คนแก่ล้นประเทศ ธุรกิจไหนโตระเบิด รีบทำ
ข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อเดือน มกราคม 2567 ระบุว่า คนไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี มีด้วยกันทั้งสิ้น 13.2 ล้านคนคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยถึง 28% ของประชากรทั้งหมด
ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ในต่างประเทศก็เช่นกันองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ตัวเลขจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 พันล้านคน โดยเป็นผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี อยู่ที่ 10% และคาดว่าในปี 2593จะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 16%
แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องโฟกัสคือ “ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย” ที่ตอนนี้มีมูลค่าสูงกว่า 1 แสนล้านบาท เฉพาะแค่ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ (NursingHome) ยังมีมูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาทและมีอัตราเติบโต 1.5 เท่าในทุกปี
ซึ่งปัจจุบันในเมืองไทยเราก็เริ่มเห็นแฟรนไชส์เหล่านี้เปิดตัวมากขึ้น ยกตัวอย่าง บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่โฮม ธุรกิจ NursingHome มาตรฐาน AACI ที่มาพร้อมสโลแกน “บอกรักผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล” ซึ่งตอนนี้มี 6 สาขาทั่วประเทศ
ภาพจาก บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่ โฮม
และหากมองในแง่ของการลงทุนเพื่อจับจุดความต้องการของผู้สูงวัยพบว่ามีความต้องการใน 3 ส่วนได้แก่
- ความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค
- ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต โดยเฉพาะทางการเงิน
- ความต้องการสุขภาพกายและใจที่ดี โดยเฉพาะการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่จำเป็น
ก็เป็นโจทย์ที่นักลงทุนทั้งหลายจะไปหาไอเดียในการทำธุรกิจ เช่น ธุรกิจผลิตอาหารปรุงสำเร็จ , ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร ธุรกิจบริการด้านเครื่องดื่ม ฯลฯ , ธุรกิจที่อยู่อาศัยที่ต้องออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
รวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการทำกิจกรรมต่างๆ ในที่พักอาศัย เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจออกแบบและตกแต่งภายใน ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ ธุรกิจขายส่ง ขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่เหมาะสมตามช่วงวัย เป็นต้น
ไม่ใช่แค่นั้นบรรดาคลินิกรักษาโรค , เภสัชภัณฑ์ , ที่ปรึกษาการลงทุน , ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านบริหารการเงิน , ธุรกิจประกันชีวิต ก็ล้วนแต่ต้องปรับตัวเพื่อจับกลุ่มลูกค้าผู้สูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยต้องค้นหาช่องทาง รูปแบบผลิตภัณฑ์ ที่จูงใจกลุ่มผู้สูงวัยให้เลือกซื้อหรือเลือกใช้บริการได้มากที่สุด
ภาพจาก บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่ โฮม
และหากมองการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของสังคมผู้สูงอายุในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564 – 2566) พบว่ามีแนวโน้มการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ปี 2564 จัดตั้ง 10,676 ราย
- ปี 2565 จัดตั้ง 13,915 ราย
- ปี 2566 จัดตั้ง 16,913 ราย
อย่างไรก็ดียังมีข้อมูลที่น่าเป็นห่วงคือผู้สูงอายุประมาณ 41.4% มีเงินออมต่ำกว่า 50,000 บาท และมีแนวโน้มอยู่คนเดียวตามลำพังเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีการประเมินกันต่อไปอีกว่าผู้สูงวัยควรมีเงินออมประมาณ 4.3 ล้านบาท (เมื่ออายุ 60ปี) ถึงจะมีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายจนถึงอายุ 100 ปี ซึ่งตัวเลขนี้ก็สวนทางกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการจะโฟกัสธุรกิจสำหรับลงทุนจึงต้องคำนึงถึงรายละเอียดต่างๆ อย่างถี่ถ้วน
แน่นอนว่าภาครัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการออกมาตรการหรือนโยบายในการดำเนินธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโต เข้มแข็ง และแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังครอบคลุมทุกประเทศทั่วโลกในขณะนี้
ภาพจาก บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่ โฮม
เรื่องน่ารู้!
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 1 ใน 3 ยังคงทำงานอยู่
- ผู้สูงอายุร้อยละ 64.8% ทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง
- ผู้สูงอายุร้อยละ 18.8 ช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่รับค่าจ้าง
- ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำธุรกิจในภาคการเกษตร รองลงมาคือบริการ และการค้า
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)