Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์
เราอาจเคยได้ยินคำว่า Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่า กันมาบ้าง แต่ยังไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำมาพัฒนาธุรกิจ เพราะนอกจากการจัดการที่ดีแล้ว การบริหาร Value Chain ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ควรนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ และสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
Value Chain Analysis คืออะไร? สำคัญแค่ไหน?
Value Chain ถูกพัฒนาขึ้นโดย Michael Porter ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดขึ้นมาตั้งแต่ในช่วงปี 1980 Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่า คือ ภาพรวมของกระบวนการในองค์กรที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า
โดยที่แต่ละขั้นตอนนั้นสามารถสร้างคุณค่า (Value) ให้กับองค์กรและสินค้าอย่างไม่มีปัญหา ซึ่งห่วงโซ่คุณค่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์คู่แข่งของธุรกิจได้ด้วย โดยการเปรียบเทียบแต่ละขั้นตอนของคู่แข่ง ว่าคู่แข่งสามารถทำได้ดีกว่า หรือมีขั้นตอนอะไรที่น่าสนใจและสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรของเราได้บ้าง
การวิเคราะห์เพื่อหา Value Chain ในองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้เป็นอย่างมาก และไม่จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุน อีกทั้งการวิเคราะห์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุนในขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มคุณค่าแต่ใช้จ่ายน้อยลงได้อีกด้วย เปรียบเหมือนกับเราได้ตัดส่วนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มขั้นตอนหรือกระบวนการที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้
Value Chain Analysis แตกต่างจาก SWOT Analysis อย่างไร?
SWOT คือเครื่องมือที่ทำเพื่อวิเคราะห์ภาพรวม จุดแข็ง จุดอ่อน ของธุรกิจเรา รวมถึงภาพรวมด้านคู่แข่ง และโอกาสทางธุรกิจ ต่างกับ การวิเคราะห์ Value Chain ที่จะโฟกัสเข้ามาที่กระบวนการ และกิจกรรมภายในองค์กรแบบเต็ม เน้นการพัฒนา ลดต้นทุน เพิ่มกำไร และสร้างคุณค่าในองค์กร หรือตัวสินค้าเป็นหลัก
แนวคิดนี้แบ่งกิจกรรมภายในองค์กรเป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
โดย 5 กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ถือเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการ การตลาด และการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย
- Inbound Logistics กิจกรรมด้านการขนส่ง การจัดเก็บ การแจกจ่ายวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงเหลือ
- Operations กิจกรรมด้านการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต การบรรจุ
- Outbound Logistics กิจกรรมด้านการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า
- Marketing and Sales กิจกรรมด้านการดึงดูดชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้า เช่น การโฆษณา ช่องทางการจัดจำหน่าย
- Services กิจกรรมการให้บริการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย การแนะนำการใช้
ส่วนกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลัก ให้สามารถดำเนินไปได้ ประกอบด้วย
- Procurement กิจกรรมการจัดซื้อ จัดหา เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมหลัก
- Technology Development กิจกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ หรือกระบวนการผลิต
- Human Resource Management กิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก ประเมินผล พัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม ระบบเงินเดือน ค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์
- Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชีระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กร
Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์
การอธิบาย Value Chain Analysis ในแง่ทฤษฏีอาจมีหลายเรื่องที่เข้าใจความหมายได้ยาก แต่ถ้าพูดให้ง่ายขึ้นว่าสำคัญยังไงกับแฟรนไชส์ก็คงเป็นเรื่องของ “คุณค่า” ที่จะทำอย่างไรให้ “คนอยากซื้อ อยากลงทุนกับแฟรนไชส์นั้นๆ” แต่ทั้งนี้หากตีความคำว่า “คุณค่า” แต่ละคนอาจมองต่างกัน
เช่น บางคนตัดสินใจว่าแฟรนไชส์ไหนคุ้มค่าก็จากเงินลงทุนไม่มาก สินค้าตอบโจทย์ขายง่ายขายดี ในขณะที่บางคนตีความคำว่าคุ้มค่าในแง่ของการสนับสนุน ดูแล ส่งเสริมกิจการด้านการตลาดให้กับผู้ลงทุน เป็นต้น
ซึ่งหากจะวิเคราะห์ตามหลักการของ Value Chain Analysis จะแบ่งแยก เป็น 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities)
1.กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities)
ในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับลักษณะทางกายภาพของรูปแบบการให้บริการของร้านค้าปลีก ตั้งแต่การจัดหาสินค้า การคัดเลือกพนักงาน และการนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในร้านค้าปลีก
โดยเจ้าของร้านแฟรนไชส์หรือผู้จัดการร้านจะเป็นผู้คัดเลือก และตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน โดยใช้ประสบการณ์และคำแนะนำจากเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนกระบวนการในการขายสินค้า อาทิ การเติมเต็มสินค้าในชั้นวาง การกำหนดราคาขาย การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ฯลฯ ส่วนช่วงเวลาทำการขายอาจเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
2.กิจกรรมสนับสนุนแฟรนไชส์ (Supporting Activities)
เป็นกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลักให้เกิดมูลค่ากับแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก โดยเจ้าของแฟรนไชส์เป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกอบรมให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้บริหารงานในร้าน รวมถึงคัดเลือกพนักงานและฝึกอบรมพนักงานภายในร้าน
โดยกิจกรรมสนับสนับสนุน โดยส่วนใหญ่แฟรนไชส์ซีจะได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การแนะนำเทคนิคการบริหารธุรกิจ การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ การติดตั้งระบบการขายและเทคโนโลยีต่างๆ ภายในร้าน เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับร้านแฟรนไชส์ค้าปลีกนั่นเอง
เท่ากับว่าการสร้างคุณค่าให้แฟรนไชส์จำเป็นที่จะต้องมาพร้อมกันทั้ง 2 ส่วนคือการบริหารจัดการในส่วนแฟรนไชส์และการส่งเสริมไปยังผู้ลงทุน ซึ่งทุกการบริหารจัดการก็ต้องมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการตลาดอื่นว่าคู่แข่งเป็นอย่างไร ทำได้ดีแค่ไหน มีอะไรน่าสนใจ เพื่อให้เราพัฒนา “คุณค่า” ของแฟรนไชส์เราได้ทัดเทียมหรือนำหน้าแบรนด์อื่นได้เสมอ เพิ่มโอกาสให้คนสนใจเลือกลงทุนได้มากขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)