“กาแฟพันธุ์ไทย” กลยุทธ์สร้างแฟรนไชส์จากความคุ้มค่าบัตรสมาชิก PT MAX CARD PLUS (บัตรแดง)

วันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธความสำเร็จของ “กาแฟพันธุ์ไทย” แบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟสัญชาติไทย หนึ่งในธุรกิจ Non-Oil ภายใต้การบริหารของบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เจ้าของปั๊มน้ำมัน PT กว่า 2,200 แห่งทั่วประเทศ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2555 สาขาบางปะหัน ชูความเป็นแบรนด์ที่มีอัตลักษณ์และเสน่ห์ของความเป็นไทย

ความสำเร็จของแฟรนไชส์กาแฟพันธุ์ไทย คือ การแซงคู่แข่งแฟรนไชส์กาแฟอินทนิลที่มีจำนวน 1,005 แห่ง ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ของตลาดกาแฟในบ้านเรา ด้วยจำนวนสาขา 1,150 แห่ง เป็นรองแค่ “คาเฟ่ อเมซอน” ที่มีสาขากว่า 4,277 แห่ง กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของ “กาแฟพันธุ์ไทย” คืออะไร ทำไมแรงจัด! แซงขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ของแบรนด์ร้านกาแฟในไทยได้

จุดเริ่มต้นกาแฟพันธุ์ไทย

คนไทยค้นหาในปี 2024

ร้านกาแฟพันธุ์ไทยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 ในปั๊มน้ำมัน PT สาขาบางปะหัน ให้บริการลูกค้าที่ขับรถและเดินทางผ่านไปมาได้หยุดพักผ่อนและดื่มกาแฟดีที่มีคุณภาพ โดยกาแฟพันธุ์ไทยเลือกใช้เมล็ดกาแฟ “ดอยช้าง” เมล็ดกาแฟอาราบิก้าของไทยที่ได้รับมาตรฐานติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ทำให้ได้กาแฟที่มีกลิ่นหอมและรสชาติเข้มข้น นุ่มลิ้น

แบรนด์แฟรนไชส์กาแฟพันธุ์ไทยมีความโดดเด่นไม่เหมือนร้านกาแฟสมัยนิยมทั่วไป สไตล์การออกแบบตกแต่งร้านเน้นความเป็นไทยแท้ ทั้งโลโก้มีที่มาจากเอกลักษณ์ของประเทศไทย คือ “ช้างไทย ศาลาไทย และดอกราชพฤกษ์” และข้อความสนับสนุนแบรนด์ “เข้ม เท่ จริงใจ แบบไทยแท้ๆ” รวมถึงสีของแบรนด์ที่เป็น “สีน้ำตาลเข้มและสีของไม้”

ว่ากันว่า DNA ที่ถูกถ่ายทอดมาจากแบรนด์แม่อย่าง PT มาสู่ร้านกาแฟพันธุ์ไทย ก็คือ การเป็นแบรนด์ผู้ท้าชิงที่ผู้บริโภครักมากที่สุด ทำให้เราเห็นการทำตลาดในช่วงที่ผ่านมาของกาแฟพันธุ์ไทย แม้ตอนนั้นเป็นเบอร์ 3 ของตลาดร้านกาแฟในบ้านเรา กลับมาแซงขึ้นเป็นเบอร์ 2 ได้ และมีการนำสนอความแปลกใหม่ที่สร้างความแตกต่างในตลาดจนสามารถจับต้องได้

กลยุทธ์การตลาดผ่านบัตร Max Card Plus สีแดง

ภาพจาก www.facebook.com/punthaicoffee

แฟรนไชส์ร้านกาแฟพันธุ์ไทยทำตลาดภายใต้กลยุทธ์ผลักดันตัวเอง เข้าไปอยู่ในทุกโมเม้นต์ของความต้องการดื่มกาแฟของลูกค้าทุกคน หรือ Every Where Every One เพราะจากการรีเสิร์ชของพันธุ์ไทยพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ยังมองว่าพันธุ์ไทยเป็นร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน PT ต่อจากนี้กาแฟพันธุ์ไทยจะให้น้ำหนักการขยายสาขานอกปั๊ม PT มากขึ้น

ที่ผ่านมากาแฟพันธุ์ไทยขยายสาขาได้ครอบคลุมพื้นที่ 74 จังหวัด ขาดจังหวัดที่ยังไม่ได้เข้าไป คือ ยะลากับนราธิวาส สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ การขยายสาขาส่วนหนึ่งได้มีการนำข้อมูลจากบัตร Max Card ที่ปัจจุบันมีฐานลูกค้าอยู่ที่ 23 ล้านราย

รวมถึงตัวบัตร Max Card Plus สีแดง ที่มีคนถืออยู่ราว 1 ล้านราย เข้ามาเป็นตัวช่วยในการขยายสาขากาแฟพันธุ์ไทย โดยจะมีโมเดลของร้าน 3 รูปแบบ คือสาขา Stand Alone, สาขาในรูปแบบ Built-In ในอาคาสำนักงาน และสาขาที่เป็น Kiosk

ลูกค้าของร้านกาแฟพันธุ์ไทย 70% จะเป็นลูกค้าที่ถือบัตร Max Card Plus สีแดง ซึ่ง Royalty Platform ตัวนี้จะสามารถเข้ามาช่วยสร้างฐานลูกค้าประจำให้กับร้านกาแฟพันธุ์ไทยได้เป็นอย่างดี และจากการนำเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะส่วนลดที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ทั้งส่วนลดค่าน้ำมัน 50% จำนวน 200 ลิตร/เดือน และเครื่องดื่มร้านกาแฟพันธุ์ไทย 50% จำนวน 10 แก้ว/เดือน และอื่นๆ ช่วงดึงดูดลูกค้า Max Card Plus สีแดง เข้ามาใช้บริการในปั๊มเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ความคุ้มค่าของบัตร Max Card Plus สีแดง

  • ส่วนลดค่าเครื่องดื่มกาแฟที่ร้านกาแฟพันธุ์ไทยทุกเมนู 50% จำนวน 10 แก้วต่อเดือน
  • สมมติซื้อเครื่องดื่มในร้านกาแฟพันธุ์ไทยวันละ 60 บาท/แก้ว
  • ซื้อ 1 เดือน 60 x 30 = 1,800 บาท
  • ซื้อ 1 ปี 1,800 x 12 = 21,600 บาท
  • รับส่วนลด 50% จำนวน 10 แก้วต่อเดือน 30 x 10 = 300 บาท
  • รับส่วนลด 50% ต่อปี 300 x 12 = 3,600 บาท
  • หักส่วนลดต่อเดือน 1,800 – 300 = 1,500 บาท
  • หักส่วนลดต่อปี 21,600 – 3,600 = 18,000 บาท

นั่นก็เท่ากับว่า 1 เดือน ลูกค้าร้านกาแฟพันธุ์ไทยประหยัดเงิน 300 บาท ถ้า 1 ปี ก็ 3,600 บาท

ถ้าหักค่าสมัครสมาชิกบัตร 599 บาท/ปี ก็ยังประหยัดถึง 3,001 บาท/ปี

ยังไม่รวมส่วนลดอื่นๆ เช่น ส่วนลดน้ำมัน 50 สตางค์/ลิตร จำนวน 20 ลิตร/เดือน อีกด้วย

เรียกได้ว่า บัตร PT Max Card Plus สีแดงแรงจัด! คุ้มเต็มแมกซ์

3 โมเดลเปิดร้ายกาแฟพันธุ์ไทย

กาแฟพันธุ์ไทย

1.Kiosk

  • ขนาดพื้นที่ เริ่มต้นที่ 9 ตรม.
  • ค่าก่อสร้าง,งานตกแต่ง,งานระบบ 378,000 บาท
  • ค่าออกแบบพื้นที่ 50,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ภายในร้าน 400,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 150,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน 80,000 บาท
  • เงินประกันแบรนด์ 200,000 บาท

#รวมราคาเริ่มต้น (ไม่รวม VAT) 1,308,000 บาท

2.Built-In

  • ขนาดพื้นที่ เริ่มต้นที่ 35 ตรม.
  • ค่าก่อสร้าง,งานตกแต่ง,งานระบบ 800,000 บาท
  • ค่าออกแบบพื้นที่ 50,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ภายในร้าน 750,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 150,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน 80,000 บาท
  • เงินประกันแบรนด์ 200,000 บาท

#รวมราคาเริ่มต้น (ไม่รวม VAT) 2,030,000 บาท

3.Stand Alone

  • ขนาดพื้นที่ เริ่มต้นที่ 40 ตรม.
  • ค่าก่อสร้าง,งานตกแต่ง,งานระบบ 1,320,000 บาท
  • ค่าออกแบบพื้นที่ 50,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ภายในร้าน 750,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 150,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน 80,000 บาท
  • เงินประกันแบรนด์ 200,000 บาท

#รวมราคาเริ่มต้น (ไม่รวม VAT) 2,500,000 บาท

ทุกโมเดลการลงทุนแฟรนไชส์กาแฟพันธุ์ไทย ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนอื่นๆ

  • ROYALTY FEE + MARKETING FEE 3% (ของยอดขาย /เดือน)
  • ค่าเช่าเครื่อง POS 2,000 บาท /เดือน (หรือ 24,000 /ปี)
  • ยังไม่รวมค่าวัตถุดิบเปิดร้านครั้งแรก ประมาณ 120,000 – 200,000 ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่สาขา
  • อายุสัญญา 6 ปี (ได้รับเงินประกันคืน)

ซื้อแฟรนไชส์กาแฟพันธุ์ไทยวันนี้ คืนทุนเมื่อไหร่?

เปิดร้านกาแฟพันธุ์ไทยที่คนนิยมมี 3 โมเดลให้เลือกลงทุน ได้แก่ คีออส บิ้วอิน และ สแตนด์อโลน ใช้เงินลงทุนตั้งแต่ 1.93 – 3.63 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งเป็นราคารวมค่าวัตถุดิบเปิดร้านครั้งแรก 200,000 บาท ระยะสัญญา 6 ปี และ ค่า Royalty fee และ Marketing Fee 3% + 3% = 6%

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าร้านกาแฟพันธุ์ไทย นอกจากจะมีเครื่องดื่มชา กาแฟขายแล้ว ยังขายเบเกอรี่และขนมอบ (Bakery & Pastry), ขนมแปรรูปจากชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ (Pack Food), สินค้าที่ระลึกและของพรีเมียมจากแบรนด์ (Merchandising) รวมถึงอุปกรณ์การชงกาแฟ เมล็ดกาแฟและกาแฟดริปพร้อมดื่มที่บ้าน (Home Coffee Product)

  • ขอประมาณการราคากาแฟ+ขนมอื่นๆ เฉลี่ย 70 บาท/แก้ว/บิล
  • ต้นทุนกาแฟประมาณ 30%
  • ค่า Royalty fee และ Marketing Fee 3% + 3% = 6%
  • เอาต้นทุนกาแฟ 30% + ค่าสิทธิ์ 6% = 36%
  • ขายกาแฟราคา 70 บาท/แก้ว มีต้นทุน = 25.2 ปัดเป็น 26 บาท/แก้ว
  • กาแฟหนึ่งแก้วมีกำไร 44 บาท
  • ประมาณการเฉลี่ยวันหนึ่งขายกาแฟได้ 200 แก้ว
  • ยอดขายต่อวัน 44 x 200 = 8,800 บาท

#ยอดขายต่อเดือน 8,800 x 30 = 264,000 บาท (กำไรยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย)

กาแฟพันธุ์ไทย

ค่าใช้จ่าย

  • ประมาณการค่าเช่าอยู่ที่ 50,000 บาท/เดือน อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้นะคับ
  • ค่าจ้างพนักงาน 4 คน ประมาณ 52,000 บาท/เดือน
  • ค่าน้ำ และ ค่าไฟอยู่ที่ 10,000 บาท/เดือน
  • ค่าซ่อมบำรุงในร้าน 5,000 บาท/เดือน
  • รวมค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายในแต่ละเดือน 117,000 บาท

#กำไรสุทธิต่อเดือน 264,000 – 117,000 = 147,000 บาท/เดือน (ยังไม่หักเงินเดือนตัวเอง)

สมมติถ้าเลือกลงทุนแฟรนไชส์กาแฟพันธุ์ไทยทั้ง 3 รูปแบบ

  • Stand Alone ลงทุน 3,630,000 บาท หาร กำไรสุทธิ 147,000 บาท = คืนทุน 24.6 เดือน
  • Built in ลงทุน 2,530,000 บาท หาร กำไรสุทธิ 147,000 บาท = คืนทุน 17.2 เดือน
  • Kiosk ลงทุน 1,930,000 บาท หาร กำไรสุทธิ 147,000 บาท = คืนทุน 13.1 เดือน

เป้าหมายการขยายสาขาแฟรนไชส์ “กาแฟพันธุ์ไทย”

กาแฟพันธุ์ไทย

เป้าหมายการขยายสาขาของแฟรนไชส์ร้านกาแฟพันธุ์ไทย จะให้ความสำคัญกับการขยายสาขานอกปั๊มน้ำมัน PT มากขึ้น เพราะจะช่วยขยายฐานลูกค้าแบรนด์พันธุ์ไทยให้เติบโตมากขึ้น โดยจากผลการทำวิจัยพบว่า คนยังมองแบรนด์พันธุ์ไทยเป็นร้านกาแฟที่อยู่ในปั๊ม PT การขยายออกมานอกปั๊มมากขึ้นจะเข้ามาช่วยเปลี่ยนภาพดังกล่าวได้ทางหนึ่ง

ปัจจุบันกาแฟพันธุ์ไทยมีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 1,150 สาขา ในจำนวนนั้นเป็นแฟรนไชส์ 530 สาขา เติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าเพิ่งเริ่มต้นขายแฟรนไชส์กับผู้สนใจเมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนร้านที่เปิดในปั๊ม 60% และร้านนอกปั๊ม 40% มีเป้าหมายในการขยายเพิ่มสิ้นปี 2567 อีก 400 สาขา มียอดขาย 2,600 ล้านบาท ภายในปี 2570 หรือในอีก 3 ปี ขยายให้ครบ 5,000 สาขา

ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ PT ยังมองว่าคนไทยยังมีการดื่มกาแฟต่อหัวต่ำกว่าในหลายประเทศ คนไทยดื่มเฉลี่ยวันละไม่ถึง 1 แก้ว หรือ 300 แก้ว/คน/ปี ขณะที่ญี่ปุ่นมีตัวเลขอยู่ที่ 400 แก้ว และยุโรปสูงถึง 600 แก้ว/คน/ป

นั่นจึงทำให้ PT วางกลยุทธ์สร้างแฟรนไชส์ร้าน “กาแฟพันธุ์ไทย” ให้ครบ 5,000 สาขาภายในปี 2570 โดยขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาดผ่านความคุ้มค่าของบัตรสมาชิก PT MAX CARD PLUS (บัตรแดง) 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช