การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่คุณคาดไม่ถึง!

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเกิดการชะลอตัวและหยุดชะงัก ลูกจ้าง พนักงานองค์กรภาคธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงาน ว่างงาน โดนลดเงินเดือน จึงทำให้คนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวมองหาช่องทางในการสร้างอาชีพเพื่อหารายได้เพิ่ม

ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับการสร้างอาชีพ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเป็นธุรกิจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้

ปัจจุบันตลาดธุรกิจแฟรนไซส์ในประเทศไทยมีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าตลาดเกือบ 3 แสนล้านบาทต่อปี เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตได้ดีในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี เพราะเป็นช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มของคนตกงาน ว่างงาน

ซึ่งที่ผ่านกลุ่มคนเหล่านี้เลือกธุรกิจแฟรนไชส์สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ เพราะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการสร้างธุรกิจเอง ไม่ต้องเสียเวลาในการลงผิดลองถูกในการทำให้สินค้าหรือธุรกิจได้รับความนิยมในท้องตลาด ถ้าถามว่าประเภทธุรกิจแฟรนไชส์อะไรบ้าง มีการเติบโตมากที่สุด วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

อาหาร-เครื่องดื่ม รั้งอันดับ 1

การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

โดยกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตมากที่สุด คือ อาหาร เครื่องดื่มและไอศกรีม มีจำนวนแบรนด์แฟรนไชส์ 149 กิจการเท่ากัน คิดเป็นสัดส่วน 23.95% ของธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหมด ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารที่มีการเติบโตขึ้นมา ส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารแนวสะดวกทาน ร้านไซส์เล็ก สตรีทฟู้ด รถเข็น ใช้พื้นที่น้อย ขายง่าย ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์ลงทุนต่ำ มุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างอาชีพให้กับผู้ที่อยากมีรายได้เพิ่ม หลายๆ แบรนด์เปลี่ยนเป็นคีออส หรือ Food truck

16

แฟรนไชส์เครื่องดื่มและไอศกรีมมาแรงไม่แพ้อาหาร เปิดร้านขายได้หลากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเครื่องดื่มชา กาแฟ ชานมไข่มุก รวมถึงเครื่องน้ำผลไม้ต่างๆ แต่ละแฟรนไชส์ปรับโมเดลร้านให้เล็กลง ลงทุนต่ำ เข้าถึงง่าย ลูกค้าจะนิยมซื้อกลับบ้าน

การศึกษา เริ่มกลับมาคึกคัก

20

ส่วนแฟรนไชส์มีการเติบโตอันดับ 3 คือ การศึกษา มีจำนวน 102 กิจการ คิดเป็นสัดส่วน 16.4% ของแฟรนไชส์ทั้งหมด การเติบโตขึ้นของแฟรนไชส์การศึกษาอาจมาจากมีการเปิดภาคเรียน ทั้งเรียนออฟไลน์ และออนไลน์ ทำให้แฟรนไชส์กวดวิชา สอนพิเศษ รวมถึงสถานบันพัฒนาทักษะเด็ก เริ่มกลับมาคึกเปิดแฟรนไชส์กันมากขึ้น

สะดวกส่ง สะดวกซัก สะดวกล้าง แรงไม่หยุด

11

ขณะที่แฟรนไชส์กลุ่มบริการมีการเติบโตมาเป็นอันดับ 4 ไม่ว่าจะเป็นสะดวกซัก สะดวกส่ง สะดวกล้าง มีจำนวนกว่า 53 กิจการ สัดส่วน 8.52% ซึ่งในยุคผู้บริโภคต้องการความรวดเร็ว สะดวกสบาย ธุรกิจบริการซักอบรีด คาร์แคร์ รวมถึงธุรกิจบริการตู้หยอดเหรียญต่างๆ เป็นธุรกิจบริการที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตมาตั้งแต่ต้นปี 2563 และเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจนถึงปี 2565

15

ขณะที่แฟรนไชส์สะดวกส่ง ไปรษณีย์เอกชน ขนส่งโลจิสติกส์ รวมถึงเดลิเวอรี่ เป็นอีกหนึ่งประเภทธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมและมาแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปี 2565 ยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุค New Normal โดยผู้บริโภคจะหันมานิยมซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ส่งผลต่อธุรกิจบริการขนส่งโลจิสติกส์และไปรษณีย์มีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งการใช้บริการของผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจให้บริการด้านนี้เพิ่มขึ้น โดยมูลค่าตลาดของธุรกิจกลุ่มนี้มีมากกว่า 60,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

สะดวกซื้อ ตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้า

19

ด้านแฟรนส์ค้าปลีก สะดวกซื้อ มีจำนวน 40 กิจการ คิดเป็นสัดส่วน 6.43% ถือว่ามีการขยายตัวเช่นเดียวกัน ได้รับความนิยมใช้บริการจากผู้บริโภค ทั้งช่วงการระบาดและหลังการระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2565 เพราะแฟรนไชส์ค้าปลีกส่วนใหญ่จะมีจุดเด่นตรงที่ผู้บริโภคหาซื้อสินค้าและบริการได้ง่าย สะดวก ทั้งร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา เครื่องสำอาง และอื่นๆ โดยธุรกิจเหล่านี้แทบจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19

อีกทั้งสาขาส่วนใหญ่ของแฟรนไชส์กลุ่มค้าปลีกจะอยู่นอกห้างสรรพสินค้า ตามแหล่งชุมชนที่พักอาศัย ขายออนไลน์และออฟไลน์ เปิดบริการ 24 ชั่วโมง เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้สะดวกทุกเพศทุกวัย มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย

22

นอกจากนี้ยังมีแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตและได้รับความนิยมจากนักลงทุนเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์โอกาสทางธุรกิจ ความงาม งานพิมพ์ และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งรวมๆ แล้วมีจำนวนรวมกันกว่า 80 กิจการ

ข้อมูลการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์บนเว็บไซต์ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://bit.ly/3azQVfC พบว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยมีทั้งสิ้น 622 กิจการ แบ่งตามประเภท ดังนี้

  1. แฟรนไชส์อาหาร 149 กิจการ
  2. แฟรนไชส์เครื่องดื่มและไอศกรีม 149 กิจการ
  3. แฟรนไชส์การศึกษา 102 กิจการ
  4. แฟรนไชส์บริการ 53 กิจการ
  5. แฟรนไชส์เบเกอรี่ 52 กิจการ
  6. แฟรนไชส์ค้าปลีก 40 กิจการ
  7. แฟรนไชส์โอกาสทางธุรกิจ 29 กิจการ
  8. แฟรนไชส์ความงาม 25 กิจการ
  9. แฟรนไชส์งานพิมพ์ 14 กิจการ
  10. แฟรนไชส์อสังหาริมทรัพย์ 8 กิจการ
  11. แฟรนไชส์หนังสือ, วิดีโอ 1 กิจการ

#แฟรนไชส์ไทยมาใหม่ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 17%

12

ขณะที่ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564) ธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 575 กิจการ แบ่งตามประเภทได้ดังนี้

  1. อาหาร 181 กิจการ (คิดเป็นร้อยละ 31.48)
  2. เครื่องดื่ม 136 กิจการ (คิดเป็นร้อยละ 23.65)
  3. การศึกษา 101 กิจการ (คิดเป็นร้อยละ 17.57)
  4. ค้าปลีก 88 กิจการ (คิดเป็นร้อยละ 15.29)
  5. บริการ 44 กิจการ (คิดเป็นร้อยละ 7.66)
  6. สปาและความงาม 25 กิจการ (คิดเป็นร้อยละ 4.35)

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3o0UA9w

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช