กระดุม 5 เม็ด ในระบบแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ ที่กำลังสนใจอยากจะมีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตนเอง สาเหตุคือแต่ละกิจการนั้นจะกำหนดรูปแบบมาแล้วจากเจ้าของแฟรนไชส์เอง
แม้รูปแบบของแฟรนไชส์จะเป็นสูตรสำเร็จอยู่แล้ว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างก็ไม่ได้จะเป็นไปตามสูตรสำเร็จที่ตั้งไว้เสมอไป เพราะก็มีผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความล้มเหลวให้เห็นมิใช่น้อย นั่นแสดงให้เห็นว่าระบบแฟรนไชส์เองก็มีจุดบกพร่อง
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอวิธีการสร้างระบบแฟรนไชส์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ผ่าน “กระดุม 5 เม็ด” โมเดลที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วไม่เจ๊ง!
1.หาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์
การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ ว่าเขาทำกันอย่างไร แฟรนไชส์ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และต้องสร้างทีมงานที่พร้อมสนับสนุน
มีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ดีพอ เมื่อคุณมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ คุณก็จะตัดสินใจได้ว่าทำไมธุรกิจคุณต้องขายแฟรนไชส์ เพราะระบบแฟรนไชส์มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย
อีกทั้งคุณยังต้องมีเงินทุนที่มากพอ ทั้งการสร้างแบรนด์ การขยายสาขาต้นแบบ ซึ่งเงินทุนจะใช้เป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจคุณขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เพราะระบบธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์
และทำการตลาดให้ธุรกิจของคุณมีชื่อเสียง จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ก่อนที่จะขายสิทธิให้กับคนอื่น ดังนั้น คุณต้องรู้เรื่องแฟรนไชส์ก่อนจะขายแฟรนไชส์
สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในการสร้างแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คลิก! https://bit.ly/2GhQrbz
2.วางแนวทางธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าธุรกิจของคุณยังไม่ใช่คำตอบของลูกค้า ก็ยังเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้ เพราะธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ได้ต้องมีความโดนเด่นเพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้านได้ต่อเนื่องได้
อย่างไรก็ตาม การสร้างแนวทางธุรกิจให้โดดเด่น จึงเป็นเรื่องสำคัญของการทำแฟรนไชส์ ถ้าวางแนวทางผิดก็จะผิดตั้งแต่แรก ดังนั้นการเริ่มต้นแฟรนไชส์ต้องคิดและวางแนวทางให้ถูกเสียตั้งแต่ตอนเริ่มต้น
ถ้าผิดก็ต้องค่อยๆ ปรับเปลี่ยนใหม่จนโดนใจลูกค้า ซึ่งคุณอาจจะใช้วิธีการประเมินความพร้อมของธุรกิจคุณควบคู่ไปด้วย ก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ ถ้าไม่ผ่านก็ยังทำแฟรนไชส์ไม่ได้ แม้ว่าสินค้าและบริการจะตอบโจทย์ลูกค่าได้
3.การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
เมื่อคุณคิดดีว่าจะขายแฟรนไชส์ ธุรกิจโดนใจลูกค้าแล้ว สิ่งที่จะพิสูจน์ต่อไปว่าธุรกิจของคุณจะขายแฟรนไชส์ได้หรือไม่ นั่นคือ การสร้างร้านต้นแบบ หรือ Pilot Operations ให้เกิดขึ้นชัดเจนก่อน เพราะการสร้างร้านต้นแบบจะเป็นเครื่องมือทดลองว่าธุรกิจของคุณผ่านหรือไม่ ร้านต้นแบบจะสะท้อนได้ถึงปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ดี รู้ถึงยอดการขาย กลุ่มลูกค้าที่เข้าใช้บริการ
ถ้าร้านต้นแบบที่คุณสร้างขึ้นนั้นประสบความสำเร็จ ก็จะช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานที่ชัดเจนขึ้น เพราะจะเห็นภาวะของธุรกิจด้านกำไร-ขาดทุนชัดเจนมาก ทำให้เห็นข้อดี-ข้อเสียของระบบงาน รวมถึงการปรับธุรกิจให้เป็นไปตามตลาด ยิ่งถ้ามีการสร้างได้หลายสาขา คุณก็จะได้เห็นความแตกต่างชัดเจน จากเงื่อนไขของทำเลที่ตั้ง สภาพลูกค้าที่แตกต่างกัน
4.สร้างโปรแกรมแฟรนไชส์
แบบฟอร์มผู้สนใจเข้าโปรแกรมที่ปรึกษาแฟรนไชส์ https://bit.ly/2H5DS3L
เมื่อธุรกิจคุณที่สร้างขึ้นเป็นต้นแบบที่ชัดเจน พร้อมที่จะขายแฟรนไชส์แล้ว มีตลาดรองรับแน่นอน ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโปรแกรมแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ที่จะนำเสนอให้ถูกต้อง เพื่อที่จะทำให้แฟรนไชส์ซีลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากที่สุด และยังทำให้คุณสามารถควบคุมมาตรฐานทั้งด้านสินค้าและบริการ
โปรแกรมแฟรนไชส์ประกอบด้วย แพ็คเกจให้การสนับสนุน ด้านบริการ คู่มือแฟรนไชส์ (Operation Manual) การฝึกอบรม การตลาดและโฆษณา การคัดเลือกแฟรนไชส์ซี วิธีการควบคุมและข้อปฏิบัติให้แฟรนไชส์ซีทำตามกฎ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง เอกสารสัญญาแฟรนไชส์
รวมถึงระบบบัญชี การเงิน ซึ่งเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องจัดเตรียมไว้ทั้งก่อนเปิดและหลังขายแฟรนไชส์ ถือเป็นแพ็คเกจที่แฟรนไชส์ซีจะได้รับจากคุณ เมื่อซื้อแฟรนไชส์จากคุณไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดไว้เป็นหลักฐานชัดเจน ถ่ายทอดจากร้านหนึ่งไปสู่อีกร้านหนึ่งได้ ถือเป็นคัมภีร์ที่ใช้ถ่ายทอดไปได้เรื่อยๆ
แบบประเมินการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ https://bit.ly/2YUMLY3
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า คุณต้องมีการวางแผนด้านการตลาด ที่จะสนับสนุนการยอมในตราสินค้าได้เป็นอย่างดี
รวมถึงการสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ของคุณให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดในวงกว้าง สร้างฐานลูกค้าให้เป็นผู้บริโภครองรับการขยายสาขาของธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้น
โฆษณาและสร้างแบรนด์ผ่านไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ คลิก! www.thaifranchisecenter.com/home.php
5.นำเสนอขายธุรกิจแฟรนไชส์
เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องอย่าลืมว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ของคุณไป อยู่ที่การนำเสนอขายแฟรนไชส์ของคุณว่ามีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน คุณอาจนำเสนอขายด้วยการนำพาไปชมบริษัท โรงงานผลิตสินค้า เยี่ยมชมสาขาแฟรนไชส์ซีต่างๆ หรือออกบูธแสดงสินค้า เพื่อให้ผู้ที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ ได้เห็นภาพของระบบแฟรนไชส์ของธุรกิจคุณจริงๆ
ซึ่งจะทำให้ผู้สนใจแฟรนไชส์สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า จะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณไปหรือไม่ แต่ก็อย่าลืมสังเกตผู้ซื้อแฟรนไชส์ ว่ามีความสนใจ มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจจะทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ จริงๆ หรือไม่ ถ้าเขามีความสนใจในทุกรายละเอียด ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของผู้ที่จะมาเป็นแฟรนไชส์ซี
หลังจากนั้นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ก็สามารถตรวจสอบคุณสมบัติผู้ซื้อแฟรนไชส์จากใบสมัคร ดูสถานะทางการเงินของผู้ซื้อแฟรนไชส์ รวมถึงการให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เขียนแผนธุรกิจให้กับคุณดูด้วย เพื่อดูว่าเขามีความพยายามที่จะบริหารธุรกิจให้เติบโตมากน้อยแค่ไหน หลังจากนั้นก็สามารถนัดประชุมทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เกี่ยวกับการคัดเลือกและขายแฟรนไชส์
ทั้งหมดเป็นกระดุม 5 เม็ดในระบบแฟรนไชส์ ซึ่งจะสามารถนำพาธุรกิจเล็กๆ เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถก้าวออกไปเติบโตได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยเฉพาะในต่างประเทศ ยิ่งธุรกิจอยู่ในระบบแฟรนไชส์ ก็จะยิ่งสามารถออกไปขยายสาขาในต่างประเทศได้ง่ายและสะดวกขึ้น หากธุรกิจแฟรนไชส์คุณโดนใจนักลงทุนต่างประเทศ
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
Franchise Tips
- หาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์
- วางแนวทางธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
- การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- สร้างโปรแกรมแฟรนไชส์
- นำเสนอขายธุรกิจแฟรนไชส์
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wS0ext
ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise