กลยุทธ์ “ชาสามม้า” ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคยดื่ม แต่ไม่รู้จัก
เชื่อว่าหลายคน ไม่ว่าจะชอบดื่มชาหรือไม่ แต่อาจจะมีครั้งหนึ่งที่เคยดื่มชามาแล้วแบบไม่รู้ตัว เพราะน้ำชาในร้าน MK สุกี้, ชามะลิของร้าน Blue Elephant, ชาจีนในร้านอาหารจีนของโรงแรมดุสิตธานี, ชาจีนในร้านบาร์บีคิวพลาซ่า และชาจีนในร้านก๋วยเตี๋ยวและอาหารตามสั่งทั่วไป ไปจนถึงชาบรรจุขวดพร้อมดื่มบางแบรนด์ มาจาก “ใบชาตราสามม้า” เป็นส่วนผสมหลัก เรื่องราวและกลยุทธ์ของ “ใบชาสามม้า” ที่หลายคนน่าจะเคยดื่ม แต่ไม่รู้จัก น่าสนใจอย่างไร
จุดเริ่มต้น ชาสามม้า

ชาสามม้า มีจุดเริ่มต้นจากเด็กชายชาวจีนชื่อ “เซ็ง แซ่อุ่ย” ได้อพยพหนีภัยสงครามมาจากประเทศจีน โดยเขาได้เดินทางมากับคุณทวด เข้ามาอาศัยตั้งรกรากในประเทศไทย
คุณเซ็ง ได้เข้าไปทำงานในโรงงานยามสูบ และรับจ้างทั่วไปในย่านเยาวราช พอทำงานไปได้สักพักได้สังเกตเห็นว่าคนที่อาศัยในเยาวราช ชอบดื่มชากันมากแทบทุกบ้าน ทำให้เกิดไอเดียอยากทำธุรกิจขายใบชา
หลังจากนั้นคุณเซ็งได้นำความคิดไปปรึกษาเพื่อนฝูง แต่ทุกคนไม่เห็นด้วยกับเขา เพราะตอนนั้นในตลาดมีคนทำธุรกิจขายใบชาจำนวนมาก ถ้าหากเข้าไปทำธุรกิจอาจขาดทุนได้ ไม่สามารถแข่งขันกับเจ้าถิ่นในตลาดได้
แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของคุณเซ็ง จึงได้นำเงินเก็บของตัวเองมาเป็นทุนทำธุรกิจขายใบชา เริ่มแรกเขาจะไปซื้อใบชายกเป็นลังจากร้านขายชา มาแบ่งเป็นห่อๆ ปั้นจักรยานตระเวนขายตามชุมชนต่างๆ ในแต่ละวันต้องขี่ไปไกลถึงชานเมือง เพราะในพื้นที่ที่เขาอาศัยนั้น ลูกค้ามักจะซื้อกับคนที่รู้จักเท่านั้น

ต่อมาคุณเซ็งเปลี่ยนวิธีขายใหม่ หันไปฝากขายตามร้านขายของชำแทน ในช่วงแรกจะถูกปฏิเสธจากเจ้าของร้านหลายแห่ง แต่ด้วยความที่คุณเซ็งเป็นคนมุ่งมั่นตั้งใจมาตั้งแต่แรก ปรับกลยุทธ์โดยให้เจ้าของร้านขายของชำลองชิมชาของเขาดูก่อน สุดท้ายร้านขายของชำหลายแห่งยอมรับใบชาจากคุณเซ็งมาวางขาย โดยแลกกับค่านายหน้าหรือค่าฝากขาย
หลังจากนั้นพอธุรกิจขายใบชาเริ่มได้การตอบรับที่ดี คุณเซ็งจึงเปลี่ยนจากการซื้อใบชาตามร้านขายใบชาต่างๆ มาเป็นการนำใบชาจากจีนและไต้หวันเข้ามาทำการผสมและผลิตจำหน่ายเอง และก่อตั้งร้าน “ห้างใบชาอุ้ยปอกี่” ขึ้นมาในปี 2480 ถือเป็นร้านต้นตำรับ “ชาสามม้า” ตั้งแต่ตอนนั้น

จุดเปลี่ยนแปลงของ “ชาสามม้า” เมื่อมาถึงคราวที่บริษัทออกบูธครั้งแรกใน “งานมหกรรมแสดงสินค้านานาชาติครั้งที่ 1” ปี 2506 สวนลุมพินี คุณเซ็งเลือกทำเลตรงหัวมุม 3 แยก ออกแบบและสร้างบูทให้คล้ายเก๋งจีนขนาดใหญ่ พร้อมทั้งตะโกนประโยคทอง “ซื้อใบชาแถมกะละมัง” ซึ่งกะละมังที่ว่าคือ จอกชาพร้อมชื่อและเบอร์โทรบริษัทสั่งผลิตพิเศษจากฮ่องกง ทำให้ยอดขายถล่มทลาย และงานนี้เองที่ช่วยให้ชื่อเสียงของชาสามม้ากระจายออกไปในวงกว้าง จนกิจการเติบโตขึ้นในเวลาต่อๆ มา
ชาสามม้า รุ่นที่ 2
ธุรกิจชาสามม้าในยุครุ่นลูกของคุณเซ็ง ยุคนี้ชาสามม้าเน้นขยายสู่ตลาดต่างจังหวัดโดยตรงมากขึ้น โดยหาร้านโชห่วยมารับชาไปขายต่อ ทำให้แบรนด์ชาสามม้าขยายฐานกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง และบังเอิญว่าในช่วงนั้นมีการเกิดขึ้นของห้างสรรพสินค้ามากมาย โดยทางห้างได้หาสินค้าไปไปจัดจำหน่าย หนึ่งในนั้นคือ ชาสามม้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกๆ ด้านของชาสามม้า จากร้านใบชาที่เน้นขายในเยาวราช สู่ตลาดต่างหวัด สุดท้ายเป็นชาขึ้นห้าง

ชาสามม้า รุ่นที่ 3
ปัจจุบันชาสามม้าอยู่ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่ 3 “คุณอิศเรศ อุณหเทพารักษ์” เป็นหลานชายของ “คุณเซ็ง แซ่อุ่ย” ผู้ก่อตั้งชาสามม้าเมื่อ 88 ปีก่อน
ย้อนกลับไปก่อนทายาทรุ่นที่ 3 ชาสามม้าจะเข้ามาช่วยบริหารธุรกิจ ธุรกิจชาสามม้าอยู่ในสถานการณ์หาวิธีเอาตัวรอด เพราะมีการแข่งขันกันสูง การทำตลาดแบบเดิมๆ ใช้ไม่ได้ผล แม้ว่าจะมีการออกผลิตภัณฑ์ชาตัวใหม่ที่เป็นซองพรีเมียม ใช้งบโฆษณาในนิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ กว่า 10 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับความสนใจจากลูกค้า ทำให้การพยายามหาลูกค้าใหม่ไม่สำเร็จ
พอทายาทรุ่น 3 เข้ามาช่วยบริหาร ได้มีการทำตลาดให้เข้ากับยุคสมัย ด้วยการเปิดเพจเฟซบุ๊กเป็นครั้งแรก ช่วงแรกก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่มีคอนเทนต์ให้น่าดึงดูดใจ ต่อมาได้มีเอเจนซี่เข้ามาช่วยสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า นำเสนอคอนเทนต์ในเพจเป็นเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ คุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เริ่มมีผู้บริโภคค่อยๆ กดไลค์ กดติดตามเพจชาสามม้ามากขึ้น
เมื่อชาสามม้าทำการตลาดผ่านช่องทางที่ถูกต้องอย่างโซเชียลมีเดีย ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเทียบกับช่วงเศรษฐกิจไม่ดีสมัยที่ยังไม่มีโซเชียลมีเดียน่าจะมียอดขายตกลง 20-30%
ทายาทรุ่น 2 “คุณอิศเรศ” มองว่าโซเชียลมีเดียช่วยเอื้อต่อการทำธุรกิจของใบชาสามม้า เป็นหนึ่งในช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแพร่หลาย ที่สำคัญใช้สื่อสารวิธีการชงชาที่ถูกต้อง แนะนำสินค้าใหม่ๆ
เปลี่ยนภาพลักษณ์ของธุรกิจครอบครัวที่มีมายาวกว่า 88 ปี ให้เข้าถึงกลุ่มตลาดคนรักชารุ่นใหม่ๆ และยังรักษาภูมิปัญญาการทำธุรกิจครอบครัวอย่างจริงใจ ถือเป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้แบรนด์ใบชาตราสามม้าอยู่ในใจลูกค้าจนถึงปัจจุบัน

กลยุทธ์…ชาสามม้า
- ให้ลูกค้าชิมชาก่อนซื้อ หัวใจของชาตราสามม้า คือ การให้ลูกค้าทุกคนได้ชิมก่อนซื้อ เพราะบางครั้งลูกค้าเดินเข้ามาที่หน้าร้านไม่รู้เลยว่าต้องการชาแบบไหน ทางร้านจะมีเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำและชงชาให้ดื่ม ทางร้านจะบอกก่อนเสมอว่าถ้าดื่มแล้วไม่ชอบไม่ต้องซื้อ เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกกดดัน ทางร้านขอเพียงลูกค้าได้ซื้ออรสชาติที่ชอบเท่านั้น
- ซื่อสัตย์กับลูกค้า ชาสามม้าให้ความสำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์กับตัวเองและลูกค้า ทางร้านต้องรู้จักสินค้าที่ตัวเองขายจริงๆ ชิมแล้วรู้ว่าอะไรคือรสชาติที่ดี ก่อนนำเสนอลูกค้าในราคาที่เหมาะสม
- รับฟังเพื่อแก้ปัญหาลูกค้า เมื่อลูกค้ามีปัญหากับตัวสินค้า ทางร้านจะรับฟังทุกอย่างเพื่อหาทางแก้ไขปัญหานั้นไปพร้อมกัน ทางร้านจะให้ความสำคัญในเรื่องความพอใจของลูกค้า จากแนวคิด “การคบค้าสมาคมกันไปนานๆ” ไม่ใช่การค้าขายแบบ “ตีหัวเข้าบ้าน” โดยเลือกสินค้าที่ดีที่สุด ในราคาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อนำเสนอแก่ลูกค้า
ผลิตภัณฑ์…ชาสามม้า
- หนานฟังอู่เจว๋ 4 ชนิด
- Classic 4, ชาเหวินซานเปาจ่ง, ชาฉาหวังเถี่ยกวานอิน, ชาหม่าโถวเหยียนสุ่ยเซียน และ ชาเซียงเพี่ยน (ชามะลิ)
- ชาเขียว หยิน-หยาง 6 ชนิด
- ชาตานฉง 3 ก๊ก
- ROCK TEA 3 ชนิด ชารสชาติเข้ม กลิ่นหอม
- ROCK TEA II 3 ชนิด ชารสชาติเข้ม กลิ่นหอม ชุ่มคอ
ผลิตภัณฑ์ชาอูหลงเบอร์ 1 และเบอร์ 3 ของชาสามม้า เป็นสินค้าที่ติดตลาดทั่วประเทศตั้งแต่ยุคแรก โดยชาอูหลงเบอร์ 1 จะผสมสัดส่วนของชาอูหลงจากเมืองนอก เป็นชาที่มีคุณภาพสูงขึ้น สีน้ำชาไม่เข้มเท่าเบอร์ 3 แต่กลิ่นหอมของใบชาจะมากกว่า
ส่วนชาอูหลงเบอร์ 3 จะเป็นชาที่ผลิตในประเทศ จัดเป็นชาที่นิยมตามร้านค้าทั่วไป เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว, ร้านอาหาร เพราะมีความเข้มข้นของน้ำเยอะ สีน้ำจะเข้มจากการย่างไฟโดยธรรมชาติ จึงเหมาะทำเป็นกาใหญ่ ชงในปริมาณมาก
รายได้ ชาสามม้า (บริษัท ใบชาสามม้า จำกัด)
- ปี 2564 รายได้ 85.5 ล้านบาท กำไร 3.1 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 84 ล้านบาท กำไร 2.3 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 81.7 ล้านบาท กำไร 2.29 ล้านบาท
นี่คือ เรื่องราวของชาตราสามม้า จากเริ่มต้นธุรกิจรซื้อมาขายไป พัฒนาไปสู่การนำเข้าและพัฒนาเป็นสูตรของตัวเอง จนกลายเป็นแบรนด์เครื่องดื่มชาที่ได้รับความนิยมมายาวนานกว่า 88 ปี
อ้างอิงข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)