คนไทยกระอัก! พาเหรดของขึ้นราคา สินค้าแพงปี65

ยุคนี้เรียกได้ว่าข้าวยากหมากแพงของแท้ สินค้าทุกอย่างปรับขึ้นราคาสูงมาก อันเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ และนับตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา เราต้องได้ยินข่าวสินค้าขึ้นราคากันอย่างต่อเนื่อง สินค้าบางประเภทภาครัฐก็พยายามตรึงราคาไว้ยังไม่ขยับขึ้นทันที แต่สุดท้ายในเดือนพฤษภาคมนี้ สินค้าหลายอย่างก็อั้นราคาไม่ไหว ต้นเหตุมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทุกอย่าง รวมกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างดีเซลที่ภาครัฐใช้เงินมาอุดหนุนไม่ไหว ส่งผลให้พาเหรดของขึ้นราคา กันพร้อมหน้า

www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าสิ่งเหล่านี้คือปัญหาใหญ่ และยิ่งใกล้เปิดเทอมเข้ามาทุกทีก็ยิ่งเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นไปอีก สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้คือวางแผนการใช้เงินกันให้ดี และต้องช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด

สินค้าขึ้นราคา 2565 มีอะไรบ้าง?

1.ค่าขนส่งสินค้า เตรียมขยับ 15-20%

พาเหรดของขึ้นราคา

เป็นการปรับขึ้นตามกลไกตลาดและราคาน้ำมันดีเซลหลังรัฐบาลจะเลิกตรึงราคา 30 บาท/ลิตร โดยจะปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันไดตั้งแต่ 32-35 บาท/ลิตร คาดว่าการปรับขึ้นราคาการขนส่งจะต้องมีผลโดยตรงต่อราคาสินค้าต่างๆ จำนวนมาก

2.อสังหาริมทรัพย์ปรับขึ้นราคา 5-10%

เมื่อต้นทุนอุปกรณ์ก่อสร้างเพิ่มขึ้นส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจรับสร้างบ้านที่เตรียมมีการหารือกับบริษัทรับสร้างบ้านที่จะพร้อมใจกันทยอยปรับราคาการก่อสร้างบ้านทุกระดับอีกประมาณ 5-10% ทำให้ราคาบ้านแต่ละหลังสูงขึ้นด้วย

3.น้ำมันปาล์มราคาขวดละ 70 บาท

พาเหรดของขึ้นราคา

 

น้ำมันปาล์มขวดขนาด 1 ลิตรปรับขึ้นราคาต้นทุนขนส่ง 2 รอบ หรือขึ้นมา 35 บาทต่อลัง (จำนวน 12 ขวด) จาก 750 บาทต่อลัง เป็น 785 บาทต่อลัง ทำให้ราคาขายปลีกล่าสุดจากเดิม 68 บาท เป็น 70 บาทต่อขวด

4.ซอสปรุงรส-น้ำพริกเผา ขึ้นราคา 2-3 บาทต่อขวด

พาเหรดของขึ้นราคา

ซอสปรุงรสทุกขนาดขึ้น 2-3 บาทต่อขวด น้ำพริกเผาขนาด 500 กรัมขึ้น 15 บาท จาก 50 บาท เป็น 65 บาทต่อกระปุก และขนาด 1 กิโลกรัม จาก 105 บาท เป็น 120 บาทต่อกระปุก

5.หอมแดงปรับขึ้น 5 บาท พริกแห้งขึ้น 20 บาท / กิโลกรัม

ราคาพริกแห้งขึ้น 20 บาทต่อกิโลกรัม จาก 120 บาท เป็น 140 บาทต่อกิโลกรัม หอมแดงปรับขึ้น 5 บาท จาก 50 บาท เป็น 55 บาทต่อกิโลกรัม

6.ขนมจีนปรับขึ้นราคา 2 บาท

เป็นการปรับเพิ่มอีก 2 บาท/กิโลกรัม จาก 20 บาทเป็น 22 บาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งค่าใช้จ่าย วัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน ค่าภาชนะบรรจุภัณฑ์ เช่น ตะกร้าพลาสติก ฟิล์มปิดขนมจีน ปิดตะกร้าที่มีราคาสูงขึ้น

7.ต้นหอม – ผักชี – กระเพรา – ตั้งโอ๋ ราคาขึ้นพรวด

16

ผักชีขึ้น 30 บาท จาก 50 บาท เป็น 80 บาทต่อกิโลกรัม ต้นหอมขึ้น 50 บาท จาก 30 บาท เป็น 80 บาทต่อกิโลกรัม แตงกวาขึ้น 3 บาท จาก 15 บาท เป็น 18 บาทต่อกิโลกรัม กระเพราขึ้น 10 บาท จาก 30 บาท เป็น 40 บาทต่อกิโลกรัม ถั่วฝักยาวขึ้น 10 บาท จาก 40 บาท เป็น 50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งโอ๋ ขึ้น 30 บาท จาก 70 บาท เป็น 100 บาทต่อกิโลกรัม พริกสวนขึ้น 20 บาท จาก 100 บาท เป็น 120 บาทต่อกิโลกรัม

8.หมูปรับราคาอีก 10 บาท/กิโลกรัม

ราคาเนื้อหมูปรับขึ้นมาอีก 10 บาท/กิโลกรัม เช่น เนื้อแดงจาก 165 บาท เป็น 175 บาทต่อกิโลกรัม สามชั้นจาก 190 บาท เป็น 200 บาทต่อกิโลกรัม

9.ไข่ไก่จ่อขึ้นราคา 10 บาท/แผง

15

ราคาไข่ไก่ก็มีความผันผวนตามต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่แพงขึ้น ราคาไข่ไก่ต่อแผงในขณะนี้ ไข่ไก่เบอร์1 ราคา 125 บาท/แผง ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคา 120 บาท /แผง เป็นต้น

10.ไข่เยี่ยวม้าขึ้นราคา 5 บาท/กล่อง

ไข่เยี่ยวม้าวปรับราคาต้นทุนขายส่งขึ้น 5 บาทต่อกล่อง (จำนวน 50 ลูก) แต่ราคาขายปลีกยังคง 7 บาทต่อฟอง ขณะที่ไข่เค็มขึ้นเกือบ 1 บาท จาก 4.90 บาท เป็น 5.50 บาทต่อฟอง

11.มาม่าขอปรับขึ้นราคาเป็น 7 บาท

14

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้แจ้งต่อกรมการค้าภายในทำเรื่องขอปรับขึ้นราคาเป็น 7 บาท หรือราว ๆ 17% อันเนื่องมาจากต้นทุนแพงขึ้นทุกอย่างทั้งข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม แพคเกจจิ้ง และการขนส่ง

12.ปุ๋ยเคมีขึ้นราคากระสอบละ 50 บาท

ราคาปุ๋ยเคมีก่อนจะมีการปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ตันละ 21,000 บาท และตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ได้ปรับเพิ่มเป็นราคาตันละ 22,000 บาท ปรับขึ้นกระสอบละ 50 บาท จากกระสอบละ 1,050 ปรับขึ้นเป็นกระสอบละ 1,100 บาท

เมื่อเห็นอะไรๆ ก็แพงแบบนี้เชื่อว่าเราเองก็อดคิดไม่ได้ว่าต้องมีเงินเยอะแค่ไหนถึงจะอยู่รอดได้ในยุคนี้ ลองไปสำรวจ ดูว่ายุคนี้เราควรมีเงินเก็บสักแค่ไหน

เราควรมีเงินเก็บแค่ไหนในยุคนี้?

พาเหรดของขึ้นราคา

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยถึงผลสำรวจรายได้สำหรับคนที่มีครอบครัวมีลูกต้องเลี้ยง ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยทำงาน จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.5 ล้านบาทขณะที่คนวัยแรงงานต้องการวางแผนเกษียณที่จะอยู่ได้จนถึงอายุ 90 ปี ต้องมีค่าใช้จ่าย 3.1 ล้านบาท ซึ่งเงินเก็บที่พึงมีให้เพียงพอในยุคนี้จึงอยู่ประมาณ 7 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย

11

แต่ที่น่าตกใจกว่าคือมูลค่าการออมของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำโดยปี 2562 คนไทยมีเงินออมเฉลี่ยที่ 133,256 บาทต่อครัวเรือน และเกิน 1 ใน 5 ของครัวเรือนนำเงินออมมาใช้จ่ายได้ไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งค่าครองชีพโดยเฉพาะการอยู่ในกรุงเทพฯเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 27,485 บาท เป็นค่าครองชีพที่คิดรวมจากค่าน้ำมันรถ , ค่าเดินทาง , ค่าเช่า(กรณีที่ยังไม่ได้ซื้อบ้าน) หรือบางคนมีค่างวดในการผ่อนชำระทั้งรถยนต์ , บ้าน รวมถึงบัตรเครดิตต่างๆ หากตัดค่าครองชีพใหญ่ๆ ออกไปก็ยังเหลือค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ค่าประกันชีวิต ต่างๆ รวมๆแล้วต่อคนก็ยังมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท

พาเหรดของขึ้นราคา

ในความเป็นจริงคนไทยส่วนใหญ่มีรายได้ไม่พอรายจ่าย การคำนวณว่าควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ จึงเป็นเรื่องที่คิดได้แต่ทำไม่ได้อันเนื่องจากเหตุผลหลายอย่าง และข้อจำกัดในหลายด้านที่แต่ละคนแต่ละครอบครัวนั้นไม่เหมือนกัน คนที่รวยๆ มีเงินเก็บมากๆ ของแพงแค่ไหน ก็คงไม่สนใจ แต่กับประชาชนธรรมดาที่ต้องปากกัดตีนถีบ ขอแค่มีวิธีช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้บ้างก็น่าจะดีใจมากแล้ว


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3PdEjun , https://bit.ly/3NcelWj , https://bit.ly/386MgAF , https://bit.ly/3LSCUHj , https://bit.ly/3w7iN1A

อ้างอิงจาก

https://bit.ly/3l5F2zz

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด