การวิเคราะห์บทความการลงทุน ” เปิดร้าน Cafe Amazon ใช้งบเท่าไหร่ “
การวิเคราะห์บทความเกี่ยวกับการลงทุน ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง “ เปิดร้าน Cafe Amazon ใช้งบเท่าไหร่ น่าลงทุนจริงหรือไม่ ” อยากแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในบทความดังกล่าว
จาก https://www.marketingoops.com/ สามารถอภิปรายอ้างอิงถึงความรู้ที่ได้เรียนมา และค้นคว้าหาข้อมูลหรือแนวความคิด เพิ่มเติมมาประกอบการอภิปรายได้
จากข้อมูลของคาเฟ่ อเมซอน บอกว่า ร้านนั้นจะมี 2รูปแบบ คือ
- ในอาคาร (Shop)
- นอกอาคาร (Stand Alone)
หากเป็นในอาคารที่มีขนาด (ร้าน) 40 ตารางเมตรขึ้นไป มีการคำนวณค่าใช้จ่ายออกมา จะต้องใช้เงินระหว่าง 2,389,000 –3,729,000 บาท ส่วนหากเป็นนอกอาคาร ค่าใช้จ่ายจะอยู่ระหว่าง 2,689,000 –4,229,000 บาท
รายได้ คาเฟ่ อเมซอน
- ปี 2557 มีรายได้รวม 3,500 ล้านบาท
- ปี 2558 รายได้เพิ่มเป็น 5,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.28%
- ปี 2559 รายได้ 8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.14%
- ปี 2560 รายได้ขึ้นมาเป็น 10,256 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 28%
ปตท. ตั้งเป้ายอดขายกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ว่าจะเติบโตในอัตรา 25%
ปตท. ยังตั้งเป้าหมายด้วยว่าจะมีสาขาคาเฟ่ อเมซอนเพิ่มขึ้นเป็น 2,300 แห่ง ในปี 2561 และ 4,000 แห่ง ภายในปี 2565 ปตท. บอกว่า การเติบโตของคาเฟ่ อเมซอน จะช่วยสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรของไทยด้วย
เพราะกาแฟที่นำมาขาย มาจากเกษตรกรของไทย นี่ยังไม่รวมสินค้า ขนมอื่นๆ ที่วางขายในร้านกาแฟ ที่มาจากผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี แน่นอนว่า ณ วันนี้ คาเฟ่ อเมซอน คือ ร้านกาแฟที่มีขนาดใหญ่สุดในประเทศไทยไปแล้ว และมีส่วนแบ่งการตลาด แซงแบรนด์กาแฟระดับโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” มาตั้งแต่ปี 2558 เลยมาจนถึงปี 2561 และน่าจะยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้ต่อไป
ก่อนอื่นอยากทำความเข้าใจการลงทุนของกาแฟ Cafe Amazon เป็นรูปแบบแฟรนไชส์
โดยวางแผนเปิดแบบ นอกอาคาร (Stand Alone) ประเมินราคาลงทุนต่อ ตรม. ประมาณ 21,045 บาท โดยใช้พื้นที่ประมาณ 150 ตรม. ต้องเตรียมเงินประมาณ 21,046 x 150 = 3,156,750 บาท ในเงื่อนไขสำหรับการให้สิทธิแฟรนไชส์ 6 ปี ซึ่งหมายความว่าเราต้องได้ทุนคืนภายในระยะเวลา 3 ปีเป็นอย่างน้อย
ตามมาตรฐานของการลงทุนแฟรนไชส์จะต้องมีกำไร 2 % – 4 % ต่อเดือนจากเงินลงทุน เรามาจำลองสถานะการรายได้ที่มีกำไรจากต่ำสุดที่ 2% และ สูงที่สุด 4 %
- ที่ 2 % อยู่ที่ 63,135 บาท คิดต่อปี 757,620 บาท คืนทุน 50 เดือน คิดเป็นปี 4.1 ปี
- ที่ 4 % อยู่ที่ 126,270 บาท คิดต่อปี 1,515,240 บาท คืนทุน 25 เดือน คิดเป็นปี 2.08 ปี
จากแบบที่ 1 คิดที่ 2 %
จะมีกำไรจากการลงทุนหลังจากคืนทุนแล้วเมื่อครบสัญญา 6 ปี อีกประมาณ 22 เดือน 1,388,970 บาท
จากแบบที่ 2 คิดที่ 4 %
จะมีกำไรจากการลงทุนหลังจากคืนทุนแล้วเมื่อครบสัญญา 6 ปี อีกประมาณ 47 เดือน 5,934,690 บาท
เบื้องต้นน่าสนใจมาก ในการลงทุน 3,156,750 บาท ทั้งนี้เรื่องแบรนด์เองไม่น่าห่วงมาก เพราะแบรนด์ของ Cafe Amazon ค่อนข้างแข็งที่เดียว ยิ่งอยู่ในปั๊ม ปตท. ด้วยแล้ว ถือ ว่าน่าลงทุน เรื่องระบบการบริหารสาขาด้วยประสบการณ์ที่มากกว่า 2,000 สาขา คงช่วยให้สนับสนุนวิธีการทำธุรกิจไม่ยากหนักในแง่ของการบริหารสาขา
แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ทำเลของปั๊มที่จะลงมากกว่า ทั้งนี้ต้องมาคำนวณของลูกค้าขาจร ลูกค้าขาประจำที่จะมาใช้บริการในสาขาที่เราจะลงทุน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจและเชื่อว่าทางแฟรนไชส์ซอร์เองน่าจะมีการทำข้อมูล ก่อนที่จะตั้งปั๊มน้ำมันอย่างแน่นอน ข้อมูลนี้น่าจะสอบถามได้ไม่ยากนัก
การศึกษาข้อมูล จากคุณพรนภาก็เป็นหนึ่งในผู้สนใจเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon เพราะเธอชอบการดื่มกาแฟเป็นประจำ และก็เป็นกาแฟในร้าน Cafe Amazon ด้วย เมื่อคุณพรนภาอยากเป็นเจ้าของร้านกาแฟ Cafe Amazon เธอก็ได้เข้าไปปรึกษาหุ้นส่วน ซึ่งเป็นเพื่อนของเธออีก 2 คน
แต่พวกเธอยอมรับว่าช่วงนั้น พวกเธอไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์เลย จึงทำให้เธอและหุ้นส่วนต้องศึกษาหาความรู้เรื่องของระบบแฟรนไชส์เพิ่มเติม หลังจากที่เธอและหุ้นส่วนรู้วิธีและขั้นตอนการซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon แล้ว
คุณพรนภาก็ได้จัดตั้ง บริษัท มาลี-นัส คอฟฟี่ จำกัด เพื่อเป็นตัวแทนในการซื้อแฟรนไชส์ เพราะคุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ ต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคลเท่านั้น มีความพร้อมด้านการลงทุน เงินทุนหมุนเวียน และบุคลากรประจำร้านกาแฟ
ขั้นตอนการซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon คุณพรนภาเล่าให้ฟังว่า หลังจากจัดตั้งบริษัทฯ เธอก็ได้หาทำเลในการเปิดร้านกาแฟ ซึ่งถือว่าสำคัญอย่างมาก พวกเธอหาทำเลมาตั้งหลายที่ สุดท้ายพวกเธอก็ได้เล็งไปที่เมืองทองธานี อีกทั้งมีผู้คนพลุกพล่าน มีการจัดงานแสดงสินค้าเป็นประจำ อยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน
คุณพรนภายอมรับว่า ขั้นตอนการขอซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon ในตอนนั้น ซึ่งเป็นร้านสาขาแรกของเธอและเพื่อนอีก 2 ในการเปิดร้านกาแฟเรื่องของทำเลที่ตั้งเป็นเรื่องสำคัญมาก หลังจากเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon สาขาแรกในเมืองทองธานีประสบความสำเร็จ
คุณพรนภาก็ได้ลงทุนเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon สาขาที่ 2 โดยเธอทำคนเดียว ไม่มีหุ้นส่วนเหมือนร้านแรก โดยสาขาที่ 2 เปิดอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และล่าสุดเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ก็ได้เปิดร้านกาแฟสาขา 3 ที่ห้างบิ๊กซี ถนนพระราม 2 งบลงทุนในการเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon แต่ละสาขาของเธอ ใช้งบประมาณในการลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท
แต่ละสาขาร้านกาแฟ Cafe Amazon มีการสร้างทีมงานขึ้นมาเอง สาขาละประมาณ 6 คนเป็นในรูปแบบของบริษัท เปิดร้าน 07.00-21.00 น.มีการอบรมทั้งที่บริษัทปตท.และอบรมในร้านสาขา คุณพรนภายังบอกด้วยว่า เหตุผลที่เธอเลือกซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon เพราะการซื้อแฟรนไชส์สามารถทำรายได้มากกว่าทำงานประจำ หรือการเป็นลูกจ้าง
ที่สำคัญการซื้อแฟรนไชส์ มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก แม้ว่าการค้าขายจะมีความเสี่ยง แต่ถ้าเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ที่ดี มีศักยภาพ ได้รับการยอมรับ ก็ไม่มีความเสี่ยง เช่นเดียวกับที่เธอเลือกลงทุนแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon ที่เจ้าของแฟรนไชส์การันตีว่าจะขายได้วันละ 300 แก้ว ซึ่งแต่ละสาขาของเธอก็สามารถขายได้ตามเป้า คือ จุดคุ้มทุนที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนดไว้
หากคิดราคากาแฟเฉลี่ยแก้วละ 50 บาท ในแต่ละสาขาของเธอก็สามารถทำรายได้ประมาณ 450,000 บาทต่อเดือน ( ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ ) นอกจากนี้ แฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ถือเป็นแบรนด์กาแฟอันดับ 2 รองจากสตาร์บัคส์ ที่สำคัญเป็นแบรนด์ที่มีโอกาสเติบโต สร้างรายได้มั่นคง และเป็นธุรกิจที่จะสามารถดูแลเธอและครอบครัวได้
จากตัวอย่างของคุณพรนภา ยอดขายเฉลี่ยวันละ 300 แก้ว คิดรายได้ทั้งเดือนประมาณ 450,000 บาท
- จากการจำลองรายได้ที่ 2 % เทียบกับรายได้ 450,000 จะอยู่ประมาณ 14.03 % = 63,135 บาท
- จากการจำลองรายได้ที่ 4 % เทียบกับรายได้ 450,000 จะอยู่ประมาณ 28.06 % = 126,270 บาท
ซึ่งค่อนค้างใกล้เคียงกับข้อมูลของคุณพรนภาอย่างมาก ทั้งนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนที่เราจะต้องเลือกทำเล ค่าเช่า ค่าแรงพนักงานที่ต้องสอดคล้องกับคุณสมบัติที่กำหนด เราคงเทียบกับสตาร์บักไม่ได้ที่รับแต่ปริญญาตรีมาทำงานในร้าน เพราะต้นทุน 6 คน ต่อวันก็มีผลต่อกำไรที่จะได้เช่นกัน
ถ้ากิจการเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon จะลงทุนในโครงการ ๆหนึ่ง โดยมีเงินลงทุนเริ่มแรก 3,156,750 บาท มีเงินสดรับปีละ 757,620 บาท เป็นเวลา 6 ปี การคำนวณระยะเวลาคืนทุนของโครงการ สมมติว่าเราจะยอมรับโครงการนี้ มีระยะเวลาคืนทุนเป็นอย่างไรจะช่วยอธิบายให้ชัดเจนขึ้น
จากแบบที่ 1 คิดที่ 2 %
- ปี1: 3,156,750 – 757,620 = 2,399,130 ยังไม่ได้คืนทุน
- ปี 2: 2,399,130 – 757,620 = 1,641,510 ยังไม่ได้คืนทุน
- ปี 3: 1,641,510 – 757,620 = 883,890 ยังไม่ได้คืนทุน
- ปี 4: 883,890 – 757,620 = 126,270 ยังไม่ได้คืนทุน
- ปี 5: 126,270 – 757,620 = – 631,350 ได้รับการคืนทุนในปีที่ 4
จากแบบที่ 1 คิดที่ 4 %
- ปี1: 3,156,750 – 1,515,240 = 1,641,510 ยังไม่ได้คืนทุน
- ปี 2: 1,641,510 – 1,515,240 = 126,270 ยังไม่ได้คืนทุน
- ปี 3: 126,270 – 1,515,240 = -1,388,970 ได้รับการคืนทุนในปีที่ 2
เราควรจะยอมรับ หรือ ปฏิเสธโครงการนี้ ?
การตัดสินใจลงทุนในโครงการ ควรพิจารณาหลายๆ เงื่อนไข ก่อนทำการตัดสินใจลงทุน NPV และ IRR คือ หลักเกณฑ์ การลงทุนหลักที่ใช้ในการลงทุน
ระยะเวลาคืนทุน คือ หลักเกณฑ์ รองที่ใช้ในการตัดสินใจในการลงทุน การหาค่า I.R.R และ กิจการจะรับโครงการนี้หรือไม่ ถ้ากิจการตั้งผลตอบแทนที่ต้องการไว้ที่
ระยะเวลาคืนทุน: Payback Period สูตรคำนวณ= I/NI 23 เดือน
หมายถึง ระยะเวลาของการลงทุนที่กระแสเงินสดรับสุทธิจากโครงการเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายสุทธิพอดี หรือกล่าวได้ว่าการลงทุนไม่มีกำไรและไม่ขาดทุนนั่นเอง ซึ่งโครงการนี้มีระยะเวลาคืนทุน 23 เดือน หรือคิดเป็นระยะเวลา 2 ปี อย่างไรก็ตามการคำนวณระยะเวลาคืนทุนมีจุดอ่อนตรงที่ไม่ได้นำเรื่องค่าของเงินตามเวลามาพิจารณาและไม่ให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดที่ได้รับภายหลังระยะเวลาคืนทุน
วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ: Net Present Value สูตรคำนวณ
NPV = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิของโครงการ – มูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน
หมายถึง การพิจารณาโครงการลงทุนโดยการประมาณจำนวนเงินลงทุน ประมาณกระแสเงินสด กำหนดอัตราผลตอบแทนที่ต้องการและพิจารณามูลค่าเงินที่คาดว่าจะได้รับสุทธิว่า กระแสเงินสดรับต้องมากกว่ากระแสเงินสดจ่าย ซึ่งแสดงว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจากเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้
อัตราผลตอบแทนภายใน: Internal Rate of Return
การพิจารณาโครงการลงทุนโดยใช้เกณฑ์อัตราผลตอบแทนในการตัดสินใจว่าควรเลือกลงทุน ถ้าอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับหรือมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
ก็แสดงว่าการลงทุนในโครงการคุ้มค่า ถ้าอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการที่คำนวณได้ มีค่าน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการก็แสดงว่าการลงทุนในโครงการนั้นไม่คุ้มค่าจึงควรปฏิเสธ
บทสรุป – การคิดลดกระแสเงินสด (DCF) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)
- ค่าแตกต่างระหว่างมูลค่าตลาดและต้นทุน ณ ปัจจุบัน
- ยอมรับโครงการถ้า NPV เป็นบวก
- ไม่มีปัญหาที่ควรกังวลในการใช้ตัววัดนี้
- เหมาะที่จะเป็นกฎเกณฑ์หลักในการตัดสนิใจ
- อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR)
- อัตราคิดลดที่ทำให้ NPV เท่ากับ 0
- ยอมรับโครงการถ้า IRR ดีกว่าผลตอบแทนที่ต้องการ
บทสรุป – การคิดลดกระแสเงินสดต่อ (DCF)
- ใช้การตัดสินใจแบบ NPV
- IRR ไม่น่าเชื่อถือในบางกรณี
- ดัชนีความสามารถในการทำกำไร
- อัตราส่วนระหว่างผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย
- ยอมรับการลงทุนถ้า PI มากกว่า 1
- ไม่สามารถใช้กับกรณีที่ต้องเลือกโครงการใดโครงการหนึ่ง (mutually exclusive projects)
- อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกลงทุนในกรณีที่มีเงินทุนจำกัด
บทสรุป – ระยะเวลาคืนทุน
- ระยะเวลาคืนทุน
- ระยะเวลาที่ใช้ในการที่จะได้รับเงินทุนกลับคืน
- ยอมรับโครงการถ้าระยะเวลาคืนทุนอยู่ในเวลาที่กำหนด
- เพิกเฉยต่อมูลค่าของเงินตามเวลา และต้องกำหนดระยะเวลาคืนทุนที่คาดหวัง
- ระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด
- ระยะเวลาคืนทุนโดยมีการคิดลด
- ยอมรับโครงการ ถ้าการคืนทุนได้ภายในเวลาที่กำหนด
- ต้องกำหนดระยะเวลาคืนทุนที่คาดหวังไว้เอง เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
*** การลงทุนมีความเสี่ยง *** จึงจำเป็นต้องมีความรู้และต้องอาศัยข้อมูลรวมถึงหลายๆปัจจัยในการเป็นข้อมูลในการตัดสินใจที่ดีที่สุด
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
www.สถาบันพัฒนาธุรกิจน้ำดื่มประเทศไทย.com