพอใจและรู้สึกดี แต่หากคิดจะเป็น “ผู้นำ”ที่ไม่ใช่ “เจ้านาย” ต้องมีการแสดงออกที่ชัดเจน ใช้การกระทำมากกว่าคำพูด และเมื่อนั้นพนักงานก็จะรู้สึกดีและมีกำลังใจที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งๆขึ้นไป
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3cnw234 , https://bit.ly/3crg6wE
อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3bqFHV9