กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน Pizza Hut
ได้เห็นแล้วว่า จุดเปลี่ยนของ ตลาดพิซซ่า เมืองไทย เกิดขึ้นในปี 2544 เนื่องจากสงครามแตกหักทางธุรกิจ “เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด” ระหว่างวิลเลียม อี.ไฮเนคกี้ และไทรคอน โกลบอล เรสเทอรองตส์ (ชื่อในขณะนั้นของยัม แบรนด์ อิงค์) เพราะไทรคอนฯ ต้องการดึง “พิซซ่า ฮัท” กลับมาทำเอง จึงเกิดการฟ้องร้องกันขึ้น
สุดท้ายทำให้ไฮเนคกี้จำใจสะบั้นสัมพันธ์ หันมาสร้างแบรนด์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ของตัวเอง และสร้างปรากฏการณ์ฮือฮาปลดป้ายเก่า ขึ้นป้ายใหม่ 80 สาขาเพียงชั่วข้ามคืน เพราะสาขาเก่าที่มีอยู่ ถือเป็นทรัพย์สินของเดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป นับตั้งแต่วันนั้นดูเหมือนว่าก้าวที่เหมือนจะเพลี่ยงพล้ำ Pizza Hut กลับนำชัยชนะมาให้เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ในวันนี้
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปค้นหาจุดกำเนิด และเรื่องราวของการต่อสู้ของแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง Pizza Hut เพราะจุดพลิกผันของแบรนด์ Pizza Hut เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันได้ขายสาขาในระบบแฟรนไชส์ให้กับตระกูลมหากิจศิริเป็นผู้ดูแลไปแล้ว
จุดกำเนิดแฟรนไชส์ Pizza Hut
ภาพจาก goo.gl/YAz6R1
พิซซ่า ฮัท เป็นแบรนด์ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2501 ที่เมืองวิชิต้า มลรัฐ Kansas (แคนซัส) ประเทศ United States of America (สหรัฐอเมริกา) โดยสองพี่น้องตระกูล Carney ( คาร์นี่ย์ ) ตัวพี่ชาย Dan ( แดน ) อายุ 25 ปี ทั้งสองได้เริ่มกิจการร้านพิซซ่าขึ้นเป็นครั้งแรก
พวกเขาได้แรงบัลดาลใจจากเจ้าของอาคารที่เขาอาศัยอยู่ ซึ่งกำลังมองหาผู้แบ่งเช่าเนื้อที่ พวกเขาได้ศึกษาถึงแนวโน้มในความนิยมพิซซ่าของขาวอเมริกันที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ประกอบกับพวกเพื่อนที่มีประสบการณ์ด้านร้านอาหาร และการทำพิซซ่ามาบ้างจากการทำงานนอกเวลาในร้านเบ็ดเตล็ด และร้านอาหาร จึงชักชวนกันลงทุนเปิดร้านครั้งแรก โดยมีเงินทุนที่ยืมมาจากมารดาเพียง 600 เหรียญเท่านั้น
หลังจากได้ตั้งร้านเรียบร้อย ทั้งสองก็มีปัญหาเรื่องชื่อร้าน ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ติดป้ายเพียง 9 ช่องตัวอักษร แต่พวกเขาต้องการให้มีคำว่า “Pizza” ซึ่งใช้ไปแล้ว 5 ตัว ดังนั้น หนึ่งในสมาชิกครอบครัวจึงเสนอคำว่า “Hut” นั้นจึงเป็นที่มาของชื่อร้าน Pizza Hut (พิซซ่า ฮัท) ภายใต้สัญลักษณ์หลังคาสีแดงจึงถือเป็นเครื่องหมายการค้ามานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พร้อมทั้งการตบแต่งร้านเน้นใช้เฟอร์นิเจอร์ และของใช้ต่างๆ เป็นสีแดงและขาวเป็นหลัก
ภาพจาก goo.gl/7XFTiJ
ร้านพิซซ่า ฮัท แห่งแรก เปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2501 ที่เมืองวิชิต้า ซึ่งในขณะนั้นชาวเมืองวิชิต้ายังไม่ค่อยรู้จักพิซซ่ามากนัก สองพี่น้องตระกูลคาร์นี่ย์จึงใช้กลยุทธใหม่ เพื่อดึงดูดความสนใจ โดยการเปิดให้กินฟรีในคืนแรกที่เปิดร้านจนเป็นที่ฮือฮาไปทั่วเมือง นับเป็นความสำเร็จอย่างสูงในเวลานั้น
พวกเขาได้พูดถึงความสำเร็จของเขาว่า “เราให้ความกล้ามากกว่าสมองในการทำงาน” ภายในระยะเวลา 14 ปี (พ.ศ.2501-2515) กิจการร้านพิซซ่า ฮัท ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาขาถึง 1,000 สาขา และเพิ่มจำนวนเป็น 3,000 สาขา
ในอีก 3 ปีถัดมา จนมาถึงปัจจุบัน พิซซ่า ฮัท นับเป็นร้านที่มีสาขามากที่สุดในโลกมากกว่า 35,000 สาขา โดยรวมทั้งยอดการจำหน่ายและจำนวนร้านสาขา โดยมีการเพิ่มบริการส่งถึงบ้านเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ในปี พ.ศ. 2528
ในปีถัดมา พ.ศ. 2502 พิซซ่าฮัทได้เริ่มระบบตัวแทนจำหน่าย (แฟรนส์ไชส์) “ร้านพิซซ่าฮัท” โดยร้านตัวแทนแห่งแรกอยู่ที่ เมืองโทเพกา รัฐแคนซัส ร้านตัวแทนสาขาจะต้องทำตามสูตรการทำพิซซ่าต้นตำรับ และทางด้านการบริหารต้องได้รับการอบรมจากสองพี่น้องตระกูลคาร์นีย์
พิซซ่าฮัท มีสาขาต่างประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศแคนาดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 พิซซ่าฮัท อิงค์รวมตัวเข้ากับ เป๊ปซี่ โค อิงค์ (Pepsi Co., Inc.) และได้เริ่มโครงการขยายสาขาไปทั่วโลก
ต่อมา เป๊ปซี่ โค อิงค์ มีนโยบายแยกตัวกลุ่มธุรกิจร้านอาหารในเครือ ซึ่งได้แก่ พิซซ่าฮัท เคเอฟซี และ ทาโก้เบลล์ และได้ก่อตั้งเป็นบริษัท ไทรคอน โกลโบล เรสเทอรองตส์ จำกัด (Tricon Global Restaurants)
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2540 เดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2545 บริษัท ไทรคอน โกลโบล เรสเทอรองตส์ จำกัด (Tricon Global Restaurants) เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยัม! แบรนด์ส อิงค์ จำกด (Yum! Brands, Inc.) และบริษัท ไทรคอน เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Tricon Restaurants International) เปลี่ยนเป็น บริษัท ยัม! เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Yum Restaurants International) หลังจากได้เข้าซื้อกิจการของ ร้านอาหารลอง จอห์น ซิลเวอร์ และ เอ แอนด์ ดับบลิว จึงทำให้มีแบรนด์อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 5 แบรนด์คือ เคเอฟซี, พิซซ่าฮัท, ทาโก้ เบลล์, ลอง จอห์น ซิลเวอร์ และ เอ แอนด์ ดับบลิว
พิซซ่าฮัทในเมืองไทย
ภาพจาก goo.gl/GIIdI3
สำหรับประเทศไทย พิซซ่า ฮัท ได้เข้ามาเปิดให้บริการจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 เป็นสาขาแรกที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว หรือ บิ๊กซี ลาดพร้าวในปัจจุบัน โดย ยัม! ประเทศไทย เป็นเจ้าของและผู้บริหารแบรนด์ร้านอาหารบริการด่วน พิซซ่าฮัท ในประเทศไทย
ร้านพิซซ่าฮัทได้ส่งมอบความอิ่มอร่อยให้แก่ลูกค้าด้วยเมนู พิซซ่าหน้าต่างๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พิซซ่าแป้งหนานุ่ม นุ่มฮิตพิซซ่า พิซซ่าขอบไส้กรอกชีส เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเมนูทานเล่นที่สามารถเลือกรับประทานได้อีกมากมาย อาทิ พาสต้า สปาเก็ตตี้ ไก่นิวออร์ลีนส์ สโมคซอสเซจ และเมนูสลัดต่างๆ
ปัจจุบัน พิซซ่า ฮัท เปิดให้บริการทั้งในส่วนการรับประทานที่ร้าน และบริการจัดส่งถึงบ้าน ที่ให้บริการผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ง Call Center 1150 และ www.pizzahut.co.th โดยมีร้านพิซซ่าฮัทเปิดให้บริการมากกว่า 85 สาขา ทั่วประเทศ
จุดเปลี่ยน Pizza Hut ขายระบบแฟรนไชส์ให้ตระกูลมหากิจศิริ
ภาพจาก goo.gl/9LQdMj
กิจการร้านพิซซ่า Pizza Hut ในประเทศไทย มีอันต้องเปลี่ยนเจ้าของ เมื่อบริษัท Yum Restaurants เจ้าของเดิมจากสหรัฐอเมริกา (เป็นเจ้าของแบรนด์ Pizza Hut, KFC, Taco Bell) ขายกิจการ Pizza Hut ให้กับบริษัทพีเอชแคปปิตอล (PH Capital) ในเครือ Thoresen Thai Agencies (TTA) โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายกิจการ
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รูปแบบเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นเชิงกลยุทธ์ ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นใน 3 อุตสาหกรรม คือ ขนส่ง (Thoresen Shipping) พลังงาน (บริษัทขุดเจาะ Mermaid Maritime) และโครงสร้างพื้นฐาน (บริหารท่าเรือ ปุ๋ย ลอจิสติกส์ถ่านหิน)
ตัวบริษัทแม่ Thoresen มีพื้นฐานมาจากบริษัทขนส่งทางเรือจากนอร์เวย์ ปัจจุบันเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในระดับนานาชาติ ส่วนบริษัท TTA มีตระกูลมหากิจศิริเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
โดยมีนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ หรือ กึ้ง ทายาทของตระกูลมหากิจศิริ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่และ CEO และมีนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีต CEO ของ ปตท. นั่งเป็นประธานกรรมการ
ส่วนบริษัท Yum Restaurants International (Thailand) หรือ ยัม! ประเทศไทย เป็นสาขาของ Yum! Brands จากสหรัฐอเมริกา กรณีของยัมประเทศไทยมีร้านฟาสต์ฟู้ดในเครือ 2 รายคือ KFC และ Pizza Hut
ข่าวการขาย Pizza Hut ในประเทศไทยครั้งนี้ จึงน่าสนใจว่าอาจเกิดจากการปรับธุรกิจของ Yum ในไทยเอง เพราะก่อนหน้านี้ Yum! ก็เพิ่งประกาศปรับวิธีจัดการสาขาของ KFC ในไทย จากเดิมที่ Yum เป็นเจ้าของเองในบางสาขา ผสมผสานกับการให้แฟรนไชส์ในบางสาขา มาเป็นใช้ระบบแฟรนไชส์ทั้งหมด Yum ไม่ได้เป็นเจ้าของสาขาเองอีกแล้ว
ทั้งหมดเป็นเรื่องราวและจุดกำเนิดของแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกย่าง Pizza Hut แม้ว่าการต่อสู้และจุดพลิกผันของ Pizza Hut จะมีมากมาย แต่สุดท้ายก็ดิ้นสู้จนกลับเป็นแบรนด์พิซซ่าที่ได้รับความนิยมเหมือนเดิม
อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/0gM65i
สนใจซื้อแฟรนไชส์ต่างๆ goo.gl/RNuee3
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pWnxD8