ขายผ่าน LINE MAN จดทะเบียนอะไรได้บ้าง

หลายคนมีคำถามว่า ทำอาหารและขนมขายแบบออนไลน์ ไม่มีหน้าร้าน รวมถึงอยากขายผ่านทางแอปพลิเคชั่นส่งอาหารต่างๆ อย่างเช่น LINE MAN อยากทราบว่าจดทะเบียนอะไรได้บ้าง และการลงทะเบียนขึ้นเป็นร้านอาหารใน LINE MAN เพื่อให้ชื่อร้านขึ้นใน LINE MAN มีกฎระเบียบอะไรหรือไม่ จำเป็นต้องมีหน้าร้านด้วยหรือไม่จึงสามารถทำได้ ใครที่อยาก ขายผ่าน LINE MAN แบบไม่มีหน้าร้าน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ด้วยครับ

จริงๆ แล้ว ไม่ว่าเราจะเปิดร้านอาหาร หรือ ดำเนินกิจการใดๆ ต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นการเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเราได้เริ่มประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีสถานที่ตั้งเป็นกิจจะลักษณะ มีชื่อกิจการอยู่ในระบบของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

ขายผ่าน LINE MAN

ภาพจาก bit.ly/34cEcbY

โดยหากเราเปิดร้านอาหารและขนมแบบมีหน้าร้าน ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้อง หากทำคนเดียวก็จดแบบบุคคลธรรมดา หากมีหุ้นส่วนและต้องใช้เงินลงทุนสูง ควรจดทะเบียนพาณิชย์แบบนิติบุคคล

แต่ถ้าหากขายแบบออนไลน์ มีระบบชำระเงินต่างๆ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ 2,000 บาท และวันละ 100 ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อจดแล้วก็จะได้เครื่องหมายว่าเราทำถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดทะเบียนเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทางลูกค้า และอาจต้องทำป้ายร้านแล้วถ่ายรูปให้เจ้าหน้าที่ดูเป็นตัวอย่างด้วย

การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา

ขายผ่าน LINE MAN

ภาพจาก facebook.com/linemanth

การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา หรือพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบการร้านอาหาร

  • หากร้านมีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ สำนักงานเขตที่ร้านอาหารตั้งอยู่
  • ในต่างจังหวัด ยื่นคำขอที่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่ร้านอาหารตั้งอยู่ในท้องที่ มีค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ฉบับละ 50 บาท

เมื่อดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว จะต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย และต้องจัดให้มีป้ายชื่อร้าน ที่ใช้ในการประกอบพาณิชย์ไว้หน้าร้านและร้านสาขา (ถ้ามี)

ขายผ่าน LINE MAN

ภาพจาก facebook.com/linemanth

ทั้งนี้ กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ในครึ่งปีแรก และ ภ.ง.ด. 90 ในครึ่งปีหลัง ส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ ไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปี ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจะจดก็ได้ แต่ถ้ามีรายได้เกินทุกรายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01)

ตัวอย่าง เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) https://bit.ly/3yKUas7

ขายผ่าน LINE MAN

ภาพจาก facebook.com/WongnaiForBusiness

ทั้งนี้ ต่อคำถามที่ว่า ทำอาหารและขนมขายแบบออนไลน์ ไม่มีหน้าร้าน รวมถึงอยากขายผ่านทางแอปพลิเคชั่น LINE MAN ทำได้หรือไม่นั้น คำตอบก็คือ ทำได้ เพราะมีข้อมูลจาก Line man ตอบคำถามที่ว่า “หากไม่มีหน้าร้าน สามารถเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ร้านค้า LINE MAN ได้หรือไม่?

20

ภาพจาก bit.ly/34fO4BQ

คำตอบ ก็คือ แม้ไม่มีหน้าร้าน ก็สามารถเปิดร้านบน LINE MAN ได้ โดยไม่มีข้อจำกัด โดยลงทะเบียนเปิดร้าน เริ่มใช้งานเลย เพียงดาวน์โหลด Wongnai Merchant App บน App Store และ Play Store

แต่ถึงอย่างไร ร้านค้าทั้งมีหน้าร้าน และไม่มีหน้าร้าน จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เพื่อยืนยันชื่อและตัวตน รวมถึงจดทะเบียนต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายออนไลน์

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3uks03y

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช