“การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 2) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล

ผมไปเข้าคิวซื้อ ข้าวเหนียวมะม่วง ที่ ร้านอาหารระดับห้าดาว ล่วงหน้า 15 ปี ก่อนที่โควิดจะเข้าเมือง ข้าวเหนียวนุ่มรสอร่อย แต่ละชุดจะมีพนักงานบริการปอกมะม่วงให้เสร็จสรรพ อุดหนุนครั้งแรกแบรน์เขาแทรกเข้ามาเต็มหัวใจ หลายวันผ่านไปแวะซื้อรอบที่สอง พนักงานคนใหม่นิสัยเจ้าเล่ห์ หยิบมะม่วงมีตำหนิเป็นรอยช้ำขึ้นมาปอก

ผมบอกปากสั่นว่า “ลูกนี้ไม่เอาครับน้อง ขอเปลี่ยนลูกใหม่เอาที่ไม่งอมไม่มีรอยช้ำ” เธอก้มหน้าก้มตาข่มขืนหัวใจพร้อมกับพูดแถไปว่า “งอมแบบนี้แหละรสชาติหวานดี!” ผมชักเริ่มไม่เกรงใจจึงถามกลับไปว่า “ถ้าลูกที่งอมมันหวานดีแล้วเอาลูกที่ไม่งอมเอามาขายรวมกันทำไม” เธอมองหน้าผมเหมือนจะแยกเขี้ยวกัดคอ ผมท้วงติงต่อว่า “น้องเอาลูกที่งอมมาปาดตรงรอยช้ำทิ้งไปเยอะ ผมขาดทุนสิ”

ตอนที่ 2

ก่อนจะเกิดสงครามข้าวเหนียวมะม่วง หัวหน้าเธอเดินมายกมือไหว้ผม “สวัสดีครับ อาจารย์ เดี๋ยวผมจะแถมให้ลูกหนึ่งนะครับ” ผมไหว้ตอบขอบคุณท่านหัวหน้า จ่ายตังค์แล้วเดินออกไปขึ้นรถ

สองสามปีถัดมา อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ มีดำริจะจัดงานสังสรรวิทยากรกลุ้มนักพูดก็โทรมาล็อคคิวผมล่วงหน้า ผมก็ขอโทษและบอกปฏิเสธไปว่า “ผมตั้งใจไว้แล้วว่าจะไม่เข้าร้านนี้” ผมไม่ได้เสนอข้อแม้อื่นใด แต่ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ตัดสินใจนัดย้ายไปร้านอื่น ผมจึงขออโหสิเจ้าของร้านไว้ ณ ที่นี้

กรณีดั่งว่านี้ สะท้อนภาพรวมไลฟ์สไตล์ของคนหลายคนในร้านอาหารนี้ติดเชื้อ “ การตลาดสายตาสั้น ” ฝังหัวมานาน มีผู้กล้าหาญถามผมว่า “เอาอะไรมาวัดว่า ร้านนี้สายตาสั้น ร้านนั้นสายตายาว!” ดูไม่ยากเลย

61

SME กลุ่มใด ผู้ร่วมงานไม่มองการณ์ไกล คิดแต่จะขาย ละเลยความต้องการของลูกค้า กินสั้นไม่กินยาว ไม่เล่าประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ หลับหูหลับตายัดเยียดข้อเสนอ ไม่ปักหมุดชี้จุดมุ่ง ด้นสดแผนในอนาคตไม่มีการจัดเตรียม ไม่คิดที่จะปรับไม่สดับที่จะเปลี่ยน ไม่เลือกมนุษย์ที่เข้าถึงคนเข้าร่วมงาน

แสดงว่า ไม่แลจึงไม่เห็น ไม่เห็นจึงไม่เล็งเพราะไม่รู้จะเล็งเคลมจุดไหน ไม่เล็งจึงไม่คิดเพราะจอในหัวคิดไม่มีภาพไม่มีอักษรปรากฏจึงไม่มีแง่คิดอะไรงอกเงย ไอ้เกยตื้นเรื่องเบาะๆ โดนหินโสโครกเจาะเรื่องจะยาว

ยกตัวอย่างง่ายๆว่า ผู้ร่วมงานไม่มองการณ์ไกล คือ ไม่มองข้ามช็อต มันคล้ายกับเราเล่นสนุ้คเกอร์โดยแทงลูกขาวให้วิ่งไปกระทบลูกแดงลงหลุม ไม่ได้คิดเผื่อว่าจะให้ลูกขาวไปหยุดอยู่หลังลูกสีอะไร มันก็มีอุปสรรคในการเล่นช็อตต่อไป ถ้าเล่นแบบนั้นไปเรื่อยๆอย่าได้หวังว่าผู้ชมจะเชียร์ ยุคนี้ทัวร์พร้อมลุยทุกตลาดออนไลน์

60

เจ้าสัวคนไทยท่านหนึ่งช่างคิดแต่เล็งไม่สุดปลายทำให้บริษัทชะตาพลิกผัน ผลิต รองเท้ากลิ่นลูกกวาด ออกวางจำหน่าย ช่วงแรกลูกค้าแวะมาแกะกล่องลองเอามาสูดดมดูรู้สึกว่ากลิ่นมันหอมชื่นใจ หลังจากใช้กันไปหลายครั้งกลิ่นมันอื้อฮือ

ท่านพลาดเรื่องการเล็งให้เห็นผลว่า กลิ่นหอมในรองเท้า มันจะหอมไปได้สักกี่วัน ผมก็ เห็นใจ เสียดาย และ จุกอก เพราะมีคนจกเอาความคิดนี้ไปต่อยอด ผลิต สเปรย์ฉีดดับกลิ่นอับในรองเท้า ร้านขายรองเท้าสั่งซื้อกันอื้อซ่า ท่านใดไม่อยากจะเสียรูปคดีตกเป็นเหยื่อการตลาดสายตาสั้น ผมยินดีเป็นที่ปรึกษาให้ฟรี

วิทยากร : ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล

การตลาดสายตาสั้น

  • การตลาดสายตาสั้น หลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น (ตอนที่ 1) – https://bit.ly/3SXXxoy
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 2) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3Ehkn6B
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 3) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3rw9GWf
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3EeL2Rp

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3S5sS95

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต