ข้อเสียที่เจ้าของร้าน Food Truck ไม่(เคย) บอก!

ในโลกของธุรกิจมีทั้งฝั่งสวยงามและอีกด้านที่ใครหลายคนอาจไม่รู้! เรากำลังพูดถึงการลงทุน “Food Truck” ที่ด้านหนึ่งมองว่านี่คือเทรนด์การบริโภคแนว Eat Art ที่สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ จึงเป็นรูปแบบการลงทุนที่น่าสนใจมาก ถ้าดูเฉพาะจุดเด่นจะมองเห็นแต่ความหอมหวาน ไม่ว่าเงินลงทุนที่น้อยกว่าถ้าเทียบกับการเปิดร้านทั่วไป และสามาถเคลื่อนย้ายให้บริการไปในสถานที่ต่างๆ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น

ข้อเสียที่เจ้าของร้าน

ตอกย้ำด้วยข้อมูลน่าสนใจที่ระบุว่า

  • ปี 2564 จำนวน Food Truck ทั้งประเทศมีประมาณ 2,800 คัน
  • ปี 2565 จำนวน Food Truck ทั้งประเทศมีประมาณ 3,000 คัน
  • ปี 2566 จำนวน Food Truck ทั้งประเทศมีประมาณ 3 ,300 คัน

ถ้าดูที่จำนวนก็เห็นตัวเลขที่เพิ่มชัดเจนแถมคาดการณ์ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างเงินหมุนเวียนจากการขายอาหาร/เครื่องดื่มภายในประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 3,600 ล้านบาทอีกด้วย

อันที่จริงการลงทุน Food Truck ก็น่าสนใจและสร้างรายได้ดีจริง คนที่ทำสำเร็จมีรายได้จากธุรกิจนี้ก็มี ตัวอย่างให้เห็นแม้แต่แบรนด์ใหญ่ๆ เองก็มีแตกไลน์มาลงทุนในรถ Food Truck เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็มีความจริงที่ต้องยอมรับและก่อนลงทุนต้องวางแผนรับมือในสิ่งที่เราอาจไม่รู้ ซึ่งก็มีหลายเรื่องได้แก่

1.ต้องมีเงินก้อนสำหรับเริ่มต้น

ข้อเสียที่เจ้าของร้าน

ซึ่งมีทั้งรถมือ 2 และรถมือ 1 ยี่ห้อของรถยนต์ที่นิยมนำมาดัดแปลงให้เป็น Food Truck เช่น Suzuki Carry, TATA SUPER ACE,Chagan Star Truck,Changan Space Truck และ Toyota Hilux Revo ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละรุ่นและยี่ห้อ

เบ็ดเสร็จ รถ Food Truck ราคาเริ่มตั้งแต่ 300,000 – 700,000 บาท (ราคาโดยประมาณ) ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบเป็นสำคัญเนื่องจากภายในรถต้องดีไซน์หลายอย่างทั้งหลังคา , ติดตั้งเคาน์เตอร์ / คีออส , งานระบบไฟฟ้า , ป้ายโฆษณา เป็นต้น ไม่นับรวมรายจ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับรถเช่นค่าจดทะเบียน , ภาษีรถยนต์ , ประกันภัย เป็นต้น

2.คำนึงถึงค่าเสื่อมสภาพของรถ

ข้อเสียที่เจ้าของร้าน

เนื่องจากเป็นรถยนต์จึงต้องมีค่าเสื่อมสภาพก็เป็นรายจ่ายที่คนลงทุนต้องยอมรับให้ได้ไม่ใช่มองแค่เรื่องรายได้อย่างเดียว ราคาในการซ่อมบำรุง Food Truck ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานไม่ว่าจะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง , ระบบเบรก ,ระบบเกียร์ , ระบบไฟฟ้า หรือแม้แต่ยางรถยนต์ ไม่นับรวมเรื่องอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ซึ่งหากเกิดขึ้นรถจำเป็นต้องซ่อมระหว่างนั้นเราก็จะขาดรายได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้คนลงทุนต้องมีแผนสำรองในการรับมือเบื้องต้น

3.พนักงานประจำร้าน

ข้อเสียที่เจ้าของร้าน

ถ้าออกมาทำเอง วิ่ง Food Truck ด้วยตัวเองปัญหานี้อาจลดน้อยลง แต่ในกรณีที่ไม่ได้ทำเอง แต่มองจะทำเป็นรายได้เสริมก็ต้องหาพนักงานมาช่วยขายซึ่ง Food Truck เป็นการทำงานที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการขาย

บางครั้งไปออกงานอีเว้นท์ก็จะมีเวลาเข้างาน และเลิกงานที่ต่างกัน หรือแม้แต่ใน 1 สัปดาห์วันที่ขายสินค้าได้ก็ไม่เหมือนกัน คนที่เป็นพนักงานต้องมีความเข้าใจและยอมรับในเรื่องเหล่านี้ได้ รวมถึงต้องหาพนักงานที่ไว้ใจได้และมีไหวพริบในการทำงานที่ดี

4.การหาสถานที่สำหรับขาย

ข้อเสียที่เจ้าของร้าน

อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก การมี Food Truck ไม่ได้หมายความว่าจะวิ่งไปจอดที่ไหนก็ได้อย่าลืมว่าทุกพื้นที่เขาก็มีเจ้าของทำเลกันทั้งนั้น จะไปจอดสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้เด็ดขาดคนทำ Food Truck ส่วนใหญ่จึงต้องเข้าร่วมไลน์กรุ๊ปของคนที่จัดงานอีเว้นท์ หรือรวมตัวกันเพื่อแชร์ว่ามีงานไหนที่จะขายสินค้าได้บ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียวบางครั้งเจ้าของงานก็คัดเลือกแบรนด์ที่จะเข้ามาขายสินค้าในงาน

ถ้าเขาไม่เลือกเรายังไงก็เข้าไปขายไม่ได้ หรือแม้แต่งานคอนเสิร์ต หรืองานใดๆ ก็ตามถ้าเราไม่ดีลกับผู้จัดงาน อยู่ๆจะเข้าไปจอดรถขายเลยอันนี้ก็ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นการหาทำเลเป็นอีกเรื่องที่คนทำ Food Truck ต้องเข้าใจและหาวิธีรับมือรวมถึงวางแผนให้ดี

5.สภาพอากาศมีผลต่อยอดขายมาก

แม้ Food Truck จะเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายแต่ถ้าวันไหนฟ้าฝนไม่เป็นใจ ยอดขายก็มีผลกระทบได้เช่นกัน ไม่นับรวมเรื่องทำเลที่หากไม่มีที่ประจำต้องวิ่งเปลี่ยนไปเรื่อยๆ การให้ลูกค้าในแต่ละพื้นที่มารู้จักเราในทันทีก็เป็นเรื่องยาก

ดังนั้นคนที่ลงทุน Food Truck จึงต้องมีแผนการตลาดที่ดี กำหนดรูปแบบการขายให้ชัดเจนว่าจะขายที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และในวันไหนที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจจะรับมือกับปัญหาอย่างไรเพื่อให้กระทบกับธุรกิจน้อยที่สุด

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่คนทำ Food Truck ควรรู้เช่น

  • การมีพื้นที่จำกัดทำให้กักตุนวัตถุดิบได้ไม่เยอะ ต้องคำนวณปริมาณการขายในแต่ละวันให้ดี
  • การบริการที่ต้องเน้นสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากลูกค้าคาดหวังในเรื่องความสะดวกมากกว่าจะไปซื้อทานที่ร้าน
  • สินค้าควรมีไอเดียน่าสนใจเพื่อให้มีความแตกต่างและเพื่อสร้างจุดขายหรือสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักได้มากขึ้น

ทั้งนี้ Food Truck มีเสน่ห์ที่น่าสนใจกว่าการทำร้านแบบรถเข็นทั่วไป ทำให้สินค้าหรือว่าแบรนด์เราดูดีขึ้นได้ มีโอกาสที่จะตั้งราคาสินค้าได้ดีกว่า แต่เหนือสิ่งอื่นใดการลงทุนก็ควรมีแผนบริหารจัดการที่ชัดเจนทั้งในเรื่องวัตถุดิบ , การตลาด , การหาสถานที่ขาย คนที่เริ่มต้นธุรกิจ Food Truck ใหม่ๆ อาจไม่สร้างกำไรในทันที โอกาสคืนทุนของธุรกิจนี้ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียการตลาดเป็นสำคัญด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consul

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด