การตลาดแบบ “จีน” ที่คนไทยคิดไม่ถึง!

การตลาดแบบ “จีน” จากคนจีนในยุคเสื่อผืนหมอนใบ! ไม่มีใครคาดคิดว่าทุกวันนี้ธุรกิจจากจีนจะบุกตลาดไทยชนิดที่มีคนบอกว่า “ยิ่งธุรกิจจีนในไทยโตเร็วเท่าไหร่ ธุรกิจของคนไทยยิ่งตายเร็วเท่านั้น”

สัญญาณที่บอกว่าน่ากลัวคือ ในปี 2566 ที่ผ่านมา ไทยขาดดุลการค้ากับจีน สูงถึง 1.3 ล้าน ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และไม่ใช่แค่นั้นนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเอแชร์ (A-share) อย่างน้อย 14 แห่งได้ประกาศขยายการลงทุนในไทย ไม่นับรวมกับปัญหาเดิมที่ยังคงอยู่คือบรรดาสินค้าจีนที่ตอนนี้ตีตลาดไทยชนิดกระจุยกระจาย

การตลาดแบบ “จีน”

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในปี 2566 ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนมูลค่า 469,521 ล้านบาท

  • 43.3% เป็นการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • 10.0% ผัก, ผลไม้สดและปรุงแต่ง
  • 9.3% เสื้อผ้าและรองเท้า
  • 9.1% เครื่องใช้ในบ้านและของตกแต่งบ้าน

นอกจากการค้าขายแล้วฝั่งของการลงทุนยังพบว่า นักลงทุนจากจีนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของนักลงทุนต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอด้วยมูลค่า 159,387 ล้านบาท โดยทั้งปี 2566 ที่ผ่านมาบีโอไอสรุปยอดต่างชาติขอรับส่งเสริมการลงทุนในไทยมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 5 ปี เงินลงทุนกว่า 6 แสนล้านบาท มีโครงการจำนวน 1,394 โครงการ นำโดยการลงทุนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เกษตรและอาหาร

สิ่งเหล่านี้คือตัวเลขที่สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจจีนกำลังเติบโตในเมืองไทยอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจไทยที่มีข้อมูลน่าตกใจระบุว่าบรรดา SMEs ของไทยมีเกือบ 3 ล้านราย มีการจ้างงาน 11 ล้านคน จะทยอยล้มหายตายจากไปทุกๆวันด้วย

ซึ่งถ้าไปวิเคราะห์ในเรื่อง การตลาดแบบ “จีน” หรือวิธีการทำธุรกิจแบบคนจีนจะพบว่ามีเอกลักษณ์หลายอย่างที่คนไทยคาดไม่ถึงเช่น

1.เจ้าของธุรกิจทำงานไม่มีวันหยุด

การตลาดแบบ “จีน”

หลักคิดของคนจีนคือขยัน อดทน ทำงานอย่างหนัก มีการประชุมกันอยู่ตลอด และมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง ทุกวันที่ผ่านไปก็คือวันแห่งการทำงาน ดังนั้นในหัวคิดของคนจีนจึงเป็นเรื่องธุรกิจตลอดเวลา และการทำงานก็ไม่ใช่แค่เช้าชามเย็นชามแต่ต้องพัฒนาธุรกิจให้ดีกว่าเดิม เราจึงเห็นธุรกิจมีรูปแบบการเติบโตที่รวดเร็วมาก

2.ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ

การตลาดแบบ “จีน”

คนจีนถือเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรม โดยมีคติว่า “ทำธุรกิจ ต้องทำเป็นคนแรก อย่าไปแข่งกับคนที่เขาทำอยู่แล้ว” ความขยันในการคิดและค้นหาสินค้ามาขายก่อนใครๆ ถือเป็นกลยุทธ์การค้าที่สร้างให้พวกเขามั่งคั่งและกลายเป็นเจ้าตลาดมากมาย

3.คนจีนสอนลูกหลานให้รู้จักเก็บเงินไว้เป็นทุนทำธุรกิจ

การตลาดแบบ “จีน”

เคล็ดลับความสำเร็จที่ธุรกิจคนจีนขยายใหญ่โตเพราะเขาจะสอนลูกหลานว่าเมื่อมีเงินอย่าไปใช้ฟุ่มเฟื่อย ส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ และต้องมีส่วนที่เก็บไว้ขยายธุรกิจด้วย การขยายธุรกิจแบบจีนใช่จะโตแบบพรวดพราด แต่เขาจะค่อยๆขยาย จากหนึ่งเป็นสองจากสองเป็นสาม บางทีหากไม่แน่ใจก็ยังไม่ลงทุนขยายด้วย

4.ไม่จำเป็นอย่ามีหนี้สูญ

การตลาดแบบ “จีน”

เราจะเห็นตามร้านค้าปลีกที่มักมีภาพล้อเลียนระหว่างพ่อค้าเงินสด กับพ่อค้าเงินเชื่อ เหมือนคำแบบไทยๆที่คุ้นเคยกันดีว่าจ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวง นั้นคือลักษณะของการค้าแบบจีนที่ไม่ต้องการให้เกิดหนี้สูญ ส่วนใหญ่มักใช้ระบบเงินสดไม่ใช่เงินเชื่อ หรือเงินผ่อน คนจีนเชื่อว่าการเป็นหนี้ทำให้เสียเวลาในการทำธุรกิจมากกว่าเดิมและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ

5.เทคนิคซื้อเมื่ออิ่ม ขายเมื่อหิว

การตลาดแบบ “จีน”

คนจีนส่วนใหญ่มักมีหัวธุรกิจที่ไม่ใช่แค่หัวพ่อค้าคือรู้จักมองการณ์ไกล และไขว่คว้าโอกาสทองที่เหมาะสมแบบไม่ยอมปล่อยให้หลุดมือ ดังเราจะเห็นว่าคนจีนมักคิดโน่นทำนี่ ออกมาขาย ซึ่งในช่วงแรกๆอาจขายไม่ได้เลยแต่ก็ไม่เคยเป็นปัญหาเพราะเขาถือว่าอะไรที่เริ่มต้นมักยากเสมอ คนจีนจะรู้จักประเมินจากปัจจัยแวดล้อมว่าธุรกิจไหนควรทำหรือไม่ควรทำในพื้นที่นั้นๆ

6.เน้นกระจายความเสี่ยง

เราจะเห็นว่าคนจีนที่เป็นนักธุรกิจไม่ได้เอาเงินไปกระจุกไว้ที่เดียว หากแต่มีการกระจายความเสี่ยงไปสู่การลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้นส่วนในกิจการอื่น รวมถึงการลงทุนหรือขยายกิจการในต่างประเทศอันเป็นการกระจายความเสี่ยงหากเกิดปัญหากับธุรกิจหลักก็ยังมีรายได้จากทางอื่นหลงเหลืออยู่

และอีกเหตุผลน่าสนใจที่ทำให้ทุกวันนี้ในเมืองไทยแทบจะกลายเป็นเมืองจีนก็เพราะการเข้ามาของชาวจีนจำนวนมากที่มีทั้งมาท่องเที่ยว , มาเรียนต่อ หรือมาตั้งหลักปักฐาน เราจะเห็นว่าปัจจุบันมีพื้นที่ไชน่าทาวน์ใหม่ในไทย จากเดิมที่มีเยาวราชแห่งเดียว แต่ตอนนี้ก็มีห้วยขวาง มาเป็นไชน่าทาวน์ใหม่ ในกรุงเทพฯ เพราะมีคนจีนอพยพมาอยู่ในย่านนี้ไม่ต่ำกว่า 7,000 คน

สาเหตุที่คนจีนมารวมตัวกันในพื้นที่เหล่านี้วิเคราะห์ว่าเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับสถานทูตจีน และศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน แล้วก็ยังมีธนาคารจีนที่เข้าถึงได้ง่าย แถมยังมีร้านอาหารจีน บริการโลจิสติกส์ บริการด้านสุขภาพ สถานีขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย ที่พักที่มีพนักงานพูดภาษาจีนได้ด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด