การตลาดคาดไม่ถึง ความกลมกล่อมที่ทุกธุรกิจต้องมี!
การตลาดคาดไม่ถึง ความกลมกล่อมที่ทุกธุรกิจต้องมี! จุดสัมผัสกลมกล่อมจะถนอมตลาดกินขาดดีกว่าจุดสัมผัสกวนใจ โดยสุรวงศ์ วัฒนกูล
Touch Point คือ “จุดแตะใจที่ลูกค้าได้เจอ” ไม่ว่าจะเป็น คัตเอาท์ คลิป สปอต โบรชัวร์ อีเมล์ รปภ. โอเปอเรเตอร์ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์ พนักงานขาย พื้นที่จัดวางของ ห้องน้ำ เสียงตามสาย ล้วนเป็น Sweet Spot คือ “จุดแห่งความสำเร็จที่มีแรงต้านเป็นศูนย์!”
หลายบริษัทจะเรียกจุดนี้ว่าเป็น “จุดกลมกล่อม” คำว่า “กลมกล่อม” แปลว่า “ที่เข้ากันได้พอดี” หมายถึง ท่าทีเป็นมิตร สเปคตรงใจ ศรศิลป์กินกัน คุยกันถูกคอ ไม่เสียเวลา จัดว่า ผู้ขายมีวัตถุประสงค์ ลงตัวกันเป๊ะ กับ ความต้องการของลูกค้า
หนุ่มหุ่นเพรียวสายตาพิการเดินขายล็อเตอรี่ใน ม.รามคำแหง ในช่วงปลายเทอมใกล้สอบ เขาเดินพูดเชิญชวนว่า “ล็อตเตอรี่ ครับ ล็อตเตอรี่ ซื้อกับคนพิการขอให้โชคดี สอบได้ G ทุกวิชา” (ฮา)
พี่เขาเปล่งวาทกรรมอันเป็นศุภมงคล “กลมกล่อม” ออกมาโปรยกันซะขนาดนี้ถ้าไม่มีใครซื้อถือว่าใจจืด! งวดหน้าเดินเคาะไม้เท้ามาอีกโอกาสยอดขายจะพีคเป็นไปได้ตามสมควร
Distract Spot คือ “จุดติดลบทำให้ใจหลัวเกิดแรงต้านทวีคูณ!” แรกเริ่มเมื่อโดนใครยั่วก็จะเกิดเป็น “จุดกวนใจ”หากโดนตีรวนจน รู้สึกอารมณ์ไม่แจ่มใสใจไม่สงบมันอาจจะกลายเป็น “จุดฟุ้งซ่าน”
เมื่อ 23 ก.ค. 2009 Roger Griffiths (ศิลปิน) ลูกค้าซึ่งเคยฝากเงินกับธนาคารแห่งนี้ต่อเนื่องมานาน 25 ปี ด้วยความ ภักดีและซื่อสัตย์ เขารู้สึกผิดหวังที่ พนักงาน Westpac Bank New Zealand ปฏิเสธการขอสินเชื่อ 80,000 ดอลลาร์ ทั้งๆที่เขามียอดเงินฝากอยู่ในธนาคาร 190,000 ดอลลาร์
พนักงานธนาคารพูดกับเขาว่า “รายได้ของคุณไม่แน่นอน ไม่ปกติ ไม่น่าเชื่อถือ!”
เขารู้สึก น้อยใจ อับอาย ด้วยอารมณ์ที่ขุ่นมัวเหมือนฟ้าหลัวใจอับแสงจึงตัดสินใจที่จะลงมือเอาคืนเพิ่อล้างแค้นแบบห้าวๆด้วยการขอ ถอนเงินแบบปิดบัญชีทั้งหมด 190,000 ดอลลาร์ ตั้งใจเจาะจงว่าธนาคารต้องจ่ายทั้งหมดเป็นธนบัตรใบละ 20 ดอลลาร์ ล้วนๆ โทษฐานที่พูดจาไม่ไว้หน้ากันแบบนี้ ก็ต้องทำสงครามสั่งสอนเล็กๆให้นับเงินด้วยมือกันซะให้เข็ด 9,500 ใบ
สายข่าวลือกันนานแล้วว่า แต่เดิม ห้างสรรพสินค้า ใน ลอนดอน เห็นด้วยกับคติพจน์ที่ว่า ลูกค้าถูกต้องเสมอ หรือ ลูกค้าคือพระเจ้า อะไรทำนองนั้น เพราะเล็งเห็นผลว่า เป็นการโน้มน้าวว่าลูกค้าจะได้รับบริการอันดีกับบริษัทนี้และเป็นการโน้มน้าวพนักงานให้บริการลูกค้าได้ดีดังใจหวัง มันจะช่วยสร้างรายได้ระยะยาว
ครั้นเมื่อสังคมโดนลากเข้าสู่ยุคคลั่งไคล้เสรีภาพ ลูกค้าหลายคนก็ออกจะส่อเค้าว่าซ่าเลยเถิดเกินไป พนักงานเริ่มไม่มีความสุขในการทำงาน จึงเริ่มมีแววว่าอาจจะเพิ่มมาตรการเข้มงวดกับลูกค้าประเภทนั้น
อันที่จริงมันก็น่าอยู่หรอก แต่ผมห่วงว่ามันจะไม่หยุดอยู่แค่นั้น ถ้าจะเอาอย่างนั้นกันจริงๆ ลูกค้าที่หัวหมอในระดับธรรมดาก็อาจจะโดนพนักงานตัวแสบได้ทีเอาคืน เอางี้! บริษัทไหนที่ยังไม่แน่ใจว่าก๊วนเรา ขาใหญ่ ขอให้ทำใจกรวดน้ำไปพลางๆก่อนจะดีกว่า ในอดีตที่ผ่านมา บริษัทขาใหญ่หลายเจ้าเดินขาลีบกันไปหลายหน่อ เพราะใช้ Distract Spot นี่แหละ
วิทยากร : ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
การตลาดสายตาสั้น
- การตลาดสายตาสั้น หลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น (ตอนที่ 1) – https://bit.ly/3SXXxoy
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 2) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3Ehkn6B
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 3) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3rw9GWf
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3EeL2Rp
- การตลาดคาดไม่ถึง ความกลมกล่อมที่ทุกธุรกิจต้องมี! – https://bit.ly/3grIXIb
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sbUM7Q
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)