“กินกับพีท” Food Bloggers มาแรง!! ดังได้เพราะชอบกิน ชอบโพสต์

เชื่อหรือไม่ว่าปัจจุบันหลายๆ คนอยากเป็น Influencer หรือ Blogger ชื่อดัง ในยุคที่ผู้คนหันมานิยมใช้พื้นที่บนโลกโซเชียลมีเดียมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้ทั้งชื่อเสียงและรายได้ แต่หลายๆ คนไปไม่ถึงฝัน เพราะไม่รู้ว่าแนวทางการเริ่มต้นและดำเนินการอย่างไร ถ้าใครยังมีความฝันอยากเป็น Influencer หรือ Blogger อยู่ ต้องติดตามอ่านได้จากบทความด้านล่าง

กินกับพีท

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาแชร์ความรู้และประสบการณ์จาก Influencer สายกิน และ Food Blogger ชื่อดังของไทย “พีท – พีรพัฒน์ ตุลยาเดชานนท์” เจ้าของแฟนเพจ “Pete Perapat Eatwithpete – กินกับพีท” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 4.6 แสนคน และยังเคยได้รับเชิญเป็นกรรมการเชฟกระทะเหล็กประเทศไทย และกรรมการเชลล์ชวนชิมอีกด้วย

จุดเริ่มต้นการเป็น Food Blogger

กินกับพีท

คุณพีท เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการเป็นบล็อกเกอร์อาหารชื่อดังอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เกิดจากการเป็นคนชอบกิน ชอบลอง ชอบโพสต์ เริ่มจากตนเองไปกินอาหารกับครอบครัว อากงอาม่าชอบกินเอ็มเคสุกี้ทุกอาทิตย์ ทำให้ตนรู้สึกเบื่อ อยากไปกินร้านอื่นๆ บ้าง เลยขอเป็นคนเลือกร้านอาหารแล้วพาไปกินเอง จึงเป็นที่มาที่ไปของการตั้งชื่อเพจ “กินกับพีท”

เมื่อไปกินที่ร้านอาหารทุกวันก็จะโพสต์รูปภาพอาหารลงทุกครั้ง ทำเป็นกิจวัตรประจำจนเป็นเรื่องปกติของคนที่รู้จักกันเป็นอย่างดี หลังจากโพสต์รูปอาหารลงแต่ละครั้ง ก็จะมีคนแอดเฟรนด์และอินบ็อกซ์เข้ามาถามถึงพิกัดร้านอาหารและรสชาติอาหารที่โพสต์ หลังจากเปิดเพจได้ประมาณ 5-6 เดือน เริ่มมีคนเชิญไปร่วมงานอีเว้นท์ งานอาหาร และรีวิวร้านอาหาร

กินกับพีท

คุณพีท เริ่มที่จะมีรายได้จากการเป็นบล็อกเกอร์อาหารหลังจากทำแฟนเพจได้ประมาณ 2 ปีกว่าๆ หลังจากได้ทำการฝึกศึกษาหาความรู้และประสบการณ์จากเพื่อนๆ บล็อกเกอร์ ทั้งถ่ายรูป การเขียนรีวิว การเขียนแคปชั่นให้น่าสนใจ และสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการกินจริง ถ่ายจริงโพสต์จริง ไม่ใช่ให้คนอื่นไปกินแทน หรือกินฟรีอย่างเดียว

สำหรับเทคนิคการนำเสนอคอนเทนต์อาหารแต่ละครั้งของคุณพีท คือ การโพสต์ใช้คำง่ายๆ เหมือนบอกเล่าสู่กันฟัง ไม่มีการจัดอันดับความอร่อยของร้านอาหาร และไม่ระบุราคาอาหาร เพราะรสชาติแต่ละคนกินไม่เหมือนกัน แต่จะนำเสนอรูปภาพที่สวยงามของเมนูอาหารแต่ละอย่าง แต่ละเมนู บรรยากาศของร้าน โดยจะมีรูปคุณพีทอยู่ด้วยในแต่ละโพสต์

คุณพีท ยังเล่าว่า การสร้างคอนเทนต์แต่ละครั้งจะไม่ได้วางแผนหรือคิดไว้ก่อน จะเป็นการแบบว่าอยากไปกินร้านไหนก็ไปกิน แล้วเก็บภาพไว้ จากนั้นค่อยๆ ทยอยโพสต์เขียนรีวิวภายหลัง บางครั้งทำร่วมกับงานรีวิวที่เจ้าของร้านเชิญไปด้วย

กินกับพีท

สำหรับคนที่ติดตามแฟนเพจ “กินกับพีท” ส่วนใหญ่จะเป็นคนชอบกิน ชอบลองของใหม่ๆ ไปเรื่อย ร้านอาหารที่โพสต์ลงเพจส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่ไม่เป็นกระแสในช่วงตอนนั้น เพราะคุณพีทไม่ต้องการต่อแถว แต่จะกินอาหารอื่นๆ ที่น่าสนใจและอยากจะกินจริงๆ ที่สำคัญคนที่ติดตามเพจก็ไม่ชอบร้านอาหารที่เป็นกระแส และจะตามไปกินหลังจากเห็นโพสต์

เมื่อถามถึงเทรนด์อาหารในปี 2023 คุณพีท บอกว่า ค่อนข้างหลากหลาย ยังไม่มีอาหารตัวไหนเป็นกระแสแบบชัดเจน แต่จะวนๆ ไปที่อาหารกึ่งๆ เกาหลีเป็นส่วนใหญ่ ที่ผ่านมากระแสไปอาหารอินเดีย ราเมงญี่ปุ่น พาสต้าเส้นสด แต่อาหารเกาหลีก็ยังจะวนมาอีกรอบเช่นเดิม

เทคนิคไต่เต้าสู่การเป็น Bloggers

กินกับพีท

ภาพจาก www.facebook.com/eatwithpete

คุณพีท แนะนำเทคนิคการเป็น Bloggers สำหรับคนอยากทำคอนเทนต์ลงโซเซียลมีเดีย ทุกคนมีมือถือสามารถทำได้เลย ทุกๆ กิจกรรมสามารถสร้างเป็นคอนเทนต์ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นการกิน การออกกำลังกาย การท่องเที่ยว กิจกรรมที่ทำทุกวัน สามารถมีเรื่องให้โพสต์ได้ตลอด เหมือนกับคุณพีทชอบกิน กินทุกวัน ก็เลยทำให้มีคอนเทนต์โพสต์ตลอด

“หากใครทำอะไรอยู่เป็นประจำ อย่ารอช้า รีบโพสต์เลย เพราะเราไม่รู้หรอกว่าโพสต์อะไรที่คนสนใจ หรือจุดประกายให้คนมาติดตามเราเยอะขึ้น ขอเพียงทำอย่างต่อเนื่อง ทำไปเรื่อยๆ ที่สำคัญควรพยายามทำคอนเทนต์ที่ตัวเองไม่เบื่อ ทำคอนเทนต์ที่ตัวเองชอบ หรือโพสต์ไลฟ์สไตล์ของตัวเองที่ทำเป็นประจำ เหมือนโพสต์ส่วนตัวคุยกับเพื่อน เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางส่วนตัวมาเป็นแฟนเพจ หรือยูทูปเท่านั้นเอง”

ติดตามความเคลื่อนไหวด้านอาหาร https://www.facebook.com/eatwithpete

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช