ขายแฟรนไชส์ ไปต่อ หรือ พอแค่นี้
เคยเห็นเจ้าของธุรกิจหลายๆ คน พอสินค้าและบริการของตัวเองได้รับความนิยม ขายดิบขายดี จนกระทั่งมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ก็อยากขายเอาเงินค่าแฟรนไชส์ แต่ตัวเองไม่คิดว่ายังไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์อะไรดีพอ อีกทั้งระบบธุรกิจต่างๆ ก็ยังไม่พร้อม การจัดส่งวัตถุดิบไม่ทัน ดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ทั่วถึง ปล่อยผู้ซื้อแฟรนไชส์ขายตามมีตามเกิด
ถ้าถามว่าเมื่อเกิดปัญหาแบบนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ควร ขายแฟรนไชส์ ไปต่อ หรือ พอแค่นี้ ขอตอบให้เลยว่าเจ้าของแฟรนไชส์ควรพอแค่นี้ก่อน หยุดพักแล้วค่อยไปต่อ โดยเจ้าของธุรกิจต้องเริ่มจากการศึกษาหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์ และสร้างระบบแฟรนไชส์ของตัวเองให้แน่นทั้งหลังบ้าน หน้าบ้าน มีทีมงานพร้อมให้การช่วยเหลือ ทั้งทีมขาย ทีมอบรม ทีมการตลาด วิเคราะห์ทำเล บัญชี การเงิน สต็อก ไอที ทีมตรวจสอบมาตรฐาน ฯลฯ
ถ้าฝืน ขายแฟรนไชส์ต่อไปเรื่อยๆ พอมีผู้ซื้อแฟรนไชส์มากขึ้นๆ อาจจะให้การดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการทำตลาด โปรโมทธุรกิจ การจัดส่งวัตถุดิบ เมื่อผู้ซื้อแฟรนไชส์รู้สึกว่าเจ้าของแฟรนไชส์ดูแลพวกเขาไม่ดี เช่น จัดส่งสินค้าวัตถุดิบไม่ทัน ส่งบ้างไม่ส่งบ้าง อาจเกิดการทะเลาะกัน (เหมือนกรณีลูกชิ้นเชฟอ้อย) ในที่สุดก็ไปไม่รอด
นอกจากนี้ ตอนมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องดูคนให้ดี อย่าคิดหวังเงินค่าแฟรนไชส์อย่างเดียว และต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่เอารัดเอาเปรียบ พร้อมให้การช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้เติบไปด้วยกัน
เพราะระบบแฟรนไชส์เป็นการขายความสำเร็จ ขายระบบ ขายองค์ความรู้ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องปฏิบัติตามระบบอย่างเคร่งครัด โดยได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการทำธุรกิจจากเจ้าของแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา
#เช็คลิสต์เจ้าของแฟรนไชส์ ไปต่อ
- มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอสมควร
- ธุรกิจก่อตั้งมานาน มีสาขาต้นแบบ
- แบรนด์มีชื่อเสียง คนรู้จักวางกว้าง
- สินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภค
- มีระบบสนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไชส์ซี
- ตรวจสอบมาตรฐานสาขาแฟรนไชส์สม่ำเสมอ
- มีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
#เช็คลิสต์เจ้าของแฟรนไชส์ พอแค่นี้
- ไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์
- ธุรกิจก่อตั้งได้ไม่นาน อยากขาย
- แบรนด์ไม่มีชื่อเสียง คนไม่รู้จัก
- สินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค
- คัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่มีคุณภาพ
- ระบบแฟรนไชส์ไม่แน่น เกิดปัญหาบ่อย
- ไม่ตรวจสอบมาตรฐานแฟรนไชส์
- ไม่สนับสนุนแฟรนไชส์ซีต่อเนื่อง
สรุปก็คือ เจ้าของธุรกิจที่อยากให้กิจการของตัวเองขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์เดียวที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ คือ การขายแฟรนไชส์ ใช้เงินลงทุนต่ำอีกต่างหาก เพราะคนซื้อแฟรนไชส์เป็นฝ่ายลงทุน แต่หัวใจสำคัญของระบบ “แฟรนไชส์” เจ้าของแฟรนไชส์ต้องพร้อมทุกๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ แบรนด์ธุรกิจคนรู้จัก สินค้าตอบโจทย์ผู้บริโภคในวงกว้าง ระบบแฟรนไชส์แน่นทั้งหลังบ้าน-หน้าบ้าน มีทีมงานที่พร้อม มีการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ดูแลเขาให้เติบโตไปด้วยกัน เพราะเมื่อแฟรนไชส์ซีมีรายได้ดีและอยู่รอดได้ เจ้าของแฟรนไชส์ก็อยู่รอดด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)