คนขายหน้าตาดีปิดการขายมากขึ้น 14% จิตวิทยาหลอกสมองไม่เหลือ!

“หน้าตาดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” เราได้ยินคนพูดคำนี้กันอย่างคุ้นหู คำถามคือแล้วมันเป็นอย่างนั้นจริงไหม? ทำไมถึงมองว่าคนหน้าตาดี มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า?

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า เราทุกคนบนโลกล้วนตกอยู่ใต้กฎของ Halo Effect หรือการโดนดึงดูดต่อคนที่มีรูปร่าง หน้าตาที่ดี โดยทำให้มองข้ามจุดด้อยอื่นๆของคนๆนั้นไป

คนขายหน้าตาดีปิดการขายมากขึ้น

ถ้ายังมองไม่เห็นภาพลองดูตัวเลขนี้ประกอบ

  • 84% ของผู้หญิงต้องการคู่ครองที่มีรูปร่างหน้าตาดี
  • 92% ของผู้ชายที่ต้องการคู่ครองที่มีรูปร่างหน้าตาดีเช่นกัน
  • 54% ผู้หญิงที่มีรูปร่างสวย หน้าตาดี มีโอกาสได้รับการติดต่อกลับจากการสมัครงาน
  • 47% ผู้ชายที่มีรูปร่างดี หน้าตาดี มีโอกาสได้รับการติดต่อกลับจากการสมัครงาน

ดังนั้นคำว่าหน้าตาดีมีชัยไปกว่าครึ่งแม้ใครจะแย้งยังไงเรื่องนี้ก็ยังจริงเสมอ อย่าโลกสวยว่ายุคนี้เขามองกันที่ความสามารถ ถึงแม้เรื่องนั้นจะจริงเช่นกัน แต่ถ้าให้เลือกว่าระหว่างคนสวยแต่เรียนไม่เก่ง กับคนเรียนเก่งแต่ไม่สวย ตัดสินกันแบบไม่ต้องมองลึกถึงรายละเอียด แว๊บแรกคนส่วนใหญ่ก็ต้องชอบคนสวยมากกว่า

ซึ่งหลักการนี้ก็นำมาใช้ได้จริงในการทำธุรกิจ หากสังเกตให้ดีพ่อค้าแม่ค้าเดี๋ยวนี้ไม่ได้แต่งตัวโทรมไปขายของ ถ้าเป็นผู้หญิงต้องแต่งหน้าให้สวยงาม เสื้อผ้านี่ก็ต้องเลือกชุดที่ใส่แล้วดูดี ที่ผ่านมาเราก็เคยเห็นกระแสที่เป็นไวรัลของแม่ค้าหน้าตาดีที่คนแห่กันเข้าคิวซื้อของกันยาวเหยียด หรือแม้แต่ผู้ชายหล่อๆ มาขายของก็เป็นที่ถูกใจของลูกค้าสาวเล็กสาวน้อยทั้งหลายด้วยเช่นกัน

คนขายหน้าตาดีปิดการขายมากขึ้น

อธิบายตามหลักของ Halo Effect นั่นเพราะสมองของเรากำลังรับข้อมูลเกี่ยวกับ หน้าตาของคนขาย, เสื้อผ้า, สถานที่, รายละเอียดมากมายเกี่ยวกับสินค้า และข้อมูลอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน และเพื่อลดขั้นตอนการประมวลผล สมองของเราเลยสั่งการให้เราจดจำแต่ลักษณะที่โดดเด่นของสิ่งนั้น ๆ ก่อน

ทำให้ข้อมูลเพียงแค่ว่า “คนขายหน้าตาดี” ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้สมองของเรา เกิดความลำเอียงไปด้วยว่า “สินค้าต้องมีคุณภาพ” จนหลวมตัวซื้อสินค้าได้ง่าย ๆ เพราะมีความหน้าตาดีของคนขายมาอยู่ในสมการประมวลผลตั้งแต่แรก

อิทธิพลของความที่หน้าตาดีมีผลการวิจัยที่ระบุว่าสามารถปิดการขายได้มากกว่าถึง 14% และมีโอกาสที่ลูกค้าจะเปิดใจมาคุยด้วยมากกว่าคนที่แต่งตัวธรรมดาถึง 600% ซึ่งเรื่องนี้ก็ไปสอดคล้องกับธุรกิจอย่างร้านค้า ร้านอาหารที่นิยมหาพนักงานสวย หล่อ แต่งตัวดี มาให้บริการลูกค้า เหตุผลก็เพราะ

  1. ช่วยสร้าง first impression ให้ลูกค้าได้
  2. ช่วยลดโอกาสการปฏิเสธการขายได้มากกว่า
  3. ช่วยเพิ่ม loyalty customer ที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นแนะนำให้ผู้อื่นมาซื้อหรือใช้บริการด้วย

คนขายหน้าตาดีปิดการขายมากขึ้น

และไม่ใช่แค่เรื่องคนขายที่หน้าตาดีอันที่จริงเรื่องความสวยความงามที่มีผลต่อยอดขายนี้ก็เอาไปใช้กับการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ อันไหนสวยกว่าคนสนใจก็เยอะกว่าด้วยเช่นกัน มีข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า

  • 65% คือลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อสินค้าครั้งแรกจากแพ็กเกจจิ้ง
  • 55% คือลูกค้าเดิมที่ซื้อสินค้าซ้ำเพราะประทับใจในแพ็กเกจจิ้ง
  • 50% คือลูกค้าที่เปลี่ยนแบรนด์ เพราะไม่ประทับใจในแพ็กเกจจิ้ง

แต่ถึงแม้ว่าเรื่องหน้าตาดีจะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขายที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่เคล็ดลับที่แท้จริงไม่ได้อยู่ตรงนั้นทั้งหมด รูปลักษณ์ภายนอกสินค้า หรือหน้าตาคนขาย อาจมีอิทธิพลในช่วงแรก แต่ถ้าสินค้าหรือบริการที่ได้รับไปไม่เป็นที่ประทับใจ

หรือบางทีสวยแต่รูปจูบไม่หอม แทนที่ธุรกิจจะเติบโตก็อาจกลายเป็นหยุดชะงัก ยิ่งยุคนี้คนส่วนใหญ่จะตัดสินใจซื้อสินค้าอะไรมองที่ความคุ้มค่าเป็นหลัก บางทีสินค้าหรือคนขายที่หน้าตาดี ก็ยังไม่ดีเท่าสินค้าที่ราคาถูกใจ ดังนั้นการตลาดไม่ว่ายุคไหนหน้าตาดีอย่างเดียว ทำกำไรยาวๆไม่ได้แน่นอน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด