ขยันจริงรวยจัง! ลงทุนกับตี๋เล็ก ขนมจีบซาลาเปาและติ่มซำ กำไรเดือนละ 20,000 กว่าบาท
ในเดือนพฤษภาคมอัตราการใช้จ่ายในครัวเรือนน่าจะสูงปรี๊ดไม่ใช่เพราะกินหรือเที่ยว แต่นี่คือเดือนแห่ง “การเปิดเทอม” ของน้องๆหนูๆทั้งหลาย ภาวะชักหน้าไม่ถึงหลังอาจทำให้ใครหลายคนมองหาการลงทุนที่จะมาช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา แต่คำถามก็คือจะทำอะไรในเมื่อทุนก็น้อย ประสบการณ์ก็ไม่มี ที่สำคัญทำเลดีเดี๋ยวนี้หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร
www.ThaiSMEsCenter.com เข้าใจความต้องการของทุกคนอย่างดี สุดยอดแฟรนไชส์ฉบับวันแรงงานนี้จึงเอาใจคนที่อยากหลุดพ้นคำว่าแรงงานและกลายเป็นนายตัวเองกับแฟรนไชส์ ตี๋เล็ก ขนมจีบ ซาลาเปาและติ่มซำ ที่คุณภัทรธนัฐ ตั้งเมธากุล (บิ๊ก) ขอชูนโยบาย “สร้างอาชีพให้คนไทย” กับหลากหลายแพคเกจลงทุนที่รวยง่ายๆด้วยสินค้ากินง่าย ทานง่าย โดยเฉพาะแพคเกจ “ซาเล้ง Delivery” ที่ใครขยันจริง ทำจริง มีกำไรต่อเดือน 20,000 – 30,000 ได้สบายๆ
กว่าจะเป็น “ ตี๋เล็ก ขนมจีบ ซาลาเปาและติ่มซำ ”
ก่อนจะไปดูเรื่องลงทุนแบบไหนกำไรอย่างไร ผู้ลงทุนก็ควรได้ศึกษาโปรโฟต์ของแฟรนไชส์ซอให้เข้าใจก่อนว่ากว่าวันนี้เขาต้องเจออะไรบ้าง โดยแบรนด์ “ตี๋เล็ก” คุณบิ๊ก เล่าว่ามาจากเอาชื่อของพ่อตี๋และแม่เล็กมารวมกัน กลายเป็น “ตี๋เล็ก” ต่อท้ายด้วยสินค้าที่ขายคือ ขนมจีบ ซาลาปา และติ่มซำ จุดเริ่มคือเปิดร้านเล็กๆในโรงอาหารใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ถึงจะเป็นร้านเล็กๆแต่ยอดขายไม่เล็ก เฉลี่ยต่อวัน 700 – 800 ลูก ทำให้ตัดสินใจเปิดเพิ่มอีก 1 สาขาภายในคณะที่ตัวเองศึกษา ปรากฏว่ามีคนต้องการสินค้าที่จะเอาไปขายต่อ ทำให้คุณบิ๊ก มองเห็นช่องทางในการ “ขายส่ง” และธุรกิจของตี๋เล็กขนมจีบซาลาเปาและติ่มซำก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนมากขึ้น
เมื่อยอดขายทั้งจากหน้าร้าน 2 แห่งและการขายส่งให้คนสนใจกำลังไปได้ดี นำไปสู่การขยายธุรกิจด้วยการซื้อเครื่องจักรมาช่วยในการผลิต กลายเป็นธุรกิจขนาดย่อมที่มีแนวโน้มว่าจะพุ่งแรง แต่ทว่าในปี 2554 กับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจนับไม่ถ้วน ธุรกิจตี๋เล็กขนมจีบซาลาเปาและติ่มซำก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย ต้องใช้เวลาในการก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ แต่ด้วยสินค้าที่กินง่าย ทานง่าย ราคาไม่แพง แถมมีคุณภาพดี ธุรกิจนี้จึงตั้งตัวใหม่ได้ไม่ยากและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจการมาเป็นรูปแบบบริษัทในนาม บริษัท ตี๋เล็กฟู้ดส์ จำกัด และขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ ภายใต้ชื่อแฟรนไชส์ ตี๋เล็ก ขนมจีบ ซาลาเปา และติ่มซำ
เข้าใจคนอยากรวย “แพคเกจลงทุนจึงมีให้เลือกหลากหลาย”
ด้วยแนวทางต้องการ “สร้างอาชีพให้คนไทย” และเข้าใจว่า “เงินทุน” คือปัญหาสำคัญของคนส่วนใหญ่ เมื่อขยายธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ จึงได้สร้างแพคเกจลงทุนมากมายเริ่มจาก
ชุดเคาน์เตอร์ถอดประกอบ ราคา 12,900 บาท เหมาะกับคนขายที่มีทำเลขายหลายจุด เพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสามารถถอดใส่รถเก๋งได้
- ชุดเคาน์เตอร์ถอดประกอบ แบบที่ 2 ราคา 17,900 บาท ชุดนี้สามารถอุ่นขนมจีบซาลาเปาได้ครั้งละมากๆ เพราะมีซึ้งให้มาถึง 2 ชุด
- ชุดรถเข็น แบบที่ 1 ราคา 19,900 บาท สำหรับคนที่ต้องการเข็นขายไปเรื่อยๆ ตามตรอกซอกซอยต่างๆ
- ชุดรถเข็นใหญ่ Combo ชุดนี้สามารถอุ่นขนมจีบซาลาเปาได้ครั้งละมากๆ มีซึ้งให้ 2 ชุด เคลื่อนย้ายเข้าหาลูกค้าสะดวก
- ตู้อุ่นไฟฟ้า ราคา 38,900 บาท เหมาะกับการขายในห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ โรงเรียน แค่เสียบไฟฟ้าก็อุ่นขายได้ทันที
แต่ความสุดยอดของแฟรนไชส์ตี๋เล็กยังไม่หมดเท่านี้ ในแพคเกจเหล่านี้อาจจะดูว่าใช้เงินในการลงทุนระดับมากกว่า 10,000 ขึ้นไป แถมยังต้องหาทำเลในการขาย และชุดลงทุนต่อไปนี้เรียกว่า “ปฏิวัติวงการแฟรนไชส์” ที่ให้คนสนใจมีเงินแค่ 10,000 บาท ก็สร้างอาชีพรวยได้ทันที
“ซาเล้ง Delivery” ขยันจริง ขายจริง กำไรไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท
โดยปกติถ้าคิดจะขายแบบรถพ่วงข้าง (ซาเล้ง) ลงทุนเองต้องมีเงินไม่ต่ำกว่า 100,000 สำหรับซื้อมอเตอร์ไซด์ ดัดแปลงเป็นพ่วงข้าง ซื้ออุปกรณ์การขายที่จำเป็น รวมถึงวัตถุดิบที่ต้องซื้อมาขาย แต่งานนี้ คุณบิ๊ก เอาใจคนอยากขาย อยากรวย แค่มีเงิน 10,000 -15,000 ก็เริ่มอาชีพนี้ได้เลย
จุดแตกต่างระหว่าง 10,000 กับ 15,000 คือระยะทางหากอยู่ในรัศมีไม่เกิน 300 กม. สามารถลงทุนได้ด้วยเงิน 10,000 บาท ได้ทั้งรถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้าง อุปกรณ์ในการขาย และสินค้าพร้อมขาย แต่หากอยู่ไกลเช่นต่างจังหวัด อาจต้องสั่งสินค้าพร้อมขายมากขึ้นราคาลงทุนก็อาจเริ่มต้นที่ 15,000 บาท แต่ไม่ว่าจะราคาไหนอย่างไรก็คุ้มค่าเพราะว่าไม่ต้องลงทุนเอง เพียงแค่ลงแรงขาย และด้วยจุดเด่นของรถพ่วงข้าง (ซาเล้ง) ที่วิ่งเข้าตามตรอกซอกซอยได้ เข้าถึงลูกค้าได้อย่างดี และการตกแต่งรถที่สวยสะดุดตารู้ทันทีว่าขายอะไร ทำให้การขายก็ง่ายยิ่งขึ้น
เรื่องรายได้นั้นถือว่าไม่ธรรมดาทีเดียว ปัจจุบันมีคนสนใจเข้าร่วมลงทุนกับ “ซาเล้ง Delivery” กว่า 100 คัน รายได้เฉลี่ยต่อวัน 3,000 – 5,000 บาท รายได้ต่อเดือนประมาณหลัก 100,000 หักรายจ่าย ต้นทุนต่างๆ เหลือเป็นกำไรสุทธิต่อเดือน 20,000 – 30,000 บาท แต่เดี๋ยวก่อน! ตัวเลขกำไรที่เห็นนี้คือจากคนที่เขาขยันทำจริง ไม่กลัวแดด กลัวร้อน วิ่งรถซาเล้งเข้าขายของในพื้นที่เป็นประจำทุกวัน จนอาจจะมีฐานลูกค้าเป็นของตัวเอง เป็นที่รู้จักของคนในชุมชนอย่างดี เรียกว่าต้องทุ่มเทและทำจริงจัง ผลตอบแทนก็คือรายได้งามๆ ที่ดีกว่าการทำงานประจำด้วยซ้ำไป
นอกจากรายได้ดี ยังมีสวัสดิการให้ด้วย
คนที่เลือกลงทุนกับตี๋เล็กขนมจีบซาลาเปาและติ่มซำ และเป็นคนที่ขยันทำมาหากิน มีความรับผิดชอบเป็นอย่างดีนอกจากกำไรที่จะได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทางตี๋เล็กยังจะมอบสวัสดิการต่างๆ ให้ เช่น โบนัสจากยอดขาย ค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน เท่ากับว่าสวัสดิการเหล่านี้จะมาช่วยลดต้นทุนให้เรามีกำไรได้มากขึ้น ถือเป็นการปฏิวัติการลงทุนที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ไหนจะไม่ต้องลงทุนเอง รายได้ยังดี แถมขยันจริงยังมีสวัสดิการให้อีก แบบนี้มันดีกว่างานบริษัทบางแห่งที่จ้องเอารัดเอาเปรียบลูกน้องประเภททำงานแทบตายรายได้ก็ไม่เพิ่มแต่สำหรับ “ซาเล้ง Delivery” ยิ่งขยัน ยิ่งดี รายได้ก็ยิ่งมาก
สรุป 5 ข้อดีเลือก “ซาเล้ง Delivery” ดีที่สุดในยุคนี้
- เราไม่ต้องลงทุนเอง “ตี๋เล็ก” ลงทุนให้ มีเงินแค่ 10,000 – 15,000 บาท ขับซาเล้งเป็น แค่นี้ก็เริ่มต้นอาชีพได้เลย
- รายได้ดีอย่างเหลือเชื่อ กำไรต่อเดือนอย่างน้อยๆ ก็ 20,000 บาท บางคนทำงานบริษัทตั้งหลายปีเงินเดือนยังไม่เท่านี้
- อาชีพอิสระ วิ่งรถไปตามตรอกซอกซอย ไม่ต้องฟังคำสั่งใคร บริหารเวลาตัวเองได้ ยิ่งทำนานๆยิ่งมีฐานลูกค้ามาก
- สินค้ากินง่าย ขายง่าย กินได้ทุกวัน ทุกเพศทุกวัย แถมยังมีให้เลือกหลายเมนู และราคาก็ไม่แพง
- ไม่ต้องกลัวเรื่องการแย่งพื้นที่ขายเพราะตี๋เล็กมีระบบบริหารจัดการให้ผู้ลงทุนไม่ขายสินค้าทับซ้อน เพื่อประโยชน์ของคนขายที่จะได้กำไรอย่างสูงสุด
เป้าหมายต่อไป “ขยายสาขาทั่วประเทศและเติบโตมากขึ้น”
ถามเรื่องความสำเร็จภาพรวมปัจจุบันถือว่า “สำเร็จเป็นอย่างดี” แต่คุณบิ๊กมองว่า “ตลาดใหญ่ในระดับประเทศ” ยังมีพื้นที่ให้เติบโตได้อีกมาก ปัจจุบันการขยายสาขาทั้งแบบแฟรนไชส์และซาเล้ง ยังเติบโตในพื้นที่โดยรอบกรุงเทพฯเป็นหลัก โดยเฉพาะซาเล้ง Delivery ที่ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 100 คัน แต่ตั้งเป้าไว้ว่าเราสามารถเติบโตได้ถึงกว่า 1,000 คัน ยังไม่นับรวมในจังหวัดไกลที่การขายแฟรนไชส์อาจเข้าถึงยากก็มองถึงเรื่องตัวแทนจำหน่ายในแต่ละจังหวัดที่จะมาช่วยบริหารจัดการกระจายสินค้าให้มากขึ้น
เป้าหมายในปี2562 และปีต่อๆไปคือการเติบโตในเรื่องการขยายสาขาและปริมาณของ ซาเล้ง Delivery ให้มากขึ้น รวมถึงมองไปที่การขยายตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถือเป็นตลาดที่น่าสนใจ อย่างไรก็ดีเมื่อธุรกิจมีการเติบโตมากขึ้น ก็ต้องสอดคล้องกับการบริหารจัดการที่ต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ลงทุนทุกคนไม่ว่าจะรายเก่าหรือใหม่ได้ประโยชน์จาก “ตี๋เล็ก” เพื่อให้สมกับแนวทาง “สร้างอาชีพให้คนไทย” ที่ ตี๋เล็กขนมจีบ ซาลาเปา และติ่มซำ ชูประเด็นเป็นเรื่องสำคัญ และในอนาคตก็จะยึดมั่นกับแนวทางนี้และจะพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไปด้วย
ต้องการลงทุนแฟรนไชส์
ตี๋เล็ก ขนมจีบ ซาลาเปาและติ่มซำ
โทร. : 062-5926691, 092-9491964
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Y17d4K
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)