ขายพวงมาลัยให้โลกจำ ทำเงินล้าน กำไรเดือนละแสน!

ถ้าใจเรารักในสิ่งใด และมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้น ย่อมพัฒนาให้กลายเป็นธุรกิจเงินล้านได้ ซึ่งหลายคนอาจไม่เชื่อว่า “พวงมาลัย” สินค้าที่ทุกคนรู้จักดี แต่ไม่มีใครคิดว่าการขายพวงมาลัยจะสร้างเงินล้านได้

อาจจะเพราะความคุ้นชิน ความคุ้นเคยที่เราเห็นพวงมาลัยตามสี่แยก ตามตลาด ขายพวงละ 10-20 บาท ไหนจะต้นทุนของดอกมะลิ ต้นทุนค่าแรงในการร้อย หักลบค่าเหนื่อยค่าแรงทำให้ไม่น่าแปลกใจที่คนส่วนใหญ่ไม่คิดสร้างรายได้จากการขายพวงมาลัย

อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com มีอีกธุรกิจที่เรียกว่า ขายพวงมาลัยให้โลกจำ และไม่ได้จำธรรมดานี่คือธุรกิจที่อยู่มานานและทุกวันนี้กำไรไม่ต่ำกว่าเดือนละแสน รวมๆ แล้วต่อปีมีรายได้หลายล้านบาท

“พวงมาลัย ภาณุมาศ” ธุรกิจร้านพวงมาลัยที่ตลาดสี่มุมเมือง

ขายพวงมาลัยให้โลกจำ

ภาพจาก facebook.com/malaipanumad

หลายคนน่าจะรู้จักร้านนี้เป็นอย่างดี จุดเด่นของร้านคือ ร้านจำหน่ายมาลัยคล้องมือ หรือมาลัยข้อพระกร ที่ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของมาลัยที่ใช้การแบ่งตามหน้าที่ใช้สอย อยู่ในกลุ่มของมาลัยชายเดี่ยว มีลักษณะเป็นพวงกลม มีอุบะห้อยเป็นชายเพียงพวงเดียว

จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้เริ่มจากการขายส่งวัตถุดิบดอกไม้ วันไหนวัตถุดิบเหลือก็เอามาร้อยมาลัยขาย จุดหักเหสำคัญคือการที่ได้รุ่นลูกเข้ามาช่วยบริหารจัดการ เริ่มด้วยการใช้โซเชี่ยลมีเดียเข้ามาช่วยทำการตลาดตั้งแต่ Hi-5 มาถึง Facebook , Instragram ในช่วงแรกเน้นการโพสต์กิจวัตรประจำวันที่ทำ ไม่ได้เปิดรับออร์เดอร์ แต่พอเริ่มมีคนเห็นเริ่มมีคนรู้จัก ก็ทำให้มีคนสนใจและติดต่อเข้ามามากขึ้น

จุดเปลี่ยนอีกครั้งเกิดขึ้นในปี 2554 ที่น้ำท่วมใหญ่ทั่วประเทศที่ชาวสวนดอกไม้ส่งวัตถุดิบให้ลูกค้าเองโดยไม่ผ่านร้าน ทำให้ต้องเลิกขายวัตถุดิบดอกไม้แล้วหันมาทำพวงมาลัยขายเพียงอย่างเดียวเช่นกัน เรียกว่าเป็นวิกฤติที่สร้างโอกาสเพราะทำให้มุ่งมั่นในการพัฒนาฝีมือการร้อยมาลัยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น มีกลุ่มลูกค้าที่ติดตามและรู้จักร้านให้ความสนใจมาก รายได้ขณะนั้นไม่ต่ำกว่า 100,000 – 200,000 บาท/เดือน

14

ภาพจาก facebook.com/malaipanumad

ซึ่งทางร้านได้พัฒนามาลัยในรูปแบบต่างๆ ให้มากขึ้น ตามความต้องการของลูกค้า และการคัดคนที่มีฝีมือในการร้อยมาลัยเข้ามาร่วมงาน ก็ยิ่งทำให้สินค้าของทางร้านมีความหลากหลายและน่านใจมากขึ้น

ปัจจุบันพวงมาลัยที่ขายดีที่สุดคือมาลัยคล้องมือ ราคาเริ่มต้นที่ 1,000 บาท และมีลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์รวมกว่า 50,000 คนที่สนใจและติดตาม ช่วงเวลาขายดีที่สุดของปีคือ ช่วงวันแม่ซึ่งสามารถทำรายได้สูงสุดถึง 2 ล้านบาทภายในวันเดียว

และทุกวันนี้านพวงมาลัย ภาณุมาศ มีที่เดียว คือที่ตลาดสี่มุมเมือง ไม่มีสาขา สาเหตุที่ไม่คิดย้ายไปจากที่นี่เพราะจุดเริ่มต้นของร้านอยู่ที่นี่ มีกินมีใช้ เติบโตมาได้ก็เพราะที่นี่ กลายเป็นพื้นที่ที่มีความผูกผัน และสิ่งสำคัญที่ยังไม่ขยายสาขาเพราะต้องการควบคุมคุณภาพสินค้าลูกค้าทุกคนประทับใจ

เคล็ดลับความสำเร็จ “ขายพวงมาลัย” สร้างเงินล้าน

ร้านพวงมาลัยภาณุมาศเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความสำเร็จ จากการถ่ายทอดประสบการณ์ เรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้ทันตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป สำหรับใครที่อยากมีธุรกิจอยากประสบความสำเร็จได้เช่นนี้บ้างควรเรียนรู้ถอดสูตรเคล็ดลับที่น่าสนใจไว้ทำตามได้แก่

1.มุ่งมั่นตั้งใจและโฟกัสงานที่ตัวเองทำ

13

ภาพจาก facebook.com/malaipanumad

โดยใช้ความสามารถที่ตัวเองมีมาพัฒนาเป็นรายได้ โดยไม่เปลี่ยนไปตามกระแส ไม่โอนเอนหวั่นไหวไปตามความคิดของผู้อื่น สนใจแต่สิ่งที่ตัวเองทำ และจ้องจะพัฒนาเฉพาะงานตัวเองให้ดีที่สุดเท่านั้น

2.ใช้การตลาดออนไลน์ให้เกิดประโยชน์

12

ภาพจาก facebook.com/malaipanumad

ในช่วงแรกร้านพวงมาลัยภาณุมาศก็ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จนเมื่อผนวกใช้การตลาดออนไลน์เข้ามา เพิ่มให้มีคนรู้จัก ซึ่งการโพสต์กิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอก็เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความจดจำให้คนรับรู้และได้กลายมาเป็นคนติดตามและกลายเป็นลูกค้ามากขึ้น

3.ต่อยอดธุรกิจให้มีความหลากหลายมากขึ้น

11

ภาพจาก facebook.com/malaipanumad

เป้าหมายของร้านพวงมาลัยภาณุมาศคือการเป็น One Stop Service รวมถึงเป็นผู้ให้คำปรึกษา และเป็นออร์แกไนเซอร์เรื่องดอกไม้ ที่ครบวงจรทุกด้าน ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำและสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้นด้วย

4.รักษาคุณภาพสินค้า

10

ภาพจาก facebook.com/malaipanumad

เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ทำธุรกิจแล้วไม่เติบโตเพราะคุณภาพสินค้าเปลี่ยนไป ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่เชื่อมั่น ซึ่งถ้าเราควบคุมเรื่องนี้ได้จะทำให้สินค้าเรามีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ซึ่งการที่ร้านพวงมาลัยภาณุมาศไม่ขยายสาขาก็เพราะต้องการรักษามาตรฐานสินค้าให้ดีที่สุด

5.ราคาสินค้าเหมาะสม บริการดีให้ลูกค้าประทับใจ

9

ภาพจาก facebook.com/malaipanumad

ในยุคที่ต้นทุนมีความผันผวน การทำธุรกิจใดๆ ก็ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับสถานการณ์แบบที่ลูกค้าเข้าใจได้ หากต้นทุนแพงมีการปรับขึ้นราคาบ้างก็ไม่น่าแปลก แต่เมื่อต้นทุนลดลงก็ควรมีการปรับราคาให้เหมาะสมด้วย รวมถึงบริการจากร้านสู่ลูกค้าต้องให้เกิดความประทับใจและอยากกลับมาใช้บริการซ้ำอีก

ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นธุรกิจจากสินค้าอะไร ขอให้เราตั้งใจและทุ่มเทจะทำอย่างจริงจัง ความสำเร็จของร้านพวงมาลัยภาณุมาศตอกย้ำได้อย่างดีว่าสินค้าขายดียุคนี้ขอให้เน้นคุณภาพ บริการที่ประทับใจ มีการต่อยอดธุรกิจที่ดี มีการใช้เทคนิคการตลาดเข้าร่วม รวมถึงมีการบริหารจัดการองค์กรที่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นคีเวิร์ดสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/32qYQrH , https://bit.ly/3ITzLFp

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3GDIk5O

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด