ข้อเดียวตื่น! กำไรแค่ไหน ทำแฟรนไชส์ได้

ถ้าร้านเราขายดีมากและมีความคิดว่าอยากขายแฟรนไชส์ไม่ใช่จะทำกันได้ทันที ต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี โดยมีขั้นตอนเบื้องต้นได้แก่

  1. ศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนแฟรนไชส์ว่ามีระบบและขั้นตอนอย่างไร
  2. การสร้างร้านต้นแบบ หรือมีการขยายสาขาอย่างน้อย 2-3 แห่ง
  3. การจดทะเบียนแฟรนไชส์ทั้งเรื่องเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ เป็นต้น
  4. การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Operation Manual) ที่เป็นเหมือนพิมพ์เขียวของระบบงานทั้งหมด
  5. พัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบอย่างมีคุณภาพ

อันนี้คือหลักการเบื้องต้นถ้าทำสิ่งเหล่านี้ได้แล้วก็จะนำไปสู่ขั้นตอนอื่น เช่นการจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ , การนำเสนอขายแฟรนไชส์ , วิธีการส่งเสริมด้านการตลาดแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เป็นต้น

กำไรแค่ไหน ทำแฟรนไชส์ได้

แต่ทุกเรื่องที่พูดมาจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าธุรกิจของเรา “ยังมีกำไรไม่มากพอ” ถ้าขนาดเราทำเองยังขาดทุนบ้าง กำไรบ้าง จะเอาธุรกิจนี้ไปขายให้คนอื่นทำได้ยังไง ลองมาดูกันว่าธุรกิจของเราต้องมีกำไรแค่ไหน ถึงจะพอให้ขายแฟรนไชส์ได้

ยกตัวอย่างว่าถ้าเปิดร้านขายอาหารกำไรสุทธิก่อนร้านอาหารจะเป็นแฟรนไชส์ควรอยู่ที่ 25% เพราะต้องไม่ลืมว่าระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน แฟรนไชส์ซีจำเป็นต้องจ่ายค่า Marketing Fee และ Royalty Fees ให้กับแฟรนไชส์ซอ หมายความว่ารายได้ของแฟรนไชส์ซีเองต้องหักออกในส่วนนี้ออกด้วยรวมแล้วประมาณ 7%

ถ้าแฟรนไชส์ซอมีกำไร 25% เมื่อเราลงทุน (แฟรนไชส์ซี) ต้องหัก Marketing Fee + Royalty Fees อีก 7% จะมีกำไรแท้จริงอยู่ที่ 18% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าเพียงพอให้การลงทุนมีกำไรได้ เพราะตัวเลขนี้คือกำไรสุทธิที่แฟรนไชส์ซีจะได้รับ ซึ่งระยะเวลาคืนทุนของแฟรนไชส์ซีจะเป็นเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับ “งบลงทุน” ในเบื้องต้น

พูดกันเฉยๆ ก็อาจไม่เข้าใจลองยกตัวเลขมาให้เห็นสักหน่อยจะได้เข้าใจมากขึ้น เรายกตัวอย่างว่า แฟรนไชส์ซีใช้งบในการลงทุนรวม 360,000 บาท

นั่นหมายความว่าสิ่งที่ผู้ลงทุนจะได้รับคือวิธีการบริหารจัดการร้าน , การฝึกอบรม , การพัฒนาบุคลากร , การส่งเสริมด้านการตลาด , การสอนสูตรเมนู และถ้าหากร้านมียอดขายอยู่ที่ 200,00 บาท กำไรของแฟรนไชส์ซีจะได้อยู่ที่ 18% ต่อเดือนหรือประมาณ 36,000 บาท จึงมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 10 เดือน

กำไรแค่ไหน ทำแฟรนไชส์ได้

อย่างไรก็ดีตัวเลขต้นทุนอาจผันแปรได้เช่นถ้าเราไม่มีต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ก็สามารถตัดรายจ่ายนี้ออกไป หรือถ้าบริหารจัดการสต็อคได้ดีลดการสูญเสียวัตถุดิบ (food waste) ได้มากต้นทุนวัตถุดิบเราอาจลดลง ก็จะไปเพิ่มที่ผลกำไรได้มากขึ้นด้วย

แต่ตัวเลขว่าร้านควรมีกำไรเบื้องต้นกี่เปอร์เซ็นต์นี้เป็นแค่ค่าประมาณ ซึ่งในกลุ่มร้านอาหารถ้าอยากทำแฟรนไชส์ก็ไม่ควรให้ตัวเลขกำไรของร้านน้อยลงกว่านี้ แต่ถ้าเป็นร้านเครื่องดื่มหรือธุรกิจอื่นๆ ตัวเลขอาจจะผันแปรได้ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน รูปแบบการลงทุนเป็นสำคัญ

ทีนี้ตัดกลับมาที่ธุรกิจขนาดเล็ก สินค้าง่ายๆ ยกตัวอย่างพวกปิ้งย่างที่เราก็เห็นว่า ค่าแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ไม่แพง มีเงิน 3,000 -5,000 บาท ก็เริ่มต้นได้ หากเราจะทำธุรกิจปิ้งย่างของเราให้เป็นแฟรนไชส์ได้วิธีคำนวณอาจไม่ยุ่งยากเท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่

แต่สำคัญที่เราเองก็ต้องเริ่มสร้างร้าน สร้างแบรนด์ มีสินค้าที่เป็นรูปเฉพาะของเราด้วย ถ้าอยากขายแฟรนไชส์เราก็ต้องมีประสบการณ์ที่เคยเปิดร้านเอง ขายเอง เพื่อเอาความรู้นี้ไปถ่ายทอดให้คนที่อยากลงทุน รู้ว่าควรทำอย่างไร มีปัญหาแล้วต้องแก้แบบไหน

เพราะส่วนใหญ่การลงทุนน้อยๆก็มักไม่มีค่า Marketing Fee + Royalty Fees แต่คนลงทุนก็หวังว่าถ้าซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วจะขายดีมีกำไรคืนทุนไว ถ้าคนเลือกลงทุนแล้วประทับใจโอกาสที่จะขายแฟรนไชส์ให้เพิ่มสาขาก็จะง่ายมากขึ้นด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด