กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน เบอร์เกอร์ คิง

นอกจาก ร้านเบอร์เกอร์ ชื่อดังอย่าง McDonald’s ที่เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก ยังมีอีกหนึ่งร้านที่ดังไม่แพ้กันอย่าง Burger King ที่ถึงแม้จะมาทีหลังแมคโดนัลด์ แต่ในเรื่องความอร่อย และคุณภาพนั้นก็ไม่เป็นรอง และไม่แพ้ใครอย่างแน่นอน เรียกได้ว่า เบอร์เกอร์ คิง เป็นคู่แข่งตัวฉกาจของแมคโดนัลด์ก็ว่าได้ ต่างช่วงชิงไหวชิงพริบกันตลอดเวลา สำหรับในประเทศไทยกลุ่มไมเนอร์ ฟู้ด ได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจร้านอาหารเบอร์เกอร์ คิง ปัจจุบันขยายสาขา 74 แห่งทั่วประเทศไทย และกลายยังเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงอย่างมากในมัลดีฟส์ และเมียนมาด้วย

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาท่านผู้อ่านไปเจาะลึกจุดเริ่มต้นของแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง เบอร์เกอร์ คิง ร้านฟาสด์ฟู้ดขายแฮมเบอร์เกอร์ ที่ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์แฟรนไชส์คู่ต่อสู้สำคัญของมคโดนัลด์

จุดเริ่มต้นของ Burger King

ร้านเบอร์เกอร์

ภาพจาก goo.gl/Ynskwu

เบอร์เกอร์ คิง ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1954 ในรัฐไมอามี่ ฟลอริด้า โดย เจมส์ แมคเรมอน และเดวิด เอ็ดเวอร์ตัน ทุกวันนี้ เบอร์เกอร์คิง ถือเป็นอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ด ที่มีมากกว่า 50 รัฐ และมากกว่า 83 ประเทศทั่วโลก เจมส์ แมคเรมอน และเดวิด เอ็ดเวอร์ตัน มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจประเภทภัตตาคารมาก่อน ก่อนที่จะเริ่มธุรกิจประเภทนี้ พวกเขาเชื่อว่าการบริการที่ดี รวดเร็ว อาหารมีคุณภาพ เป็นจุดที่ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ

หากย้อนกลับไปจะเห็นว่า เบอร์เกอร์ คิง เมื่อ 43 ปีที่แล้ว ที่ฟลอริด้า เริ่มต้นขายแฮมเบอร์เกอร์ ในราคาเพียง 18 เซนต์ และ Whopper ในราคา 73 เซนต์ เบอร์เกอร์คิง มีสาขาอยู่เกือบทั่วโลก จากออสเตรเลียไปจนถึงเวเนซูร่า

ต่อมาในปี 1967 บริษัท Minneapolis-based Pillsbury ได้เข้ามาดูแลแทนโดยมีพนักงานประมาณ 8000 คน ในปี 1957 มีการแนะนำ whopper sandwich และเบอร์เกอร์ คิง ได้ถูกตกแต่งและดัดแปลงให้มีห้องทานอาหาร

jk14

ภาพจาก goo.gl/Ynskwu

มีบริการแบบ Drive Thru ประมาณ 50% และบริการซื้อกลับบ้าน ประมาณ 15% และเป้าหมายในอนาคตของเบอร์เกอร์ คิง ก็คือ จะมีการบริการแบบ Double Drive Thru,Kiosk,In-Line, Co-Branded

ในปี 1958 เบอร์เกอร์ คิง ได้มีสื่อโฆษณา ออกทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้น 1 ปี มีการประชาสัมพันธ์ว่า “ร้านเบอร์เกอร์ที่ใหญ่และดีที่สุด” โดยมีจุดขายว่า เขาจะทำทุกอย่างตามความต้องการของลูกค้า เพื่อบริการให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากที่สุด

ปี 1970 เบอร์เกอร์คิงมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เคนดัส ในไมอามี่ และต่อมาในปี 1988 ได้ขยายสำนักงานไปที่ไมอามี่ ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริด้า ด้วยเนื้อที่ 290,000 และต่อมาในปี 1990 มีการแนะนำ BK Broiler ทำให้เบอร์เกอร์คิงมียอดขายถึง 1,000,000 เหรียญต่อวัน จนกระทั่งทั่วโลกรู้จัก ทำให้ยอดขายขยับขึ้นมาเป็น 1.6 ล้านเหรียญ

jk15

ภาพจาก goo.gl/Ynskwu

ปัจจุบันนี้เบอร์เกอร์ คิงและร้านเฟรนไชส์ มีมากกว่า 10,850 ร้านทั่วโลก มีพนักงานกว่า 3 แสนคน มียอดขายอยู่ที่ 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่า เบอร์เกอร์ คิง ประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจด้านฟาสต์ฟู้ดมากที่สุดในประเทศไทย

ทุกๆ วันจะมีผู้คนแวะเวียนมาที่เบอร์เกอร์คิงมากกว่า 11 ล้านคน ในสาขาต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ด้วยคุณภาพของอาหาร รสชาติ และความสดใหม่ ในราคาที่ทุกคนสามารถรับประทานได้

เบอร์เกอร์ คิงในประเทศไทย

jk16

ภาพจาก goo.gl/A54mfK

บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้รับสิทธิทำตลาดเบอร์เกอร์คิงในไทย ได้พัฒนาธุรกิจเบอร์เกอร์คิงจนเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย และเป็นร้านขายเบอร์เกอร์ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 เช่นเดียวกับระดับโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดมูลค่า 2,000 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวมประมาณ 7,000 ล้านบาท

มีลูกค้าแวะมาร้านสาขาต่างๆ 45,000 คนต่อเดือน โดยเฉลี่ยมีการบริโภคเบอร์เกอร์ต่อคน คนละประมาณ 250 บาท ด้วยคุณภาพของอาหาร รสชาติ และความสดใหม่ ในราคาที่ทุกคนสามารถรับประทานได้

jk17

ภาพจาก goo.gl/A54mfK

นอกจากในประเทศแล้ว เครือไมเนอร์กรุ๊ปที่มีศักยภาพในการทำตลาดเอเชีย ที่ผ่านมายังได้ขยายธุรกิจไปในโซนอาเซียนหรือ AEC โดยไปเปิดสาขาที่สนามบินย่างกุ้งของเมียนมาร์ ส่วนก่อนหน้านี้ 3 ปีก่อนได้เปิด 2-3 สาขาที่มัลดีฟส์

ปัจจุบันร้านเบอร์เกอร์คิงขยายสาขาไปทั่วประเทศไทย มีสาขาอยู่ 74 สาขา โดยเครือไมเนอร์กรุ๊ปคาดว่าจะมีรายได้ถึง 2,300 ล้านบาทในปี 2560 และมีแผนระยะยาวจะขยายสาขาให้ครบ 180 แห่งในอีก 5 ปีข้างหน้า

แม้ว่าตลาดเบอร์เกอร์คู่แข่งในตลาดหลัก คือ McDonald แต่จุดเด่นของ BURGER KING สำหรับคนที่เคยกิน คือ ความโดดเด่นของเบอร์เกอร์เนื้อต้นตำรับย่างไฟ นอกจากในห้าง ก็มีร้านที่เปิดอยู่ด้านนอก และยังมีที่เปิด 24 ชั่วโมงให้ไปนั่งได้ด้วย แม้ว่าจะไม่ได้หาง่ายเท่ากับ McDonald แต่ก็ถือว่า ถ้าใครมองหาเบอร์เกอร์ ที่นี่ก็เป็นทางเลือกแรกๆ ได้เช่นกัน

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/BUlGSr
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ goo.gl/EQJ1Te

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2JfpsSi

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช