ขายของ “ตลาดนัด” ตั้งร้านตรงไหน? ขายดีที่สุด!
ตลาดเดียวกัน! สินค้าแบบเดียวกัน! แต่ตำแหน่งตั้งร้านต่างกัน ก็มีผลต่อยอดขายเหมือนได้ แม้บางทีขายของในตลาดนัดเราจะล็อคทำเลไม่ได้ยิ่งขายแบบรายวัน ก็ต้องไปลุ้นจับฉลากว่าจะได้ ตั้งร้านตรงไหน แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหายว่าตำแหน่งขายของในตลาดนัดตรงไหนถ้าได้เปิดร้านคือขายดีที่สุด
1.ล็อคหัวมุมคือดีที่สุด
ตำแหน่ง “หัวมุม” ลูกค้าจะเดินมาได้จากหลายทาง ไม่ว่าจะทางซ้าย หรือทางขวา แต่หัวมุมที่ว่าดีก็ต้องดูอีกทีว่าเป็นมุมแบบไหน ไม่ใช่ล็อคมุมหลัง , ล็อคมุมท้าย ซึ่งถ้าเลือกตำแหน่งล็อคหัวมุมไม่ดีก็จะกลายเป็นตำแหน่งร้านค้าที่จนมุมได้เช่นกัน ร้านหัวมุมแบบนี้ส่วนใหญ่มักเป็นร้านเสื้อผ้า ของใช้ ที่ไม่ได้ไปอยู่ใจกลางตลาดที่อาจจะมีร้านค้า ร้านอาหาร อยู่เป็นจำนวนมาก
2.ตำแหน่งที่เปิดรับลูกค้าได้ 3 ด้าน
ส่วนใหญ่จะเป็นตำแหนงที่อยู่กลางตลาด เป็นศูนย์กลางที่ลูกค้าเมื่อเข้ามาในตลาดจะต้องเดินผ่านไปผ่านมา คำว่าเปิดรับลูกค้าได้ 3 ด้านคือไม่ว่าจะมาจากด้านหน้า ด้านหลัง หรือด้านข้าง ก็ต้องผ่านหน้าร้านของเรา แต่บางทีตำแหน่งดีๆ แบบนี้ทางตลาดก็จะคิดค่าเช่าที่แพงขึ้น แต่ถ้าคำนวณแล้วว่ากำลังซื้อของคนในตลาดนั้นคุ้มค่าการลงทุนตำแหน่งนี้ก็น่าสนใจ ส่วนใหญ่จะเป็นการขายอาหาร ที่น่าจะเวิร์คสุดๆ
3.ล็อคที่ 2-3 คนเริ่มตัดสินใจซื้อ
เป็นเรื่องของจิตวิทยาแบบหนึ่งเพราะเมื่อคนเดินมาตลาดส่วนใหญ่จะยังไม่ตัดสินใจซื้อทันที จะต้องเดินสักครู่แล้วจึงคิดได้ว่าต้องการสินค้าอะไร ดังนั้นล็อคแรกของตลาดแม้จะเป็นตำแหน่งที่ลูกค้าเห็นก่อนเพื่อนแต่ก็ใช่ว่าจะขายดี เพราะบางทียังตัดสินใจไม่ได้ แต่กลายเป็นล็อคที่อยู่ด้านในกลับขายดีกว่าเพราะลูกค้าเริ่มคิดและตัดสินใจที่จะซื้อของ
4.เลือกตำแหน่งร้านจาก “ผังตลาด”
ตลาดนัดแต่ละแห่งมีรูปแบบและขนาดพื้นที่แตกต่างกัน การจัดล็อคจึงแตกต่างกันไปด้วย หากเป็นไปได้ก่อนเลือกตำแหน่งร้านควรศึกษาผังตลาดก่อนว่ามีโซนไหนอะไรบ้าง โดยส่วนใหญ่ตลาดนัดจะจัดโซนอาหารไว้ด้านหน้าเพื่อเรียกลูกค้า ถัดมาก็จะเป็นโซนสินค้าอื่น และส่วนมากโซนกิจกรรมจะอยู่ตรงกลาง ถ้าเราศึกษาผังตลาดจะทำให้ได้เปรียบในการเลือกตำแหน่งที่ตั้งร้านของเราได้มาก
5.ตำแหน่งที่ไม่มีเสียงรบกวน
อันนี้จะเป็นปัญหามาก บางทีพ่อค้าแม่ค้าได้ตำแหน่งตั้งร้านอยู่ใกล้ลำโพงของตลาด ซึ่งจะเสียงดังมาก หรือรวมไปถึงตำแหน่งตั้งร้านที่อยู่ใกล้ห้องน้ำตลาด หรือที่ทิ้งขยะของตลาดอันนี้ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะดีมาก แต่ตลาดนัดส่วนใหญ่เขาก็เข้าใจเรื่องพวกนี้ดี ตำแหน่งที่มีสิ่งรบกวนเหล่านี้จึงกันไว้ไม่ให้มีใครมาขายสินค้าเพราะเป็นภาพลักษณ์ของตลาดนั้นๆ ด้วย อย่างไรก็ดีแม้จะไม่ได้เปิดร้านติดกับสิ่งรบกวนเหล่านี้แต่แค่อยู่ใกล้ก็อาจมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงไปเลยดีกว่า
อีกตำแหน่งในการเปิดร้านที่น่าสนใจคือบริเวณทางผ่านเช่น ทางผ่านเข้าสู่ตลาด , ทางผ่านจากลานจอดรถมาถึงตลาด เป็นต้น ทำเลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขายดี บางทีลูกค้าลืมซื้อจากในตลาด ถ้ากำลังจะกลับแล้วเดินผ่านเราก็ขายได้หรือบางทีเราขายอาหาร ลูกค้าลงจากรถเดินไปตลาดผ่านร้านเราอาหารน่ากินเขาก็จะเริ่มซื้อทันที ซึ่งนั้นก็อยู่ที่คุณภาพสินค้าของเราเป็นสำคัญด้วย
อย่างไรก็ดีการขายของตลาดนัดยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่นค่าเช่าในแต่ละตลาด , การบริหารจัดการโดยเจ้าของตลาด หรือกำลังซื้อของคนในพื้นที่ ก่อนจะเริ่มขายสินค้าในตลาดนัดก็ควรศึกษารายละเอียดเหล่านี้ให้ดี เพื่อโอกาสในการเปิดร้านที่จะขายของได้กำไรสมกับที่เราต้องการ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)