ก็คนอยากกิน! ชาวจีนยอมต่อแถวห่าง 1.5 เมตร เพื่อซื้อชานมไข่มุก
สถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มพบผู้ป่วยครั้งแรกตั้งแต่ตอนปลายเดือนธันวาคม 2562 จากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มทวีความรุนแรงมาเป็นลำดับ
ถึงขนาดที่ “อู่ฮั่น” ที่เป็นจุดแพร่กระจายเชื้อต้องประกาศปิดเมืองเพื่อลดการแพร่ระบาด แต่อย่างไรก็ดี ถึงตอนนี้เกือบ 3 เดือนที่เริ่มมีการแพร่กระจายและไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศจีน อัพเดทล่าสุด (5 มีนาคม2563) ผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลก 95,113 ทั่วโลก ยอดผู้เสียชีวิต 3,254 รักษาหาย 51,193 คน ในจำนวนนี้มียอดผู้ติดเชื้อชาวจีนจำนวน 80,282 คน
ภาพจาก www.facebook.com/thisishunan/
อย่างไรก็ดีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในเมืองจีน ช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ยอดผู้เสียชีวิต และยอดผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้บรรยากาศในเมืองจีนเริ่มผ่อนคลาย ซึ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก ร้านค้า ต่างๆ ทยอยปิดกิจการชั่วคราวเรียกว่าเป็นผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจที่หนักหนาสาหัสมากแต่ล่าสุด www.ThaiSMEsCenter.com ที่แสดงให้เห็นว่าร้านค้าต่างๆในเมืองจีนตอนนี้เริ่มกลับมาเปิดกิจการได้อีกครั้ง แต่ ก็ยังอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องควบคุมและดูแลอย่างเข้มข้น
มาตรการซื้อ “ชานมไข่มุก” ของคนจีน ในยุค “โควิด-19 ระบาด”
ภาพจาก www.facebook.com/thisishunan/
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าร้านค้าต่างๆในเมืองจีนหลังจากที่ปิดตัวไประยะหนึ่งตอนนี้เริ่มทยอยเปิดกิจการกันอีกครั้ง หนึ่งในนั้นคือ “ร้านชานมไข่มุก” แห่งหนึ่งในเมืองหูนาน ซึ่งเมืองนี้อยู่ติดกับ เมืองอู่ฮั่นที่เป็นจุดศูนย์กลางของการแพร่ระบาด ร้านชานมไข่มุกแห่งนี้ได้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา แต่การกลับมาเปิดร้านใหม่ครั้งนี้มาพร้อมมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดที่เข้มข้นเริ่มจาก
- ลูกค้าทุกคนจะต้องยืนเข้าคิวห่างกัน 1.5 เมตร เพราะจากข้อมูลด้านการแพทย์ระบุว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จะแพร่กระจายได้ในระยะ 1 เมตร ทางร้านจึงกำหนดจุดยืนต่อคิวโดยไม่ใช่แค่การขอความร่วมมือแต่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ซึ่งจะมีแถบเส้นสีเหลืองติดไว้ที่บนฟุตบาธให้ลูกค้าได้ยืนเว้นระยะห่างตามเส้นสีเหลืองที่กำหนดไว้
- ลูกค้าทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย และเมื่อถึงคิวของตัวเอง จะมีเจ้าหน้าที่ของร้านคอยฉีดพ่นสเปรย์แอลกอฮอลล์ให้กับลูกค้าทุกคนด้วย
ซึ่งบรรยากาศของการเข้าคิวที่ต้องยืนห่างกัน 1.5 เมตรนี้กลายเป็นอีกมุมหนึ่งที่น่ารักและสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจและพยายามที่จะป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเต็มที่
ภาพจาก www.facebook.com/thisishunan/
อีกหนึ่งไอเดียสุดเจ๋งที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเปิดร้านค้าขายแต่จากสำนักข่าวมิร์เรอร์ได้เผยแพร่คลิปที่เป็นการทักทายของชาวจีนในเมืองอู่ฮั่นที่เปลี่ยนวิธีการใช้มือจับมาเป็นการแตะเท้า เรียกว่า อู่ฮั่นเชก (Wuhan shake)
ภาพจาก www.facebook.com/thisishunan/
โดย มิร์เรอร์ รายงานว่า สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศขอความร่วมมือประชาชนหยุดการทักทาย ด้วยการจับมือและจูบแก้ม เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของไวรัสชนิดนี้ ที่แพร่ระบาดไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลกในขณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีคลิปที่กลุ่มชายชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่น ทักทายด้วยการ “แตะเท้า” กัน เรียกว่า อู่ฮั่นเชก (Wuhan shake) เพื่อหลีกเลี่ยงการจับมือทักทายกัน ซึ่งคลิปดังกล่าวมียอดการชมบนทวิตเตอร์มากกว่า 50,000 ครั้ง ขณะที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างยกย่องการทักทายอย่างสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้
ภาพจาก www.facebook.com/thisishunan/
ในสถานการณ์แพร่ระบาดที่รุนแรงไปทั่วโลกภาพรวมมีบางจังหวะที่ดูจะคลี่คลายแต่ก็ยังไม่คลี่คลาย สุดท้ายโควิด-19 ก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ต้องรอดูกันต่อไป ซึ่งตามที่คาดการณ์ว่าสถานการณ์โดยรวมน่าจะค่อยๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะในเมืองไทยที่กำลังเข้าสู่ฤดูร้อนที่เชื่อว่าจะช่วยหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้มากขึ้น ก็คงต้องมาติดตามกันต่อไปว่าเรื่องนี้จะดำเนินต่อไปอย่างไรและถึงที่สุดแล้วสถานการณ์นี้จะจบตรงไหน เมื่อไหร่กันแน่
ลองย้อนกลับมาดูที่เมืองไทยซึ่งก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีร้านชานมไข่มุกไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก และความนิยมชานมไข่มุกของคนไทยก็ติดอันดับเช่นกัน ลองคิดดูเล่นๆ ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เมืองจีนเกิดปรากฏการณ์ต่อแถวห่าง 1.5 เมตร ซึ่งก็ดูมีระเบียบเรียบร้อยน่ารักไปอีกแบบ และถ้าหากเราจะเอาข้อดีในความเป็นระเบียบตรงนี้มาปรับใช้กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของคนไทย อย่างบางร้านที่เป็นชานมไข่มุกยอดฮิต คนจะไปฮือฮาแย่งกันซื้อแบบบางทีก็ไม่ต่อคิวด้วยซ้ำ หากเราลองเปลี่ยนพฤติกรรมมามีระเบียบวินัยแบบไม่ต้องบังคับแต่เกิดจากความรู้สึกของเราเองคงจะเป็นภาพที่สวยงามให้ชาวโลกจดจำได้เช่นกัน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3alnuIy , https://bit.ly/3asn1El , https://bit.ly/3aunBl7
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2IneIh9
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)