“การตลาด ณ จุดขาย” เพิ่มพลังการซื้อได้ถึง 20%

การตลาด ณ จุดขาย เพิ่มพลังการซื้อได้ถึง 20% กำไรจากการขายสินค้าโดยหลักการแล้วควรอยู่ที่ 10 – 20 % จากราคาขาย

ถ้าไปดูที่สูตรการหากำไรจะพบว่า

  • กำไรขั้นต้น = ราคาขาย – ต้นทุนสินค้า (สินค้าคงคลัง)
  • กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

สิ่งเหล่านี้คือทฤษฏีเบื้องต้นที่เชื่อว่าคนทำธุรกิจหลายคนทราบดี และสิ่งที่รู้ลึกกันยิ่งกว่าคือการเพิ่มขึ้นของยอดขายเพียงแค่เล็กน้อย ก็หมายถึงยอดเงินที่เข้าสู่ธุรกิจได้มากขึ้น

แต่คำถามก็คือ “จะทำแบบนั้น ได้อย่างไร?”

การตลาด ณ จุดขาย

คำว่า “ การตลาด ณ จุดขาย ” แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็เชื่อได้เลยว่ามีอีกหลายคนยังไม่รู้เช่นกันว่าวิธีนี้สามารถเพิ่มพลัง การซื้อได้ถึง 20%

ในยุคที่คู่แข่งทางธุรกิจมีอยู่รอบด้าน เราเคยพูดคุยผู้คร่ำหวอดในวงการแฟรนไชส์ที่ให้ทรรศนะเรื่องการตัดสินใจซื้อไว้อย่างน่าสนใจโดยได้กล่าวว่า “ สิ่งสำคัญคือเราต้องให้ลูกค้า ตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อสินค้าอะไรตั้งแต่ออกจากบ้าน ถ้าเราทำได้ในระหว่างทางลูกค้าจะไม่โลเลไปกับสินค้าแบรนด์อื่นที่เป็นคู่แข่งกับเรา”

สะท้อนให้เห็นว่าสมัยนี้กลยุทธ์การขายในยุคนี้มีลูกเล่นที่แพรวพราวมาก ซึ่งมีตัวเลขที่น่าสนใจที่เราควรรู้คือ

  • การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค มีมากถึง 70% ที่เป็นการตัดสินใจซื้อ ณ จุดขาย
  • ผู้บริโภคถึง 20% ที่ตัดสินใจซื้อแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อน
  • ผู้บริโภค 1 ใน 10 คนจะเปลี่ยนใจไม่ใช้แบรนด์เดิมแต่เปลี่ยนไปใช้แบรนด์ใหม่ที่ถูกใจกว่า

การตลาด ณ จุดขาย

สิ่งเหล่านี้อาจเรียกได้ว่าเกิดจากจิตวิทยาการขาย (Psychology of Selling) ที่มีหลายกลยุทธ์ที่แบรนด์นำมาใช้อย่างได้ผล เริ่มตั้งแต่ใช้ป้ายหรือสื่อโฆษณาที่น่าสนใจ เช่น

  • ป้าย Head Board ที่ตั้งอยู่ด้านบนสุดของชั้นวางจำหน่ายสินค้า หรือบนตู้แช่ในร้านสะดวกซื้อทั่วไป เพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าให้เข้ามาดูสินค้าที่ชั้นวาง
  • ป้าย Side Board ที่มีลักษณะเป็นป้ายโฆษณาขนาบด้านข้างของชั้นวางสินค้า ดึงดูดสายตาจากลูกค้าได้ดีในกรณีที่ลูกค้าเดินมาจากทางด้านข้าง
  • ป้าย Standee ที่ทำที่ใช้แนะนำสินค้าง่าย ๆ หรือไดคัทเป็นรูปดาราศิลปินเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

ไม่นับรวมเรื่องกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบอื่นๆที่เชื่อว่าเราก็คุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะตามร้านสะดวกซื้อที่นิยมใช้ได้แก่

  • Up-Selling คือ กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย ที่เน้นการจูงใจ เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายต้องการซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่สูงขึ้น แต่แลกมาซึ่งคุณภาพที่ดีกว่าเดิม
  • Cross-Selling คือ การแนะนำให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มเติมหรือที่เรียกว่าการขายพ่วง โดยสินค้าแนะนำให้ซื้อเพิ่มเติมอาจมาจากหมวดหมู่หรือประเภทที่แตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หลักที่ลูกค้าตั้งใจจะซื้ออยู่แล้ว

ทั้งนี้มีสินค้าอีกกลุ่มที่เรียกว่าสินค้า Impulse Purchase หรือกลุ่มสินค้าที่ลูกค้าไม่ได้วางแผนว่าจะซื้อ แต่เห็นสินค้า ณ จุดขาย แล้วจึงเกิดความอยากซื้อ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ตั้งอยู่บริเวณเคาน์เตอร์ หรือตรงแคชเชียร์ คิดเงิน ที่เป็นเสมือนจุดกระตุ้นเตือนให้ลูกค้าอยากจะซื้อสินค้าก่อนที่จะออกจากร้านค้า

การตลาด ณ จุดขาย

อีกวิธีที่น่าสนใจมากในการเพิ่มพลังการซื้อ ณ จุดขาย คือการพัฒนา แพ็คเกจจิ้งให้น่าสนใจ เพราะมีตัวเลขน่าสนใจระบุว่า

  • 65% คือลูกค้าใหม่ที่ตัดสินใจซื้อสินค้าครั้งแรกจากแพ็กเกจจิ้ง
  • 55% คือลูกค้าเดิมที่ซื้อสินค้าซ้ำเพราะประทับใจในแพคเกจจิ้ง

และแน่นอนว่าต้องไม่ลืมเรื่อง “โปรโมชัน” ที่ควรนำมาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งทุกวิธีที่กล่าวมาหากนำมาผสมผสานใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นการเพิ่มพลัง ณ จุดขายที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด