การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือที่เราเรียกว่า โฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics )

ในการปลูกพืชโดยปกติทั่วๆไปมักจะมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงต่างๆ มากมาย ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากดินที่เราใช้ปลูก การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องโรคต่างๆ ทำให้ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ สามารถวางแผนการปลูกได้กำหนดปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือความต้องการของตลาดได้ดีกว่าที่สำคัญในขณะนี้ก็คือ สามารถขายได้ราคาเทคโนโลยีการปลูกพืชไม่ใช้ดิน

ตรงกับคำในภาษาอังกฤษคือ Hydroponics โดย W.F.Gericke มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เป็นคนตั้งขึ้นจากคำ ในภาษากรีก 2 คำคือ Hydro แปลว่า น้ำ (Water) และ Ponos แปลว่า ทำงานหรือแรงงาน (Labor) รวมกันเป็น การทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ (Water Working)

เขาเป็นคนแรกที่นำเทคนิคการปลูกพืชแบบนี้ไประยุกต์ใช้เพื่อ ปลูกพืชเป็นการค้นในราวต้นศตวรรษที่ 19 จากการทดลองของเขาพบว่าวิธีนี้สามารถปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด นอกจากจะผลิตพืชได้มากแล้วยังสามารถใช้ปลูกพืชได้ในพื้นที่ที่ไม่มีดินเหมาะสมต่อการปลูกพืช เช่น ในสภาพที่มีแต่หินบนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งทหารอเมริกันได้ใช้วิธีนี้ปลูกพืชผักเพื่อรับประทานสดได้ทุกวัน โดยเฉพาะที่โซฟุ (Chofu) ประเทศญี่ปุ่น จากนั้นการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จึงแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

การปลูกพืชไม่ใช้ดินอาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การปลูกพืชโดยให้ส่วนของรากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หรือปลูกบนวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดินและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารหรือน้ำปุ๋ย วัสดุที่ใช้ปลูกพืชอาจจะเป็นสารอนินทรีย์ เช่น กรวด ทราย หิน ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้นมา เช่น เพอร์ไลท์ (Perlite) เวอร์มิคิวไลท์ (Vermiculite) ร็อกวูล (Rockwool) หรือสารอินทรีย์ เช่น พีท (Peat) มอส (Moss) ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เปลือกมะพร้าวสับ ขุยมะพร้าว แกลบสดและถ่านแกลบ เป็นต้น

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน

เนื่องจากการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีการจัดปัจจัยต่าง ๆ เช่น น้ำ แร่ธาตุ แสงอุณหภูมิให้แก่พืชอย่างเหมาะสม พืชจึงเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตมากสม่ำเสมอ สะอาด มีคุณภาพดี ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี สามารถปลูกพืชได้ในพื้นที่ไม่มีดิน หรือมีดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช การใช้น้ำใช้ปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประ-สิทธิภาพ ใช้แรงงานน้อย การควบคุมโรค แมลงศัตรูพืชทำให้ง่ายกว่า

ข้อเสียมักจะเป็นเรื่องการลงทุนในระยะแรก มีการลงทุนสูง แต่ในระยะยาวนับว่าน่าลงทุนเพราะความต้องการในตลาดปัจจุบัน มีแนวโน้มการบริโภคที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้นทุกวัน เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า ราคาผักทั่วไปในตลาดสดและราคาผักที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินมีราคาที่แตกต่างกันมาก

ตัวอย่างการปลูกพืชไม่ใช้ดินจากโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสได้ไปดูการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน ( Hydroponics ) ของนักเรียนโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม จึงได้ถือโอกาสเก็บภาพมาฝาก ก็ขอขอบคุณคณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคมไว้ ณ ที่นี้ด้วย นักเรียนได้ทำการปลูกคะน้าโดยปลูกในสารละลายที่มีสารอาหารผสมอยู่ แบบของกระบะที่ใช้ปลูกมีรายละเอียดดังรูป

0226262

ภาพแสดงผังระบบการปลูกโดยใช้สารละลาย

จากผังด้านบนเป็นการนำเหล็กสี่เหลี่ยมมาทำเป็นกระบะยาว 2.4 เมตร กว้าง1.2 เมตร มีขาตั้งให้กระบะสูงจากพื้นประมาณ 80 เซนติเมตร และใช้พลาสติกมาปู เดินท่อสร้างระบบน้ำ ตัวกระบะด้านบนมีปริมาตรน้ำประมาณ 200 ลิตร ส่วนถังสีฟ้าที่วางอยู่ใต้โต๊ะมีปริมาตร 200 ลิตรเช่นเดียวกัน เท่ากับในระบบมีน้ำทั้งมด 400ลิตร ทั้งนี้เราจำเป็นต้องทราบขนาดความจุของน้ำทั้งระบบเพื่อใช้ในการคำนวณการใส่สารอาหารในภายหลัง

32235665223232320000

323235656210021

3232325656100022

323232010000

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

3223265623223323232323
คราวนี้ผมจะกล่าวในรายละเอียดเรื่องการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ( Hydroponics ) แบบค่อนข้างละเอียด เอาแบบว่าอ่านแล้วสามารถไปปลูกไปทำเองที่บ้านได้ ถ้าชอบจะทำเป็นอาชีพปลูกผักขายก็ได้ ไม่ได้โม้ครับ ทำได้จริงๆ แต่ขอออกตัวก่อนครับว่าเนื้อเรื่องอาจจะละเอียดหน่อย จะได้เอาไว้ให้ค้นหาเวลามีเครื่องหมายคำถามขึ้นมาในความคิด ถ้ายังไม่มีคำตอบอยู่ดีก็สามารถถามเข้ามาได้ทั้งในจดหมายและใน webboard ครับ

ไฮโดรโปนิคส์ คือ การปลูกพืชในน้ำผสมสารละลายธาตุอาหาร หรือการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ( Soiless Culture ) โดยผสมธาตุอาหารที่พืชต้องการ เติมอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม ปรับความเป็น กรด – ด่าง ของสารละลายภายในให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช ( ค่า pH อยู่ในช่วง 6 – 6.5 )

หลักการของไฮโดรโปนิกส์คือ การปรับสภาพแวดล้อมของรากพืชให้เหมาะสมกับความต้องการและเหมาะกับสรีระของพืชดังต่อไปนี้ครับ

1. ผสมธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช 16 ชนิด ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด แร่ธาตุต่างๆที่พืชต้องการมีดังนี้ครับ

  1. คาร์บอน 
  2. ไฮโดรเจน 
  3. ออกซิเจน 
  4. ไนโตรเจน 
  5. ฟอสฟอรัส
  6. โปแตสเซียม 
  7. แคลเซียม 
  8. แมกนีเซียม
  9. ซัลเฟอร์
  10. เหล็ก
  11. แมงกานีส
  12. โบรอน
  13. สังกะสี
  14. ทองแดง
  15. โมลิบตินัม
  16. คลอรีน

2.เติมอากาศลงในสารละลายธาตุอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม
3. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ของสารละลายให้เหมาะสมกับความต้องการและสรีระของพืช ( ค่า pH ประมาณ 6-6.5 )
4. ปรับอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหารให้ต่ำ
5. ป้องกันรากพืชไม่ให้กระทบแสงสว่างโดยตรง

ระบบของไฮโดรโปนิกส์ เราแบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ

1. การปลูกแบบไม่นำสารละลายธาตุอาหารหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Non Recirculate )

  • การรดสารละลายธาตุอาหารด้วยมือ
  • การให้สารละลายธาตุอาหารไปพร้อมกับการให้ระบบน้ำหยด (Fertigation )
    ต้นไม้กระถางที่ปลูกในระบบน้ำหยด

323232561122

32235656410000

การปลูกไม่หมุนเวียน เราใช้วัสดุปลูก เช่น หินภูเขาไฟหรือเม็ดดินเผา ใส่ในกระถางพลาสติกหรือกระบะปลูก ปลูกพืชในวัสดุเพาะ แล้วให้น้ำที่มีส่วนผสมของสารอาหารพืชที่โคนต้น เพื่อปล่อยน้ำหยด ( Drip Irrigation ) ตลอดเวลา หรือปล่อยน้ำเป็นช่วงๆโดยการตั้งเวลาก็ได้ ระบบนี้มีข้อดีคือ ถ้ามีโรคระบาดที่ระบบรากพืชก็จะไม่แพร่กระจายไปต้นอื่นครับ

2. การปลูกแบบนำสารละลายธาตุอาหารหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ( Recirculate )

  • การปลูกแบบรากลอย ( Deep Flow Technic ) เป็นการปลูกบนโฟมและมีรากพืชลอยอยู่ในสาร ละลาย มีการเติมอากาศ หรือหมุนเวียนสารละลายกลับมาใช้

2201250001

  • การปลูกแบบท่วมระบาย ( Flood And Drain Technic ) เป็นการปลูกแบบใช้วัสดุปลูกโดย ปล่อยสารละลายท่วมวัสดุปลูกและระบายออกโดยการตั้งเวลาเป็นช่วงๆให้สารละลายหมุนเวียนวันละ 3 – 7 ครั้ง
  • การปลูกแบบรากลอยในอากาศ ( Airoponics ) เป็นการใช้สารละลายฉีดพ่นใส่รากพืช
  • การปลูกแบบ NFT ( Nutrient Film Technics ) เป็นการปลูกโดยใช้สารละลายวิ่งเป็นฟิลม์บางๆ ไหลผ่านราก

3233656565656

วัสดุที่ใช้ปลูก ( Glowing Media )เราใช้วัสดุปลูกที่เป็นกลางแล้วให้สารละลายอาหารที่เหมาะสม วัสดุที่ใช้ปลูกได้แก่ เปอร์ไลท์ (Perlite) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) ใยหิน (Rock Wool) เม็ดดินเผา (Exfanded Clay) หิน กรวด ทราย ล้างขุยมะพร้าว ขี้เถ้า แกลบ

ระบบที่น่าสนใจ มีอยู่ 2 ระบบ คือ

1. ระบบการปลูกแบบรากลอย ( Deep Flow )

เป็นระบบที่เราทำที่โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม เริ่มด้วยการสร้างกระบะกว้างยาวตามความเหมาะสมกับสถานที่ที่จะจัดวาง ให้น้ำขังสูงจากพื้นกระบะไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร มีทางส่งน้ำเข้าและออกจากกระบะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกันเพื่อให้น้ำหมุนเวียนในกระบะได้ ตัวกระบะใช้วัสดุทึบแสงที่ป้องกันความร้อน บุด้านนอกกระบะ ติดตั้งปั้มน้ำขนาดที่เหมาะสมกับขนาดกระบะเพื่อดูดน้ำจากถังใส่สารละลายธาตุอาหารไปส่งลงกระบะ

นำวัสดุทึบแสงที่สามารถป้องกันความร้อนได้เช่น โฟม เจาะรูให้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว เพื่อปลูกพีชในรูนี้ เว้นระยะระหว่างรูตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด เช่น คื่นช่าย ระยะระหว่างรูประมาณ 10 เซนติเมตร ผักกาดขาว ระยะระหว่างรูประมาณ 20 เซนติเมตร

เพาะเมล็ดในฟองน้ำที่ตัดเป็นชิ้นขนาด 1 นิ้ว คูณ 1 นิ้ว ตรงกลางกรีดเป็นร่องเพื่อใส่เมล็ด รดน้ำเช้า เย็น พออายุได้ 1 สัปดาห์ เริ่มรดน้ำผสมสารละลายธาตุอาหาร ( ค่า C.F. 15 ) เมื่อต้นกล้าอายุครบ 2 สัปดาห์ก็ย้ายลงกระบะปลูกโดยใส่ต้นกล้าลงแผ่นโฟมที่เจาะรู ปรับความเข้มข้นละความเป็นกรด – ด่างของสารละลายทุกวัน ( ค่า pH = 6.4 ค่า C.F.=30 )

2. ระบบ NFT ( Nutrient Film Technics )

เป็นการปลูกพืชในรางขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สูง 5 เซนติเมตร ความยาวไม่เกิน 18 เมตร รางมีคุณสมบัติป้องกันความร้อนจากภายนอกไม่ให้ถึงสารละลายธาตุอาหารและรากพืช รางต้องมีความลาดเอียงพอสมควร เจาะรูสำหรับใส่ถ้วยปลูก ปล่อยสารละลายธาตุอาหารให้ไหลไปตามรางและไหลกลับไปที่ถังสารละลายธาตุอาหารโดยอาศัยปั้มเป็นตัวดูดให้วนไหลกลับมาตลอดเวลา
นำเมล็ดมาเพาะลงในถ้วยเพาะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายถ้วยใส่เยลลี่ เจาะรูที่ก้นถ้วย

ใช้วัสดุที่เป็นเปอร์ดไลท์หรือไฮโดรตรอน รดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อต้นกล้าอายุ 2 สัปดาห์ จึงย้ายลงโต๊ะปลูก ปรับความเข้มข้นและความเป็นกรด – ด่างของสารละลายธาตุอาหาร เช้า กลางวัน เย็น สำหรับแฟนซีสลัดภายใน 2 สัปดาห์แรก รดน้ำผสมสารละลายธาตุอาหาร ปรับค่า EC = 4 หรือ สารละลายธาตุอาหาร 2 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร เมื่อลงโต๊ะปลูกปรับค่า EC เป็น 8 หรือ 4 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร ( จะกล่าวถึงค่าpH และค่า EC ในหน้าถัดไป ) รางที่ใช้ปลูกอาจดัดแปลงใช้กระเบื้องลอนคู่และใช้แผ่นพลาสติกลูกฟูกปิดด้านบน เจาะรูสำหรับใส่ถ้วยปลูกเป็นระยะๆห่างตามความเหมาะสม

อุปกรณ์ที่จำเป็น

  1. EC มิเตอร์ วัดค่าความเข้มข้นของสารอาหาร
  2. pH มิเตอร์ วัดค่าความเป็นกรด – ด่างของสารละลาย
  3. สารอาหาร
  4. ปั้มน้ำหรือปั้มอากาศที่ใช้กับตู้ปลา

ราคาวัสดุอุปกรณ์ปลูกผัก

32265562233200

การปลูกพืชไม่ใช้ดิน(Hydroponic) เป็นการปลูกที่มีหลายท่านให้ความสนใจต้องการหาความรู้เพิ่มเติม บางท่านก็อยากทดลองปลูกเพราะสามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่จำกัดได้เป็นงานที่ได้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการตกแต่งบ้านและให้ผลผลิตที่สามารถนำมารับประทานหรือนำออกขายเป็นอาชีพเสริม ขณะนี้เราได้ จัดทำเป็นชุดปลูก ที่ท่านสามารถเลือกได้หลายขนาดตั้งแต่ชุดเล็กๆ ไปจนถึงชุดแบบหลายๆราง หรืออาจสั่งทำตามขนาดพื้นที่ของท่านก็ได้

ที่สำคัญ เมื่อท่านนำไปปลูกแล้วต้องการปรึกษาก็สามารถติดต่อปรึกษาเข้ามาทางเวบบอร์ด ทาง อีเมล์ หรือโทรหาคุณเบิ์รดเรื่องการปลูกเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 09-9181207 สามารถติดต่อเพื่อปรึกษา สอบถามเรื่องการปลูก การดูและรักษาเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา ถ้าในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ส่งและติดตั้งระบบเรียบร้อยพร้อม ใช้งานได้เลย ฟรี รายละเอียดต่างๆดูได้ดังนี้ครับ

ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ Hobby Kit

ขนาดความยาวโต๊ะปลูก จำนวนผักที่ปลูกได้ต่อรุ่น ราคา (บาท)

  • 1.00 เมตร 4 ราง 20 ต้น 4,000 บาท
  • 1.50 เมตร 4 ราง 28 ต้น 5,000 บาท
  • 2 ชั้น 1 เมตร 5 ราง 25 ต้น 5,000 บาท

ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

  • รางปลูกมาตรฐาน กว้าง 100 มม.หนา 50 มม. พร้อมฝาปิดท้ายราง ความยาว 1.00 เมตรและ 1.50 เมตร ตามขนาดโต๊ะ
  • ชุดขาตั้งอลูมินียม 1 ชั้นและ 2 ชั้นตามขนาดโต๊ะ
  • ชุดท่อส่งสารอาหารพืช 1 ชุด
  • กล่องรวมน้ำ 1 อัน
  • ปั๊มน้ำเล็ก 1 ตัว
  • ถังสารอาหาร 40 ลิตร 1 ใบ
  • สารอาหารพืช 1 กก.
  • วัสดุเพาะ 4 ลิตร
  • ถาดเพาะเมล็ด 2 ถาด (1 ถาดมี 80 ถ้วย )
  • เมล็ดพันธ์แฟนซีสลัด 100 เมล็ด
    คู่มือการปลูกพืชไม่ใช้ดิน

อ้างอิงข้อมูลจาก SME bank

ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูล คลิกที่นี่

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต