“การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล
“การสื่อสารขยันสั้น” จะหาได้ง่ายใน หนังสือชั้นประถม คนทำหนังสือให้นักเรียนอ่านเขาทำกันบ่อย เช่น ทุกครอบครัวควรจะปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ อาทิ ผักบุ้งเป็นต้น คือ ยังไม่ได้พรวนดินยกร่องใส่ปุ๋ยรดน้ำเอาเมล็ดพันธุ์หยอดใส่ลงไปในรูแต่ละร่องที่ทำไว้อะไรทั้งสิ้น จู่ๆ ผักบุ้ง ก็โผล่ขึ้นมาเป็นต้นแล้วก็จบเอาไว้ด้วยๆ
Brent Davis เป็นนักเขียนเกี่ยวกับตลาดการเงินมาไม่น้อยกว่า 10 ปี กลยุทธ์การลงทุนของ ท่าน คือ ซื้อบริษัทคุณภาพสูงแล้วปล่อยให้ ระบบผลประโยชน์ทบต้น ทั้งกำไรและดอกเบี้ยทำงานไปตามหน้าที่ ท่านเลือก “กรณี บล็อกบัสเตอร์ กับ Netflix” มาเขียนฝากไว้ในเว็บไซด์ The Stock Dork ให้เราได้ไตร่ตรองกันง่ายๆ ผมคัดแล้วว่าเป็นตัวอย่างของการเล่าที่เข้าใจง่ายกว่าหลายตัวอย่างที่ผมเจอ
ยักษ์ใหญ่ บล็อกบัสเตอร์ ให้เช่า VIDIO มานาน ไหวตัวทันเปลี่ยนระบบ VHS เป็น DVD Netflix เปิดตัวขึ้นมาในปี 1998 บล็อกบัสเตอร์ ยังคงทำธุรกิจตามปกติ การบริการยกแรกทั้งสองฝ่ายมีสไตล์คล้ายคลึงกันมาก ลูกค้ายังคงมีใจภักดีไม่มีอะไรผิดปกติ
ย่างเข้าสู่ยกสอง กระแสการตลาดเริ่มแบ่งกลุ่มรุมกันเชียร์ทั้งสองฝ่าย พี่เลี้ยงแนะนำให้ Netflix ใช้แม่ไม้การบริการที่สะดวกสบายกะน็อค บล็อกบัสเตอร์
ล่วงมาสู่ยกที่สาม Netflix ขยันแย็บด้วยการส่งมอบ DVD หนึ่งพันล้านแผ่น ให้ลูกค้า
ยกที่สี่ Netflix ตีเข่า บล็อกบัสเตอร์ เปิดฉากบริการ สตรีมมิ่ง คือ รับส่งไฟล์มัลติมีเดียร์ทั้งภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องดาวน์โหลด ยกนี้บล็อกบัสเตอร์โดนนับแปด ไม่สามารถจะเลียนแบบเอาคืนได้ทัน
ยกสุดท้าย ไม่น่าเชื่อ บล็อกบัสเตอร์ เพิกเฉยต่อคะแนนตลาดที่เปลี๊ยนไป๋ มุ่งเน้นชกลมสูดดมความสำเร็จที่ผ่านมาจึงโดนน็อคนับสิบ
งานนี้คุยกันให้แซ่ดว่า จะแก้ปัญหา “การตลาดสายตาสั้น” ได้ไง เว็บไซต์ Study Moose นำเสนอความคืบหน้า ท่านศาสตราจารย์ Theodore Levitt คลี่ปมสำคัญทันใดว่า บริษัทจะไม่โดน ไวรัสการตลาดสายตาสั้นโจมตี ถ้าสร้างภูมิต้านทานสี่ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- เข็มแรก พวกเขาจะต้องปรับให้เข้ากับความต้องการของตลาดและยิ่งเร็วยิ่งดี
- เข็มสอง บริษัทต้องจ้างผู้นำที่เข้มแข็งซึ่งมีวิสัยทัศน์และแรงขับเคลื่อนเป็นตัวกำหนดจังหวะของบริษัท
- เข็มสาม ทั้งองค์กรจะต้องสร้างลูกค้าและองค์กรที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
- เข็มสี่ บริษัทต้องคิดว่าตัวเองเป็นลูกค้าผู้รอซื้อ
ขอกระซิบชุดความคิดของ Inside Out คือ “ทำในสิ่งที่เราสนใจ” คู่กับ Outside In คือ “ให้ในสิ่งที่เขาใฝ่หา” ภาพรวม“การตลาดสายตาสั้น” สะท้อนให้เห็นว่าเรามัวแต่ Inside Out! ไม่เอา Outside In! มาพกพาไว้ในอารมณ์ ไม่อยากล่มจมก็แคร์ความโหยหาของลูกค้า อย่ามัวทำเฉย
ผมบอกเจ้าของร้านขายแกงตับว่า “ รสชาติอร่อยนะ ผมขอนิดเดียว ลดน้ำตาลลงอีกหน่อย” เธอตอบห้วนๆว่า “สูตรร้านเราเป็นอย่างนี้แหละ” ผมก็ได้แต่ ขากกกกก…! แล้วกลืนลงไปในคอ อิอิ
วิทยากร : ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
การตลาดสายตาสั้น
- การตลาดสายตาสั้น หลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น (ตอนที่ 1) – https://bit.ly/3SXXxoy
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 2) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3Ehkn6B
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 3) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3rw9GWf
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3EeL2Rp
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3e6lIm1
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)