“ความเชื่อ+ศรัทธา+สาธุ” รวยกว่านักธุรกิจสายมู อาณาจักรที่ไม่มีวันจบ
ความเชื่อ+ศรัทธา+สาธุ เป็นสิ่งที่เอามาประเมินค่าได้ยากโดยขึ้นอยู่กับความพอใจเป็นสำคัญ เช่น การเติมน้ำมันตะเกียง ต้นทุนอาจไม่ถึง 10 บาท แต่คนทำบุญพอใจอยากใส่ตู้บริจาค 20-100 หรือแม้แต่การทำบุญในรูปแบบต่างๆ คนที่ทำบุญก็ไม่ได้หวังผลในเรื่องกำไร แต่ทำเพื่อความสบายใจและรู้สึกว่าตัวเองอยากทำและมีความสุข เป็นต้น
พูดให้ชัดๆ คือ “ความเชื่อ + ศรัทธา+สาธุ” ซึมลึกอยู่ในจิตวิญญาณของคนไทยอย่างไม่รู้ตัวประชากรทั้งหมดในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 66.05 ล้านคน นับถือพระพุทธศาสนามากกว่าร้อยละ 94 แก่นแท้ของศาสนาพุทธ “สอนให้คนมีสติ รู้จักคิดวิเคราะห์ อย่าเชื่อในสิ่งที่งมงาย” แต่เอาเข้าจริงๆ “ความเชื่อ + ศรัทธา+สาธุ” เปรียบเหมือนเครื่องปลอบใจ หรือเรื่องสร้างกำลังใจยิ่งในยุคนี้ที่คนไทย “อยากรวย”
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับ ความเชื่อ+ศรัทธา มีมูลค่ารวมกันกว่าหมื่นล้านบาทและได้รับการคาดหมายว่าเป็น 1 ในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงสุดประจำปี 2567 ถึงที่นำสายมูมาใช้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด (Muketing) เริ่มตั้งแต่การจัดแคมเปญให้เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่มมากขึ้น โดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ความเชื่อเป็นคนนำเสนอ
ถ้าลองวิเคราะห์ให้ดีๆ จะพบว่าสินค้าที่เกี่ยวกับ “ความเชื่อ” ตอนนี้มีอยู่รอบตัวเราเต็มไปหมดช่น วอลล์เปเปอร์หน้าจอโทรศัพท์มือถือ ที่มีรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม้แต่เสื้อผ้าของใช้ต่างๆ ที่เน้นสีมงคลตามวันเกิด ไม่ว่าจะกระเป๋า เสื้อผ้า หมอน ผ้าห่ม
ไม่นับรวมพวกเครื่องรางวัตถุมงคลอย่างเช่น สร้อยข้อมือ สร้อยคอ หินมงคล แม้แต่เครื่องสำอางก็กระโดดเข้าร่วม Muketing โดยนำทองคำปลุกเสกหรือว่านที่มีความเชื่อว่าเสริมศิริมงคลต่างๆ มาเป็นส่วนผสม เป็นต้น
และตั้งแต่ปี 2562 – 2567 พบว่าธุรกิจด้านความเชื่อและความศรัทธามีอัตราการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- ปี 2562 จดทะเบียนจัดตั้ง 11 ราย ทุนจดทะเบียน 15.4 ล้านบาท
- ปี 2563 จัดตั้ง 11 ราย ทุนจดทะเบียน 7.59 ล้านบาท
- ปี 2564 จัดตั้ง 20 ราย ทุนจดทะเบียน 13.41 ล้านบาท
- ปี 2565 จัดตั้ง 24 ราย ทุนจดทะเบียน 27.45 ล้านบาท
- ปี 2566 จัดตั้ง 33 ราย ทุนจดทะเบียน 26.88 ล้านบาท
- ปี 2567 ตั้งแต่เดือน มกราคม – มีนาคม พบว่าจัดตั้งไปแล้ว 12 ราย ทุนจดทะเบียน 7.51 ล้านบาท
เรื่องนี้ไม่ได้มาเล่นๆ ถึงขนาดที่มีเสียงเรียกร้องให้เรื่องนี้กลายเป็น Soft Power ของเมืองไทยเพื่อดึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ สอดคล้องกับข้อมูลจาก “ฟิวเจอร์ มาร์เก็ต อินไซต์ 2023” ที่ระบุว่าการท่องเที่ยวเชิงศรัทธามีแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวกระโดดคาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 40.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2576 ซึ่งในภาคธุรกิจเองก็สามารถนำเอา Muketing นี้ไปผนวกใช้ได้หลากหลายเช่น
- “ทัวร์มูเตลู”จัดพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมพื้นที่เชิงความเชื่อและศาสนาในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย
- การจัดเซตอาหารมงคล ประยุกต์ให้เข้ากับอาหารประจำถิ่น
- การจัดเซตอุปกรณ์ไหว้สำเร็จรูป ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีอุปกรณ์การไหว้ที่ไม่เหมือนกัน
- ธุรกิจที่พักแถมดูดวงและเสริมดวง ในรูปแบบโปรโมชันแพ็กเกจเข้าพัก พร้อมมอบสิทธิพิเศษดูดวงและเสริมดวงชะตา
- การแต่งร้านสไตล์สายมู ของ Cafe หรือร้านค้า จะเพิ่มความน่าสนใจได้มากขึ้น
และในพื้นที่ไหนก็ตามที่มีตำนาน มี Story เกี่ยวกับความเชื่อ ตรงนั้นพัฒนาเป็นธุรกิจให้เฟื่องฟูได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างที่ นครพนมมีนักธุรกิจยอมลงทุนซื้อที่ดินติดแม่น้ำโขงเนื้อที่กว่า 10 ไร่ ก่อสร้างอาคารนาคราช ซึ่งเป็นอาคารสูง 10 ชั้นประดับด้วยกระจกทั้งอาคาร รูปแบบของอาคารคล้ายพญานาค
ดยตั้งใจที่เปิดเป็นที่พักสุดหรูแนวห้องสูทวีไอพี ในบริเวณใกล้เคียงก็มี “นาคา คาเฟ่” เน้นจุดขายคือได้นั่งชมบรรยากาศริมฝั่งโขง และแนวคิดนี้ก็ดูจะได้รับความนิยมจากลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติเป็นจำนวนมากด้วย
ภาพจาก freepik.com
ในส่วนของคนทำธุรกิจแฟรนไชส์เอง ก็ผนวกเอา Muketing ไปกระตุ้นยอดขายได้เช่นการออกแบบแพ็กเกจจิ้งให้ดูเป็นศิริมงคล หรือเมนูอาหารที่มีชื่อเป็นมงคล หรือการจัดแคมเปญชิงรางวัลรับวัตถุมงคล เป็นต้น โดยความเชื่อ 5 อันดับแรกที่คนไทยสนใจคือคือ
- การพยากรณ์ (ดูดวงรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี)
- โหราศาสตร์ ดูลายมือ ไพ่ยิปซี
- สีมงคล, ตัวเลขมงคล
- เครื่องรางของขลังเช่นพระเครื่องหรือวัตถุมงคล,
- เรื่องเหนือธรรมชาติ
ข้อมูลระบุอีกว่า คนไทย 75 เปอร์เซ็นต์เชื่อในเรื่องสายมู โดยมีกลุ่มเจน Y (คนเกิดพ.ศ.2523-2540) เชื่อเรื่องดูดวงเป็นอันดับหนึ่งถึง 43.4 เปอร์เซ็นต์
ภาพจาก freepik.com
อย่างไรก็ตามธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อควรดำเนินการอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า ธุรกิจควรคำนึงถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่ง Business Model ของธุรกิจที่เกี่ยวกับความเชื่อที่จะประสบความสำเร็จต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี มุ่งเน้นการบริการ พัฒนาสินค้า/บริการอย่างต่อเนื่อง และปรับตัวตามเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
เรื่องน่ารู้!
- จำนวนวัดในเมืองไทยมีมากถึง 43,005 แห่ง
- คนไทยบริจาคเงินให้กับวัดมากถึง 54,000 ล้านบาทต่อปี
- กิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ มักจะอยู่ในช่วงเวลาสำคัญของชีวิตคนไทย ตั้งแต่เกิดจนตายเช่น การทำบุญวันเกิด, การทำบุญขึ้นบ้านใหม่, การจัดพิธีศพ หรือแม้กระทั่งการแต่งงาน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)