กลยุทธ์ปรับตัวธุรกิจค้าปลีก ช่วงโควิด-19

เวลานี้นับเป็นช่วงวิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีก เนื่องจากผู้บริโภคจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และอาจต้องปลีกตัวอยู่ตามลำพังเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ห้างร้านบางแห่งจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราวเพื่อให้พนักงานและลูกค้าให้ปลอดภัย

ขณะที่รัฐบาลออกมาตรการเคอร์ฟิวกำหนดเวลาเปิด-ปิดร้าน โดยไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้เลยว่าสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ อีกทั้งผลจากการปิดตัวของธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง ส่งผลให้กำลังซื้อหายไปจากระบบเป็นจำนวนกว่า 70,000 ล้านบาท วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำแนวทาง กลยุทธ์ปรับตัว ธุรกิจค้าปลีกไทย ช่วงโควิด-19

กลยุทธ์ปรับตัว

ภาพจาก bit.ly/2yPma3i

แน่นอนว่า ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งของไทยที่ผ่านพ้นวิกฤต “โควิด-19” ไปได้ ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ธุรกิจค้าปลีกเหล่านั้น จะไม่เหมือนเดิมโดยเฉพาะจำนวนคนที่เข้าไปใช้บริการในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า รวมถึงร้านค้าปลีกอื่นๆ จะลดน้อยลง เราจะไม่เห็นคนยืนต่อแถวซื้อสินค้า หรืออาหารในห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป เพราะคนจะใช้บริการบริการผ่านออนไลน์มากขึ้น

ดังนั้น โมเดลการค้าปลีกแบบดั้งเดิม จะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนก่อนการระบาดของไวรัส “โควิด-19” จะทำให้เกิดช่องทางการตลาดที่ต้นทุนต่ำลง เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้การเชื่อมต่อผู้ผลิตไปยังผู้บริโภครายย่อยได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการค้าผ่านระบบ E-Commerce ซึ่งผู้บริโภคสามารถชำระค่าสินค้าผ่านระบบ E-Payment ได้อย่างสะดวก

นอกจากนี้ ผู้ผลิตและผู้ค้ายังสามารถส่งสินค้าไปยังลูกค้ารายย่อยได้รวดเร็วและตรงเวลา ผ่านการใช้บริการของบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ เทรนด์เหล่านี้จะก่อให้เกิดการเติบโตของจำนวนร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้านมากขึ้น ด้านในตัวธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเองก็จะมีการแข่งขันสูง พิจารณาจากจำนวนสาขาของร้านโมเดิร์นเทรดประเภทต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

2

ภาพจาก shopee.co.th/miniso_thailand

สำหรับแนวทางธุรกิจค้าปลีกของไทย ควรต้องปรับตัว ตามเทรนด์ค้าปลีกโลกที่จะเกิดขึ้น ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นั่นก็คือ

  1. แบรนด์สินค้าจะเข้าหาผู้บริโภคโดยตรง
  2. การค้าขายไร้ขอบเขต หนุนค้าปลีกดั้งเดิมปรับตัว
  3. แบรนด์สินค้าที่ไม่มียี่ห้อจะเริ่มทะยานขึ้น
  4. เทคโนโลยีวิดีโอและเสียง จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
  5. การแข่งขันส่งมอบที่รวดเร็ว จะช่วยเร่งตลาดอีคอมเมิร์ซโต
  6. “การบริการของธุรกิจค้าปลีก” ในตลาดอีคอมเมิร์ซจะมีเพิ่มขึ้น ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์
  7. ธุรกิจค้าปลีกจะเพิ่มช่องทางเข้าถึงลูกค้า ด้วยการสมัครสมาชิก และสร้างความภักดี เพื่อการเติบโต
  8. การเพิ่มขึ้นของรูปแบบการค้าปลีกอีคอมเมิร์ซ (ขายคืนสินค้ามือสองมากขึ้น)
  9. ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล จะกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น

1

ภาพจาก bit.ly/2W0UKiH

แม้การระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก เพราะผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการเดินห้าง หรือซื้อของตามร้าน อีกทั้งยังต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ตามมาตรการป้องกันแพร่ระขาของไวรัส ทำธุรกิจค้าปลีกไม่สามารถขายสินค้าได้ แต่อย่าลืมว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ แบรนด์สินค้าต้องเข้าหาผู้บริโภคโดยตรง ด้วยระบบอีคอมเมิร์ซ และชำระเงินแบบดิจิทัล


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2YhiUbh

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช