การตลาด 4P สู่ 4E ในธุรกิจแฟรนไชส์
สังคมเปลี่ยน! การตลาดก็ต้องเปลี่ยน! เมื่อก่อนหลักการตลาดแบบ 4P จากแนวคิดของ E. Jerome McCarthy ได้รับความนิยมมาก แต่มาในสมัยนี้ไม่ใช่ ถ้าเรายังจมปลักอยู่กับวิธีเดิมที่มี Product , Price , Place , Promotion เป็นพื้นฐานขอบอกเลยว่าก้าวตามคนอื่นไม่ทันแน่
โดยเฉพาะในยุคที่หลายคนต้องการพัฒนาธุรกิจตัวเองสู่ระบบแฟรนไชส์จำเป็นอย่างยิ่งต้องรู้ให้ลึกซึ้ง จาก 4P ยุคนี้ไม่พอเราต้องรู้จักทำการตลาดแบบ “4E ที่จะเข้าถึงลูกค้าและพัฒนาธุรกิจได้ดีมากยิ่งขึ้น
ทำไม “4P” ถึงไม่ดีพอสำหรับยุคนี้??
คำตอบง่ายๆ คือ “พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป” นำไปสู่แนวคิด วิถีชีวิตแบบใหม่ ที่ต้องการสะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า ประกอบกับยุคนี้ไม่ใช่โลกของปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ปลาตัวไหนเร็วกว่าก็ได้เปรียบ ธุรกิจเองก็เช่นกัน ถ้าไม่แปลก
ไม่แตกต่าง ไม่โดดเด่น ไม่เข้าถึงลูกค้า ก็มีแต่จะถูกกลืนกินด้วยธุรกิจที่มีแนวคิดเหนือกว่า นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมธุรกิจยุคนี้ต้องเน้นที่การตลาดแบบ 4E ที่ประกอบด้วย Experience , Exchange , Everyplace , และ Evangelism
- จาก Product สู่ Experience โดยเปลี่ยนจากการขายผลิตภัณฑ์สู่การเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
- จาก Price สู่ Exchange เปลี่ยนจากราคามาเป็นการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการ
- จาก Place สู่ Everyplace เน้นเรื่องที่ตั้งและทำเลครอบคลุมมากขึ้น ใช้ตลาดดิจิทัลทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าง่ายขึ้น
- จาก Promotion สู่ Evangelism เปลี่ยนการจัดโปรส่งเสริมการขายเป็นการทำให้ลูกค้าขาจรมาเป็น “ลูกค้าประจำ”
ใช้ 4E แล้วดีกว่ายังไง??
ยุคนี้การมีธุรกิจของตัวเองอาจไม่ยาก แต่ความยากคือจะทำให้แบรนด์เราฮิต เป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจของลูกค้าได้อย่างไร เนื่องจากคู่แข่งมากมาย ทั้งการต่อสู้ในเรื่องต้นทุนธุรกิจ สงครามการตัดราคา ทุกอย่างต้องห้ำหั่นสู้กันใครแกร่งกว่าก็รอด
นั่นคือเหตุผลที่ต้องพัฒนาจาก 4P มาเป็น 4E
1. Experience (การสร้างความประทับใจที่ดี)
เมื่อก่อนแค่มีสินค้าก็ไปวัดกันที่ว่าของใครเจ๋งกว่าดีกว่า แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่สินค้าแบบเดี๋ยวกันมีเยอะมาก ถามว่าคนจะตัดสินใจซื้อสินค้าเราจากอะไร คำตอบคือ “ความพอใจ” เช่น ถ้าเราทำแฟรนไชส์อาหารสิ่งที่สร้างความพอใจไม่ใช่แค่เรื่องรสชาติ แต่ต้องเป็นบรรยากาศที่ดีภายในร้าน ความเป็นกันเองของพนักงาน หรือมีระบบสะสมแต้มสำหรับลูกค้า มีบริการเดลิเวอรี่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือวิธีทำให้ลูกค้าพอใจที่จะนำมาสู่การตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าได้
2. Exchange (สร้างความรู้สึกคุ้มค่า)
ในยุคนี้สิ่งที่ทำให้คนตัดสินใจนอกจากความพอใจ ก็คือ “ความคุ้มค่า” อะไรที่เขารู้สึกคุ้ม ก็ยินดีจะจ่าย ตรงข้ามอะไรที่รู้สึกว่าไม่คุ้มแม้สินค้าจะถูกกว่าคู่แข่งแต่คนก็จะไม่ซื้อ ยกตัวอย่างเช่นแฟรนไชส์เชสเตอร์ ใช้งบลงทุนกว่า 6 ล้านบาท แต่คุ้มค่าเพราะได้รับคำปรึกษาด้านการเลือกทำเลร้าน, การออกแบบร้าน การก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ อีกทั้งแบรนด์ที่มีชื่อเสียง มานานกว่า 35 ปีเป็นความรู้สึกที่คนลงทุนมองว่าคุ้มค่ากับการได้เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจนี้
3. Everplace (สร้างช่องทางการขายที่หลากหลาย)
การตลาดแบบเดิมเน้นเฉพาะคำว่า “ทำเล” แต่เดี๋ยวนี้เราอยู่ในยุคดิจิทัล มีหน้าร้านอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการสร้างยอดขาย ดังนั้นคนทำธุรกิจหรือทำแฟรนไชส์จำเป็นต้องช่องทางการขายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Social Media เช่น Facebook, Instagram, TikTok, LINE, Youtube รวมถึงจัดทำเว็บไซต์บริษัท และเข้าร่วมแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น
เดลิเวอรี่ต่างๆ รวมถึงเปิดให้มีบริการรับชำระค่าสินค้าออนไลน์ ซึ่งกลยุทธ์ข้อนี้ไม่ใช่แค่การเพิ่มโอกาสสร้างยอดขาย แต่เป็นโอกาสในการเพิ่มการเข้าถึงของลูกค้า ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้มากขึ้นด้วย
4. Evangelism (เปลี่ยนลูกค้าทั่วไปให้เป็นลูกค้าประจำ)
เป็นการทำตลาดที่เหนือล้ำกว่า “promotion” ในยุคการตลาดแบบ 4P คำว่า Evangelismเป็นการผสมเอา Experience – Exchange – Everyplace มารวมกันเพื่อทำให้เกิดการตลาดแบบ Word of Month ที่จะช่วยบอกต่อและสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่นการจัดกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างร้าน เช่น คาเฟ่ขายกาแฟ จัด workshop ทำกาแฟสำหรับสมาชิก ช่วยให้ลูกค้าอินไปกับแบรนด์ และเกิดการบอกต่อในสังคมได้ เป็นต้น
แต่เชื่อเถอะว่าการตลาดแบบ 4E ก็ยังไม่ใช่ที่สุดของธุรกิจเพราะการตลาดที่แท้จริงคือการผสมผสานใช้หลายกลยุทธ์การตลาดเข้ามารวมกันให้เหมาะสมกับแต่ละแบรนด์ สำคัญสุดคือ “ไอเดีย” ที่จะนำมาใช้ร่วมกับกลยุทธ์การตลาด
แต่ควรเน้นที่การตลาดแบบสร้างสรรค์เพราะอย่าลืมว่ายุคนี้ข่าวสารแพร่กระจายเร็ว อะไรที่ดีหรือไม่ดี คนจะรู้ทั่วถึงแค่ข้ามคืน ดังนั้นทุกการตลาดที่นำมาใช้จึงต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคตด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)