ขายของตลาดนัด “เลือกตำแหน่งตั้งร้าน” ยังไง ให้ลูกค้ามาเยอะ

คำว่า “ตำแหน่งตั้งร้าน” ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับคำว่า “ฮวงจุ้ย” หรือจะเรียกว่าทิศทางที่ช่วยเสริมการขาย เพิ่มกำลังใจให้พ่อค้าแม่ค้าได้มากขึ้น ซึ่งฮวงจุ้ยของตลาดร้านค้าต้องการความเคลื่อนไหว ที่สะดวกคล่องตัว ดึงดูดลูกค้าให้สนใจสินค้าและเข้าเลือกชมสินค้าได้ง่าย

www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าหลายคนมีแนวคิดง่ายๆ ในการ เลือกตำแหน่งตั้งร้าน คือมองเห็นได้ง่าย มองเห็นได้ทันที แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเลือกตำแหน่งตั้งร้านได้ตามต้องการ ตลาดนัดบางแห่งมีการจับคิว จับฉลากหมุนเวียนตำแหน่งตั้งร้านไปเรื่อย แต่ถ้าเราเลือกได้ก็ควรมีเทคนิคในการ เลือกตำแหน่งตั้งร้าน ในตลาดนัดดังนี้

1.ล็อคที่ 2 ตำแหน่งตั้งร้านที่คนตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น

เลือกตำแหน่งตั้งร้าน

เป็นธรรมดาว่าการเลือกตำแหน่งตั้งร้าน คนส่วนใหญ่ต้องการอยู่หน้าตลาด เพราะเป็นจุดที่มองเห็นชัดเจน คนเดินผ่านเข้าตลาดก็จะเห็นร้านค้าของเราก่อน แต่ก็ใช่ว่าการตั้งร้านหน้าตลาดหรือล็อคแรกสุดจะดีเสมอไป ต้องไม่ลืมว่าลูกค้าที่เดินเข้ามายังไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าใดทันที ในทางจิตวิทยาความสนใจของคนเราจะเริ่มต้นเมื่อมีสิ่งเร้า ถ้าล็อคแรกเปรียบเสมือนสิ่งเร้า นั่นหมายความว่าการตั้งร้านในล็อคที่ 2 จะทำให้คนตัดเริ่มตัดสินใจซื้อมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับสินค้าและความต้องการของลูกค้าในระดับหนึ่งด้วย

2.ล็อคหัวมุม มาแรงที่สุด

เลือกตำแหน่งตั้งร้าน

แต่ถ้าจะให้เลือก “ล็อคหัวมุม” น่าจะเป็นตำแหน่งตั้งร้านที่ดีสุด เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ลูกค้าสามารถเดินมาได้จากหลายทิศทาง ทั้งจากด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง แต่คำว่าล็อคหัวมุมก็ใช่ว่าจะดีทั้งหมดต้องพิจารณาตำแหน่งของคำว่าล็อคหัวมุมด้วยว่าเป็นล็อคมุมหลัง , ล็อคมุมท้าย ซึ่งถ้าเลือกตำแหน่งล็อคหัวมุมไม่ดีก็จะกลายเป็นตำแหน่งร้านค้าที่จนมุมได้เช่นกัน

3.เปิดร้านแบบพร้อมกัน 3 ด้าน

เลือกตำแหน่งตั้งร้าน

ส่วนใหญ่ร้านในตลาดนัดถ้าเป็นร้านขนาดเล็กก็จะรับลูกค้าหน้าร้านอย่างเดียว แต่ในบางกรณีที่เป็นร้านขนาดใหญ่เช่น ร้านเสื้อผ้า , ร้านอาหาร มีเทคนิคที่จะขายดีขึ้นคือการเปิดร้านพร้อมกัน 3 ด้าน ซึ่งแน่นอนว่าต้องไม่มีร้านค้าอื่นมาเปิดเส้นทางในการเข้าออก ก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่มากขึ้นด้วย แต่ข้อดีคือสามารถรับลูกค้าได้จากทุกทิศทาง เดินมาจากทางไหนก็เข้าร้านเราได้ แต่เจ้าของร้านก็ต้องมีความพร้อมในการรับมือลูกค้าที่อาจมีมากขึ้นการบริหารจัดการในร้านต้องดีเป็นพิเศษด้วย

4.เลือกตำแหน่งร้านใกล้กับสินค้ายอดฮิต

เลือกตำแหน่งตั้งร้าน

การเลือกตำแหน่งร้านในรูปแบบนี้อาศัยชื่อเสียงและความนิยมของร้านค้าใกล้เคียง ช่วยสนับสนุนให้เราขายดีขึ้นได้ เช่นอยู่ใกล้กับร้านที่มีชื่อเสียงฮิตติดโซเชี่ยล หรือเป็นสินค้ายอดนิยมกลุ่มลูกค้ามาก ถ้าเราตั้งร้านใกล้เคียงกัน โอกาสที่ลูกค้าจะแวะมาหาเราด้วยก็เป็นไปได้มาก แต่ก็ใช่ว่าการเลือกตำแหน่งแบบนี้จะดีเสมอไปบางทีถ้าเราเป็นร้านเสื้อผ้า แต่ไปเลือกตั้งใกล้กับร้านขายอาหาร ก็อาจส่งผลเสียหายต่อสินค้าได้ จึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมด้วย

5.เลือกตำแหน่งร้านจาก “ผังตลาด”

เลือกตำแหน่งตั้งร้าน

ตลาดนัดแต่ละแห่งมีรูปแบบและขนาดพื้นที่แตกต่างกัน การจัดล็อคจึงแตกต่างกันไปด้วย หากเป็นไปได้ก่อนเลือกตำแหน่งร้านควรศึกษาผังตลาดก่อนว่ามีโซนไหนอะไรบ้าง โดยส่วนใหญ่ตลาดนัดจะจัดโซนอาหารไว้ด้านหน้าเพื่อเรียกลูกค้า ถัดมาก็จะเป็นโซนสินค้าอื่น และส่วนมากโซนกิจกรรมจะอยู่ตรงกลาง ถ้าเราศึกษาผังตลาดจะทำให้ได้เปรียบในการเลือกตำแหน่งที่ตั้งร้านของเราได้มาก

6.ตำแหน่งตั้งร้านขายดีต้องไม่มีสิ่งรบกวน

เลือกตำแหน่งตั้งร้าน

คำว่าสิ่งรบกวนในที่นี้เช่นไม่อยู่ใกล้ที่ทิ้งขยะของตลาด , ไม่อยู่ใกล้ตำแหน่งลำโพงกระจายเสียง , ไม่อยู่ใกล้ตำแหน่งของห้องน้ำตลาด เป็นต้น การตั้งร้านที่หลีกเลี่ยงตำแหน่งเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสในการให้ลูกค้าเดินเข้ามาเลือกสินค้าที่ร้านได้มากขึ้นส่วนจะขายได้ดีมากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่คุณภาพสินค้าและวิธีการขายของพ่อค้าแม่ค้าเป็นสำคัญ

7.เลือกตำแหน่งตั้งร้านที่เป็น “ทางผ่าน”

เลือกตำแหน่งตั้งร้าน

อีกหนึ่งวิธีการเลือกตำแหน่งร้านในตลาดนัดคำตำแหน่ง “ทางผ่าน” เช่น ทางผ่านเข้าสู่ตลาด , ทางผ่านจากลานจอดรถมาถึงตลาด , ทางผ่านจากตลาดไปยังห้องน้ำ เป็นต้น แต่คำว่าทางผ่านไม่ได้หมายความจะตั้งร้านอยู่ติดกับสิ่งเหล่านี้เพราะแทนที่จะได้เปรียบก็กลายเป็นเสียเปรียบทันที ตำแหน่งทางผ่านที่ดีคืออยู่ตรงกลางระหว่างตลาดและสิ่งปลูกสร้างที่อำนวยความสะดวกเหล่านั้น

อย่างไรก็ดีในเรื่องการเปิดร้านค้าขายวิธีเริ่มต้นที่ง่ายและดีที่สุด ถ้าเราสนใจตลาดนัดสถานที่ใดก็แล้วแต่ แนะนำให้ไปเดินตลาดนัดนั้นด้วยตัวเองสักครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เช่น ทำเลการขาย, บรรยากาศคนเดินเลือกซื้อของ, ประเภทสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้าขายกัน, ช่วงเวลาที่ตลาดนัดเปิด / ปิด, ช่วงเวลาที่คนเดินเยอะที่สุด ฯลฯ เพื่อการตัดสินใจที่ง่ายขึ้น

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3GraWCD , https://bit.ly/3gapFat , https://bit.ly/3tz47r0

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3VF6SmC

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด